CIRCULAR ECONOMY

พ.ร.บ. EPR เร่งผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ทุกขนาดต้องปรับเปลี่ยน

30 พฤศจิกายน 2566…หลักการ Extended Producer Responsibility หรือ EPR หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต พูดง่ายๆว่า “ใครเป็นผู้ผลิต คนนั้นต้องเป็นคนรับผิดชอบ” ไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นการรับคืน การรีไซเคิลและการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเริ่มให้เห็นภาพของวิกฤติขยะในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยสร้างขยะประมาณ 27 ล้านตันต่อปี เทียบเท่ารถยนต์ 27 ล้านคัน โดยมีการผลิตขยะ เฉลี่ย 1.14 กก./คน/วัน สูงกว่าค่าเฉลี่ย ของกลุ่ม ประเทศกำลังพัฒนาที่มีระดับรายได้ใกล้เคียงกัน (Lower Middle Income) 0.79 กก./คน/วัน

ขอเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันขบคิดว่า ถึงเวลาหรือยังที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคร่วมรับผิดชอบต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น

ก่อนเริ่มพูดคุยเรื่อง EPR ดร.สุจิตรา ได้สำรวจผู้ฟัง

“ตอนนี้เริ่มมีการออกข้อบังคับใช้ให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจะต้องมีการผสมพลาสติกรีไซเคิลไม่น้อยกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้มองว่าเป็นทางรอดของธุรกิจเพราะหากไม่มีการปรับตัวก็จะไม่สามารถส่งออกไปได้ ซึ่งหลายประเทศเริ่มมีการบังคับใช้เรื่องนี้ โดยเรื่องของ EPR จะมีการระบุให้บังคับใช้ด้วยเช่นกัน”

ดร.สุจิตราอธิบายต่อเนื่องว่าวิธีการแก้ไขเรื่องขยะไม่ใช่เรื่องที่มาแก้ที่ปลายทาง การจัดการอย่างยั่งยืนต้องเริ่มแก้ที่วิถีการผลิตและการบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาในเมืองไทยอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากเท่าที่ควร ปัญหาขยะไม่ได้แก้เมื่อมันกลายเป็นขยะแล้วแต่ต้องแก้ก่อนที่จะเป็นขยะ แก้ที่ต้นทางของการผลิตสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ

“ตอนนี้ผู้บริโภคใส่ใจในเรื่องของการแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลมากขึ้น แต่ปัญหาคือหากผู้ผลิตเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการรีไซเคิล ผู้บริโภคก็ไม่สามารถแยกเป็นขยะรีไซเคิลได้ สุดท้ายก็ต้องไปจบที่บ่อขยะ ซึ่งในเมืองไทยมีบ่อขยะ 2000 กว่าแห่ง แต่มีการจัดการอย่างถูกต้องไม่ถึง 25%”

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์หากไม่มีการใส่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตออกมาจะกลายเป็นขยะ ก็อาจจะมีการผลิตออกมาอย่างเกินพอดี ดังนั้นขยะควรเป็นความร่วมผิดชอบของ “ผู้ก่อให้เกิดขยะ ” ตามหลัก Polluter Pay Principle(PPP) เพราะขยะมิใช่ภาระของ อปท. รัฐต้องแก้ปัญหาความล้มเหลวงของตลาดที่ไม่ได้คิดรวมต้นทุนสิ่งแวดล้อมด้วยกลไก EPR,ภาษี /ค่าธรรมเนียมเข้ากองทุน ฯลฯ

นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) ภายใต้แบรนด์ 
เอสซีจี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC Green PolymerTM)

แล้ว EPR คืออะไร คำตอบคือ หลักการทางนโยบายที่ทั่วโลกนำมาใช้เป็นฐานในการออกกฎหมายหรือมาตรการที่ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบสินค้าที่ตนผลิตตลอดวงจรชีวิตของสินค้านั้นๆ โดยกฎหมายฉบับแรกที่นำหลักการ EPR มาปรับใช้คือกฎหมายจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ของเยอรมนีในปีค.ศ. 1991 โดยจากผลสำเร็จที่กฎหมายช่วยลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ที่ต้องส่งไปกำจัด เพิ่มอัตราการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ ทำให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มนำหลักการ EPR มาเป็นฐานในการออกกฎหมายเพื่อจัดการขยะที่ท้องถิ่นจัดการได้ยาก เช่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์สิ้นสภาพ ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ เป็นต้น

ตอนนี้ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มีการออกกฎหมาย EPR ขึ้นมาแล้ว เพราะประเทศเหล่านี้ก็ถูกมองว่าเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่แหล่งน้ำเช่นเดียวกัน แต่ประเทศไทยยังอยู่แค่ขั้นตอนของการยกร่างกฎหมายยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน แต่อย่างไรมาช้าก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำเลย เพราะประเทศเราก็มีศักยภาพและความเข้มแข็งในเชิงอุตสาหกรรมรีไซเคิลมากกว่าประเทศเหล่านั้น

