NEXT GEN

 Mission Green 2020 เอไอเอสปักหมุดยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมของคนไทย รับ-ส่งต่อ E-Waste กำจัดถูกวิธี

8 ธันวาคม 2562…ในฐานะ Digital Life Service Provider เอไอเอสทำหน้าที่นำเทคโนโลยีสร้างประโยชน์ให้คนไทยทุกวัยแล้ว การดำเนินธุรกิจแบบเติบโตทุกภาคส่วน (Stakeholder) โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ ประเดิมเป็นแกนกลางกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) อย่างถูกวิธีและยั่งยืน

ข่าวความร่วมมือร่วมใจขององค์กรต่าง ๆ ที่หันมารณรงค์การจัดการปัญหาขยะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะพุ่งเป้าไปที่ขยะพลาสติกอันเป็นตัวการใหญ่ของปัญหาขยะซึ่งหากจัดการไม่ดีแล้วอาจหลุดรอดออกไปสู่ทะเลได้

แต่ยังมีขยะอีกประเภทที่หลายคนอาจมองข้าม และกำลังเป็นปัญหาใหญ่ หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีและปล่อยทิ้งไว้นานอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว นั่นคือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste

แล้วเราจะจัดการปัญหานี้อย่างไร ?

แน่นอนว่าต้องเกิดจากตัวเราเองที่เป็นต้นทางการสร้างขยะ โดยหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดวิกฤติขยะ E-Waste ได้ คือการแยกขยะ ไม่ทิ้งขยะ E-Waste ปนกับขยะทั่วไป แต่คำถามก็คือ แล้วเราจะนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นไปทิ้งได้ที่ไหน ?

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลที่ดำเนินธุรกิจอย่างเกี่ยวเนื่องกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างองค์ความรู้เพื่อให้คนไทย ตระหนักถึงผลเสียของการทิ้งขยะอย่างไม่ถูกวิธี และรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน เพื่อนำเข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของทุกคน และลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ตกค้างในไทย

“ประเทศไทยมีซิม 90 กว่าล้านซิม นั่นหมายความว่าจะต้องมีโทรศัพท์มือถือกว่า 80 ล้านเครื่องที่หมุนเวียนในตลาด ก็มีคำถามว่า โทรศัพท์เหล่านี้ไปไหนกันต่อ ส่วนใหญ่เก็บเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกต้องได้ไม่มาก ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายเพราะ E-Waste เหล่านี้จะไปรวมกับขยะประเภทอื่น ๆ เราจึงร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เป็นผู้แยก กำจัดอย่างถูกวิธีพร้อมทั้งรีไซเคิลตามมาตรฐานโลก ซึ่งก็คือ TES”

นัฐิยาและกรวิกา ร่วมอธิบายถึงการเดินทางของโทรศัพท์มือที่ใช้งานไม่ได้แล้ว

กรวิกา ชัยประทีป ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ จำกัด (Total Environmental Solution Ltd.) หรือ TES กล่าวว่า หลังรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ E-Waste จากเอไอเอส ซึ่งประกอบไปด้วย โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ขยะทั้งหมดจะสู่กระบวนการรีไซเคิล

เริ่มจากคัดแยกส่วนประกอบต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือออกจากกันโดยการแกะ ซึ่งจะได้วัสดุ อาทิ พลาสติก Housing + Keypads, PCB Board, Li-ion Battery เหล็ก อะลูมิเนียม และ ทองแดง หลังจากนั้นก็จะส่งวัสดุหลักประกอบไปด้วยเหล็ก พลาสติก และอะลูมิเนียม เข้าสู่โรงหล่อเพื่อเริ่มกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำที่เมืองไทยได้ ในส่วนของวัสดุอื่น เช่น PCB Board และ Li-ion Battery จะต้องเข้าโรงหล่อที่ TES สิงคโปร์เพื่อสกัดโลหะมีค่าจากวัสดุนั้น ๆ

PBC Board จะสามารถสกัดออกมาเป็น ทอง เงิน และ พัลลาเดียม ซึ่งโลหะมีค่าเหล่านี้ TES ก็จะขายคืนกับให้ผู้ผลิตเพื่อผลิตเป็น Product ใหม่ต่อไป หรือทอง และ เงิน ก็สามารถขายร้านจิเวอรี่ 
เพราะเป็นทอง 99.99% เพื่อนำไปทำเป็นทองแท่ง ทองรูปพรรณ หรือเครื่องประดับต่าง ๆ

