NEXT GEN

สนับสนุนการเกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยระบบการเงินแบบไม่รวมศูนย์ที่ทุกคนเข้าถึงได้

25 เมษายน 2565…อาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่า ทำไมการแก้ปัญหาสภาพอากาศให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมจึงเป็นเรื่องยาก แม้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะชัดเจน  แต่คิดในแง่เศรษฐศาสตร์ยังคงมีอุปสรรค

ภาคเกษตรในระดับโลกเป็นส่วนหนึ่งที่เป้าหมายทางเศรษฐกิจและการที่ปัญหาภูมิอากาศไม่ตรงกันทำให้เกิดความเฉื่อยเนือย เมื่อต้องบรรลุการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ขณะที่เรื่อง DeFi  และแอพพลิเคชั่นบล็อกเชนก้าวหน้ารวดเร็ว จึงเป็นโอกาสทองที่จะพัฒนาเรื่องความยั่งยืน และผลประโยชน์ทางการเงิน

เกษตรกรรายย่อย ซึ่งเพาะปลูกบนพื้นที่น้อยกว่า 5 เฮกตาร์ มีสัดส่วนประมาณ 95% ของเกษตรกรทั่วโลก และในภูมิภาคต่างๆ เช่น เอเชียและแอฟริกาตอนใต้ของซาฮารา ผลิตอาหารสูงถึง 80% ของความต้องการทั้งหมดในโลก  ขณะกำลังก้าวไปสู่ยอดรวมประชากร 9,800 ล้านคน ภายในปี 2050 ประเทศในภูมิภาคเหล่านี้ เช่น อินเดียและไนจีเรีย คาดว่าจะเป็นประเทศที่มีอัตรการเพิ่มของประชากรสูงสุด  การรักษาห่วงโซ่อาหารของเกษตรกรรายย่อยให้ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญในการบรรเทาความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านอาหารทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรายย่อยในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ยังประสบปัญหาจากภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้วที่คาดเดาล่วงหน้าไม่ได้  ผลกระทบเหล่านี้จะเลวร้ายลงกว่าเดิม เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น แนวโน้มที่แตกต่างกันเหล่านี้ การเติบโตของประชากรและความมั่นคงด้านอาหารลดลง บ่งบอกถึงอนาคตที่น่ากังวลสำหรับผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก

สนับสนุนการเงิน
ผิดทิศผิดทาง

สินเชื่อเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นรูปแบบที่ต่างออกไปของการจัดหาเงินทุน สนับสนุนการดำเนินการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัว เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว  การจัดหาเงินทุน มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น  ให้ทนต่อผลกระทบของภาวะโลกร้อน  ตลอดจนการนำเทคนิคการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน โครงการสนับสนุนด้านการเงินดังกล่าวลดลงอย่างน่าใจหาย  ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วเคยให้คำมั่นสัญญาจะสนับสนุนงบจำนวน 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ก็ยังไม่บรรลุถึงยอดดังกล่าว

คนงานหญิงในฟาร์มใช้แท็บเล็ตดิจิทัลกับปัญญาประดิษฐ์เสมือนจริง (AI) เพื่อวิเคราะห์โรคพืชในไร่อ้อย
Cr: KDP // Getty Images

แม้เป็นเจตนาที่ดี แต่ความคิดริเริ่มทางการเกษตรนี้ต้องเผชิญข้อบกพร่องหลายประการที่ขัดขวางศักยภาพของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมองจากมุมที่ต้องการประโยชน์ยั่งยืน เช่น แม้มีการจัดตั้งเขื่อนและแผนงานหลายร้อยแห่งทั่วแอฟริกาผ่านการระดมทุนจากธนาคารโลก แต่โครงการชลประทานขนาดใหญ่เหล่านี้กลับถูกมองข้ามไปในที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วจะส่งมอบพื้นที่ผลิตชลประทานเพียง 18% ของพื้นที่การผลิตชลประทานที่พวกเขาเสนอในตอนแรก ความล้มเหลวนี้บ่งบอกถึงปัญหาที่กว้างขึ้นของภาคการเกษตรในปัจจุบัน  ซึ่งปัญหาที่แท้จริง เป็นเรื่องการเมือง และการจัดการ

ประการแรก ความจำเป็นทางการเมืองอาจส่งผลเสียต่อความสำเร็จในระยะยาวของโครงการ ด้วยแรงจูงใจที่จะผลิตอาหารให้มากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าและเพิ่มการส่งออก รัฐบาลมักจะมุ่งเน้นไปที่พืชผลที่มีมูลค่าต่ำเป็นหลัก เช่น ข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านโครงการเหล่านี้ พืชผลประเภทนี้บ่อนทำลายความยั่งยืนทางการเงินของโครงการ เนื่องจากไม่สามารถรับประกันผลกำไรที่ยั่งยืน ซึ่งหมายความว่าเกษตรกรยังคงต้องพึ่งพาเงินทุนจากภายนอก และเงินอุดหนุนเพื่อบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานนี้ เมื่อเงินสนับสนุนร่อยหรอ โครงการที่ทำอยู่จะเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

