CSR

1-100 โมเดลต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน @ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย

25-26 กุมภาพันธ์ 2566… กลุ่มธุรกิจ TCP มีตัวเลขสำคัญที่จะอธิบายการบริหารจัดการน้ำ 1,2,3,5,7,15 และ 100 ส่งผลต่อวิถีชุมชน มีผู้รับประโยชน์กว่า 40,000 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำ บางปะกง และลุ่มน้ำโขง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ 75 ล้านบาท

ด้วยโมเดลต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน จะขอเริ่มต้นที่เลข “7” ก่อน เพราะพื้นที่ที่ชุมชนได้ประโยชน์ก็อยู่จังหวัดแพร่ 1 ใน 7 จังหวัด ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และเป็น 1 ใน 3 ลุ่มน้ำ (ลุ่มน้ำยม ประกอบด้วย แพร่ สุโขทัย พิจิตร  ลุ่มน้ำบางปะกง มี สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก และลุ่มน้ำโขงคือ อุบลราชธานี) จากการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งของโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย โดยพื้นที่แห่งนี้เป็นโมเดลต้นแบบด้วยแนวทาง “ฟื้นฟูป่า-พัฒนาน้ำ-ทำเกษตรแบบ Smart Farmer” ซึ่งเห็นผลสำเร็จเกินเป้าหมาย นับตั้งแต่เริ่มโครงการ CSR กลุ่มธุรกิจ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย 2562

อรัญญา ลือประดิษฐ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า โมเดลต้นแบบที่เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่จังหวัดแพร่ นับได้ว่าชุมชนมีความเข้มแข็งมาก สามารถขับเคลื่อนงานได้ด้วยตัวเอง โดยกลุ่มธุรกิจ TCP เป็นผู้สนับสุนให้มีการขับเคลื่อนได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านแม่ขมิง หมู่ 2 ซึ่งอดีตมีความแห้งแล้ง แย่งกันใช้น้ำ หรือบ้านเหล่าเหนือ อ.วังชิ้น อดีตเกิดอุทกภัยโคลนถล่มและตามมาด้วยแล้ง แต่ปัจจุบันทั้ง 2 พื้นที่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาก โดยชุมชนเองทำงานร่วมกัน ด้วยแนวทาง ฟื้นฟูป่า-พัฒนาน้ำ-ทำเกษตร ในฐานะคนพื้นที่ที่รู้จักพื้นที่ และความต้องการของตัวเองดีที่สุด โดยไม่ต้องการให้เกิดสภาพขาดน้ำ  และไม่มีโอกาสสร้างรายได้จากเศรษฐกิจชุมชนอีกต่อไป

อรัญญา พร้อมผู้บริหาร โครงการTCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย
จังหวัดแพร่ ในพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ปะยาง ซึ่งได้กลายเป็นห้องเรียนรู้ให้เยาวชนในพื้นที่ และผู้มาเยือนจากต่างถิ่น

“สิ่งที่เปลี่ยนไปมากไม่ใช่เพราะมีงบประมาณจากภาคเอกชนมาลง แต่เป็นความรู้ความเข้าใจของคนในพื้นที่ที่ย่อมจะเข้าใจพื้นที่ตัวเองมากที่สุด นอกจากนี้ชุมชนมีกติกาที่ตกลงกันเองในหมู่บ้าน โดยเป้าหมายไม่ใช่เรื่องน้ำอย่างเดียว แต่ผู้สูงวัยก็จะมีงานทำด้วย ที่นี่ปลูกถั่วเหลืองกันมาก รวมถึงพืชผักอื่น ๆ ด้วย มีตลาดขายในชุมชนและพืนที่ใกล้เคียง สิ่งเหล่านี้เป็นความร่วมมือของอบต.และทางราชการ”

อรัญญาขยายความถึงความร่วมมือดังกล่าว คือตัวเลขที่ “3” เป็น 3 ประสานความร่วมมือคือ หนึ่งชุมชน สองหน่วยงานภาครัฐ และสามกลุ่มธุรกิจ TCP อีกทั้งมี 5 พันธมิตรในตัวเลขที่ “5” ผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศคือ กลุ่มธุรกิจ TCP มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และส่งเสริมให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ใน 2 มิติน้ำ เพื่อ 3 ลุ่มน้ำ

ตัวเลข “2” คือ มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกมิติ ทั้งมิติของน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำที่หลากหลาย ดำเนินการใน 3 ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำโขง

โมเดลต้นแบบการจัดการน้ำประกอบด้วย

1.ฟื้นฟูป่า: วางแนวกันไฟ ดูแลป่าต้นน้ำ เสริมฝายต้นน้ำ วางระบบท่อเติมน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำ
2.พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ: สร้างถังเก็บน้ำลักษณะหอถังสูง แบ่งเส้นน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร
3.ทำเกษตรแบบ Smart Farmer: สร้างระบบรางส่งน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร วางระบบรางกระจายน้ำเพื่อการเกษตร เก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และแจ้งเตือนให้กับชุมชน ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