ในขณะที่ Li-ion Battery จะสามารถสกัดออกมาเป็น โคบอลต์และลิเทียม ซึ่งก็จะขายโลหะมีค่านี้คือให้กับผู้ผลิตเพื่อผลิตเป็น Product ใหม่ต่อไปหรือ ขายให้กับผู้ประกอบการที่ประกอบอุตสาหกรรมประเภทยา เซรามิก หรือแก้ว ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และเพื่อให้สอดคล้องในกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือที่เรียกว่า Carbon footprint และ TES ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการรีไซเคิลโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตโดยมุ่งเน้นการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill

“ในมือถือหนึ่งเครื่อง หลัก ๆ แล้วสามารถแยกได้หลายอย่าง เช่น พลาสติกที่เป็นหน้ากากในปุ่มกดรุ่นเก่า ส่วนสมาร์ทโฟนก็สามารถแยก PBC Board และ Li-ion Battery ออกมา จะเห็นได้ว่าทุกอย่างในมือถือสามารถนำไปรีไซเคิล และกลับมาสู่กระบวนการผลิตใหม่ได้ไม่รู้จบ เพราะทุกอย่างมีค่า อาทิ ทอง เงิน เหล็ก โลหะ ทองแดง อะลูมิเนียม ทั้งหมดสามารถผลิตเป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีชิ้นใหม่ ลดการฝังกลบที่เป็นมลพิษต่อโลกได้ในระยะยาว” กรวิกากล่าว

แกะ แยกชิ้นส่วน ให้ถูกที่ถูกทาง เพราะทั้งหมดเป็นเงิน และเข้าสู่กระบสนการรีไซเคิลได้ ไม่เสียของ

นัฐิยากล่าวถึงความพร้อมของเอไอเอสในการส่งต่อ E-Waste ไปกำจัดอย่างถูกวิธี สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เพื่อนำมือถือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้งานไม่ได้แล้วมาทิ้งให้ถูกที่ เพื่อการนำไปรีไซเคิลให้ถูกต้อง จะทำให้ “ไม่มีขยะ” เพราะทุกอย่างที่เป็น E-Waste สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้ตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

อีกหนึ่งบทบาทของเอไอเอสในขณะนี้ ได้อาสาเข้ามาเป็นตัวกลางในการรับและนำขยะ E-Waste ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ภายใต้โครงการ #ทิ้งEWasteกับAIS โดยรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่มือถือ สายชาร์จ พาวเวอร์แบงก์ และหูฟัง เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfill โดยได้ตั้งจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ไว้ตามเอไอเอสช็อป ทั่วประเทศและศูนย์การค้าของ CPN นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ อยู่ระหว่างพูดคุยกับศูนย์การค้า มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงเอไอเอสมีแผนจะไปรับ E-Waste ให้คนไทยถึงบ้าน

เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นโครงการที่เข้ามาจัดการปัญหาขยะแล้วต้องทำให้สุดทาง ถังขยะ E-Waste ของเอไอเอสที่นำมาวางตามจุดต่าง ๆ ยังใช้วัสดุที่ทำมาจากไม้อัดรีไซเคิล โดยเป็นการดีไซน์จากนิสิตนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยเอไอเอสได้ต่อยอดนำเทคโนโลยี IoT เข้ามามีส่วนช่วยในการนับชิ้นขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบ Real-time เพื่อ Convert ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ลดลงและแสดงบนเว็บไซต์ www.ewastethailand.com โดยทีมงานที่จัดทำ IoT คือ ภาคีความร่วมมือในการพัฒนาและออกแบบโซลูชัน IoT (AIS IoT Alliance Program; AIAP) และ มหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนรายได้ที่ได้รับจากการขายขยะจะนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา โดยสามารถดูจำนวนของขยะที่ถูกเก็บ และศึกษาองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.ewastethailand.com

“นอกจากนี้ ในส่วนการให้บริการลูกค้า บริษัทยังได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการใช้พลาสติก เช่น เปลี่ยนจากขวดน้ำพลาสติก เป็นแก้วกระดาษและเครื่องกดน้ำ ตลอดจนการรณรงค์ให้พนักงานภายในองค์กร ตระหนักสิ่งแวดล้อม และปรับวิถีไลฟ์สไตล์ในที่ทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเอไอเอสได้ประกาศภารกิจ Mission Green 2020 ตั้งเป้าว่าภายในปี 2020 บริษัทจะสามารถลดค่า CO2 ได้จำนวน 1 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนสมมูลย์ (kgCO2e) และจัดการกับขยะ E-Waste ได้ทั้งสิ้น 1 แสนชิ้น” นัฐิยากล่าวถึงเป้าหมายเพื่อบรรลุภารกิจ Mission Green 2020 เอไอเอสในท้ายที่สุด

 

You Might Also Like