CSR

AIS x GC ชวนเยาวชน 11 มหาวิทยาลัยชิงทุนการศึกษาในโครงการ “Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ”

25 กรกฎาคม 2566…ทั้ง 2 องค์กรได้สานต่อความร่วมมือตามแนวคิด ESG  มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมส่งต่อไปยังเครือข่ายมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยีโซลูชันสีเขียว จัดแข่งขันภารกิจเก็บขยะเพื่อโลกทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste + และขยะพลาสติกผ่าน GC YOUเทิร์น ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้ว เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างครบวงจร เฟ้นหาสุดยอดสถาบันสีเขียว ชิงทุนการศึกษา พร้อมถ้วยรางวัล Upcycling  ที่สร้างคุณค่าจากพลาสติกใช้แล้ว และขยะ E-waste

สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS และ ดร.ชญาน์ จันทวสุรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืน บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกันเปิดโครงการ “Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ” เพื่อเร่งสร้าง Awarness อย่างต่อเนื่องพร้อมลงมือทำผ่านกิจกรรมภารกิจรักษ์โลก เก็บ E-waste และขยะพลาสติก  ที่ทั้ง 2 องค์กรมีความเชื่อภายใต้แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยแนวทาง ESG  (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม)

 

“ความร่วมมือที่เกิดขึ้นวันนี้ AIS และ GC ได้ชวนกรีน พาร์ทเนอร์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 11 แห่ง มาเข้าร่วมแข่งขันการเก็บรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์และพลาสติกที่ใช้แล้ว นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เราไม่ได้ต้องการผลลัพธ์ในเชิงปริมาณจากจำนวนขยะที่น้องๆ นิสิต นักศึกษา เก็บได้เท่านั้น แต่เราต้องการสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาด้านการจัดการขยะอย่างอย่างยั่งยืน ทั้งกระบวนการคัดแยก ไปจนถึงการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” สายชลกล่าว

ดร.ชญาน์ ขยายความถึงโครงการ “Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ” เป็นการขยายเครือข่าย ส่งต่อแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างการมีส่วนร่วมให้กับน้องๆ นิสิต -นักศึกษา และบุคลากรของทั้ง 11 มหาวิทยาลัย ในการจัดการพลาสติกใช้แล้วผ่าน GC YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม สนับสนุนการนำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือน ส่งกลับมาเป็นวัตถุดิบและกลับเข้าสู่วงจรการผลิตอีกครั้ง ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดโลกร้อนไปพร้อมๆกัน

 

 

สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้ง 11 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ท้ายที่สุด มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนรู้กระบวนการจัดการขยะทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์และขยะพลาสติกอย่างถูกต้องผ่านการอบรมให้ความรู้ กิจกรรม Workshop รวมถึงการศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยที่สามารถเก็บขยะทั้ง E-Waste และพลาสติกใช้แล้วได้จำนวนสูงสุดจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา รวมกว่า 60,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล Upcycling  ผลิตจากขยะพลาสติก และขยะ E-waste  โดยการแข่งขันจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ – 15 ตุลาคม 2566 สามารถติดตามและอัพเดทผลการแข่งขันของน้องจากทั้ง 11 มหาวิทยาลัยได้ทาง https://web.facebook.com/YOUTURNPLATFORM

นับเป็นภารกิจข้ามอุตสาหกรรม ในฐานะ Patrnerships ตามเป้าหมาย SDGs ข้อ 17 ร่วมกันในการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและลูกค้าเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการขยะทั้งขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการต่อยอดพัฒนาด้านความยั่งยืนด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2593

 

 

 

You Might Also Like