วีฤทธิ์ กวยะปาณิก ศูนย์บริหารจัดการน้ำ จ. แพร่ กล่าวว่าศูนย์ฯ เข้าไปช่วยรวบรวมข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติเกิดเป็นตัวอย่างความสำเร็จ ส่งต่อองค์ความรู้ แจ้งเตือนข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตรและการจัดการน้ำ เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสภาพอากาศและภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ในปีที่แล้ว พื้นที่นี้ไม่ได้รับผลกระทบหนักจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น ทั้งยังมีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนเป็นหลักในการขับเคลื่อน สามารถวางแผนบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบโครงสร้างแหล่งน้ำได้ด้วยตนเอง เพิ่มความมั่นคงทางการเกษตรและเศรษฐกิจชุมชน

ในพื้นที่ บ้านเหล่าเหนือ

ทั้งนี้ ที่บ้านเหล่าเหนือเอง ก็มีลูกหลานที่เป็นคนวัยหนุ่มสาว กลับจากกรุงเทพฯ มาใช้พื้นที่บ้านเกิดเป็นพื้นที่ทดลองปลูกผักอินทรีย์ ซึ่งมีผลผลิตที่ดีจนะกระทั่งต้องซื้อพื้นที่ข้างบ้านปลูกเพิ่มเติม เพราะมีน้ำเพียงพอ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ขายให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ และผู้ใส่ใจสุขภาพ ขณะที่เพื่อน ๆ ในพื้นที่เองก็พยายามสร้างเครื่องดื่ม อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพไว้รองรับตลาดที่มีการเติบโต

ในขณะที่บ้านแม่ขมิง ผู้ใหญ่บ้าน อัจฉริยะพงษ์ ปันฟอง ร่วมกับชุมชนทดลองเปิดพื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำ เป็นที่พักผ่อนของคนในพื้นที่รวมถึงนักท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้งจะสามารถเดิน Trail สั้น ๆ ได้และชมนกพันธุ์ต่าง ๆ บริเวณอ่างเก็บน้ำ โดยผู้ใหญ่บ้านมีความตั้งใจที่ให้เกิด “สรอย ซิตี้”

“ชุมชนเรากำลังเตรียมแผนจะจัดการท่องเที่ยวเป็นการวิ่ง Trail บริเวณเขา ที่อ่างเก็บน้ำ สำรวจเส้นทางแล้ว จะเป็นเส้นทางที่ไม่ยากเกินไปนัก ครอบครัวก็ร่วมกิจกรรมนี้ได้ในปีนี้ ก็ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมครับ”

พื้นที่ทั้งสองแห่งที่อยู่ในโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยได้รับรางวัลไม่น้อย ทั้งในเรื่องทรัพยกรน้ำ รวมถึงเรื่องคน และเศรษฐกิจชุมชน และผลลัพธ์ความสำเร็จจากโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย พื้นที่ลุ่มน้ำยม จ. แพร่

ในพื้นที่ บ้านแม่ขมิง

-ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำห้วยปะยางมีความจุเพิ่มขึ้น เป็น 959,000 ลบ.ม. มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น341,000 ลบ.ม. และสามารถบริหารจัดการน้ำได้มากที่สุดถึง 6 รอบต่อปี
-สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ 8,000 – 15,000 บาท/เดือน
-เกิดการจัดการน้ำในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และการใช้งาน ได้แก่ เสริมสปิลเวย์ ยกระดับน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยป้อม เก็บเข้าหอถังสูง เสริมระบบสูบด้วยโซลาร์เซลล์ลดการใช้พลังงาน ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่
-ชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของโครงการ ร่วมวางแผนการทำงาน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ทำให้เกิดการบริหารจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

คลิกภาพขยายรูปใหญ่

“TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ได้ทำงานกับชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง เป็น 1โครงการเพื่อความยั่งยืนด้านน้ำ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน โดยมุ่งหวังให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์กร ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำ มีเป้าหมายสูงสุด คือเป็นองค์กร Net Water Positive หรือการใช้น้ำสุทธิเป็นบวก ลดการใช้ทรัพยากรน้ำและเติมน้ำสะอาดกลับคืนสู่แหล่งน้ำในท้องถิ่นให้ได้มากกว่า 100%ในปี 2573 โดย TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2562 และสิ้นสุดโครงการในปี 2566”

ตามเป้าหมายเลข “1” ปัจจุบัน โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยสามารถพัฒนาแหล่งน้ำให้กับชุมชนได้มีน้ำใช้เพิ่มขึ้นถึง 15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ในตลอดกระบวนการ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ตอนเริ่มโครงการ

สุดท้าย ตัวเลข “100”  คือจำนวนเงิน 100 ล้านบาทเพื่อขับเคลื่อนโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยตามกลยุทธ์ “ปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม” และในปี 2566 นี้ ตั้งเป้าจะเกิดผลสำเร็จในอีก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว และนครนายก ที่ดำเนินโครงการควบคู่กัน

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

You Might Also Like