ประการที่สอง โดยทั่วไปแล้ว โปรแกรมการระดมทุนจะมุ่งไปที่โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีการจัดการจากส่วนกลาง โครงการที่จัดตั้งขึ้นเหล่านี้ทั้งทำการตลาดและบริหารจัดการได้ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการริเริ่มขนาดเล็กจำนวนมากที่มุ่งสู่เกษตรกรรายย่อย อย่างไรก็ตาม หน่วยงานรัฐบาลแบบรวมศูนย์หลายแห่งในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ได้รับเงินทุนไม่เพียงพอ ทรัพยากรก็มีไม่เพียงพอ ขาดความสามารถ และความรู้ในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าว

จินตนาการถึงโซลูชัน
ระบบการเงินแบบไม่รวมศูนย์

ขณะนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชน ได้เปลี่ยนคำถาม จากที่ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานอย่างไร ไปสู่การใช้งานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้น การประชุม COP26 UN Climate Conference  ก็ทำให้เกิดความก้าวหน้าว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนจากการให้คำมั่น ไปเป็นลงมือทำจริง

Cr.UN Climate Action

ตัวอย่างหนึ่งคือ การจัดหาประกันภัยแบบกระจายศูนย์สำหรับเกษตรกรรายย่อยจากความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ การประกันภัยพืชผลแบบดั้งเดิมล้มเหลวในการคุ้มครองเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเพียงพอ เวิร์กโฟลว์ที่ต้องทำด้วยตนเอง กระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ และค่าใช้จ่ายสูงมีส่วนทำให้เกษตรกรรายย่อยเพียง 3% ในอาฟริกาเท่านั้นที่อยู่ภายใต้ประกันการเกษตร ปัญหาที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้แม้แต่ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองจากการประกันมักจะต้องรอเป็นเดือนกว่าจะได้รับเงินจากการประกัน ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปลูกพืชพันธุ์ใหม่หรือฟื้นคืนจากภัยพิบัติทางการเกษตรได้

ด้วยการใช้ประโยชน์จากสัญญาที่ทำโดยใช้บล็อคเชน ทำให้กระบวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นไปโดยอัตโนมัติตามพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น การขาดแคลนปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูแล้ง การประกันภัยแบบกระจายอำนาจทำให้ความคุ้มครองที่โปร่งใสและเชื่อถือได้ ตลอดจนการจ่ายเงินที่ทันท่วงที ซึ่งเกิดขึ้นจริงเป็นครั้งแรก

ระบบการเงินแบบไม่รวมศูนย์ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ยังช่วยให้เกษตรกรรายย่อยมีเงินทุนที่จำเป็นในการดำเนินการทำการเกษตรที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศมากขึ้น การรวมกันของเงินทุนใหม่ที่เกิดจากการเติบโตของ DeFi และ cryptocurrencies ได้สร้างโอกาสในการใช้แหล่งรวมสภาพคล่องที่ค้นพบใหม่ ลดความเสี่ยงทางการเงินจากเกษตรกรรายย่อยที่สำรวจเทคนิคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สร้างสมดุลของ Web3
กับปัญหาสิ่งแวดล้อม

บิล เกตส์ กล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสภาพอากาศจะทำให้เกิดบริษัทเหมือน 8-10 แห่ง รุ่งเรืองเฟื่องฟูไม่แพ้บริษัทอย่าง Google, Amazon และ Microsoft” และ “ผลตอบแทนในอนาคตจากการลงทุนในบริษัทที่ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเทียบได้กับบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ที่สุด”

“จำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจต้องพิจารณาผลกระทบของสภาพอากาศในการดำเนินงานของพวกเขา และสิ่งนี้ขยายไปสู่ทุกแง่มุมใหม่ในการเคลื่อนไหวของ Web3”

Cr.GreenBiz photocollage

ปัจจุบัน เป็นห้วงเวลาที่ธุรกิจต้องคิดให้รอบคอบเกี่ยวกับความสามารถของเทคโนโลยีเกิดใหม่ ชั่งน้ำหนักต้นทุนเทียบกับประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนศักยภาพในการแก้ไขความเสียหายจากปัญหาสภาพภูมิอากาศจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ตั้งแต่การเปิดตัวประกันภัยขนาดเล็กไปถึง การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้ง การระดมทุนจากฝูงชน จนถึงการเปิดตัวเหรียญคาร์บอน ทั้งนี้ จุดตัดระหว่างบล็อกเชน และการดำเนินการด้านสภาพอากาศ ได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่สุดของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในช่วงชีวิตของเรา

ที่มา

You Might Also Like