ในแง่ของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากมีกฎหมาย EPR บังคับใช้ในอนาคตการจัด คือ การขยะบรรจุภัณฑ์ ราคาวัสดุรีไซเคิลจะผันผวนน้อยลงหรือมีการพยุงราคา ส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาดมีความโปร่งใสในระบบ , ยกระดับคุณภาพชีวิตซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า ประชาชนส่งคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วได้สะดวก อปท . เก็บแยก , จุด drop-off ตามห้าง , ร้านสะดวกซื้อ , ปั๊ม มีโปรโมชั่นนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาแลกของใหม่ประชาชนมีความตระหนักและแยกขยะมากขึ้น

ปัจจุบันมีโครงการนำร่องและกฎหมาย EPR ในไทยและเพื่อนบ้าน เช่น โครงการ PRO Thailand Network ขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนภายใต้หลักการ EPR เป็นการรวมตัว บริษัทพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทย และในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยประเทศเพื่อนบ้านเริ่มออกกฎหมาย EPR เพื่อจัดการขยะบรรจุภัณฑ์และขยะพลาสติก ,e-waste และซากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปแล้วเช่นกัน

ส่วนของประเทศไทยได้ร่างพรบ.การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน และกรมควบคุมมลพิษได้กำหนดแผนงานจัดทำร่างกฎหมาย CE/EPR บรรจุภัณฑ์ตั้งเป้าประกาศใช้ภายในปี 2569 และร่างกม.ส่งเสริม CE ภายในปี 2570

ธนูพล อมรพิพิธกุล นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (จำกัด) มหาชน ยังร่วมให้ข้อมูลในหัวข้อ “เม็ดพลาสติก PCR InnoEco กับบทบาทสนับสนุน EPR และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ InnoEco ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือน ด้วยเทคโนโลยีการรีไซเคิลมาตรฐานยุโรป เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR) คุณภาพสูง มีคุณสมบัติเทียบเคียงเม็ดพลาสติกใหม่

โดยเม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด PET (PCR PET) เกรดสัมผัสอาหาร ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (อย.) เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยสามารถใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์ทุกขนาด ทุกความหนา ส่วนเม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด PET (PCR PET) เกรดสัมผัสอาหาร ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลทั้งองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) รวมถึงหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม เม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด HDPE (PCR HDPE) เกรดบรรจุภัณฑ์ และมีเทคโนโลยีขั้นสูงในการกำจัดกลิ่น สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เช่น ขวดแชมพู ขวดสบู่ แกลลอนน้ำมัน

กระบวนการและเทคโนโลยีการรีไซเคิลประสิทธิภาพสูงครบวงจรภายในโรงงานเอ็นวิคโค เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกวัตถุดิบ บด ล้างทำความสะอาด กำจัดสารเจือปน ปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงการตรวจสอบ ทุกขั้นตอนได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้เรามั่นใจว่าเม็ดพลาสติกรีไซเคิลของเราสามารถผลิตเป็นขวด rPET 100% ที่ได้ตามมาตรฐานของ อย. ทุกประการ สะอาดและปลอดภัย มุ่งหวังให้การใช้ขวด rPET 100% ในประเทศไทยเป็นที่นิยมมากขึ้น ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

วัตถุดิบทั้งหมด 100% เป็นพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศไทย โดยทาง GC ร่วมกับ ENVICCO สร้างศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลในหลายจังหวัด ตอบสนองการดำเนินชีวิตของผู้คนและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการรีไซเคิล รวมถึงสร้างระบบการบริหารจัดการขยะของชุมชนให้ครบวงจร ในระยอง นครปฐม และจังหวัดอื่นๆ โดยนำ ‘GC YOUเทิร์น’ แพลตฟอร์มเข้ามาช่วยจัดการ ตั้งแต่วิธีการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง เพื่อส่งต่อให้กับโรงงาน ENVICCO ไปทำการคัดแยกและทำความสะอาด ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยการปรับปรุงคุณสมบัติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก จนกลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ตลอดจนการติดตั้งระบบการสอบทาน(traceability)อันทันสมัย ทำให้สามารถสอบกลับที่มาของพลาสติกใช้แล้วได้ 100%

ปัจจุบันในยุโรปหรือในสหรัฐฯ เมื่อมีสัดส่วนการใช้รีไซเคิลอย่างแพร่หลายในสัดส่วนที่มากเกือบเท่ากับเม็ดพลาสติกใหม่ สีขวดจะมีสีเข้ม ในระหว่างนี้ ตลาดเมืองไทยพึ่งเริ่มมีการใช้งาน ทางผู้ผลิตตรสินค้า Brand owner ต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้บริโภคตั้งแต่ต้น

“ปัจจุบัน มีหลายประเทศที่มีกฎหมายให้บรรจุภัณฑ์จะต้องมีพลาสติกรีไซเคิลอยู่ด้วย ทำให้เราเห็นว่าหลายแบรนด์เริ่มใส่พลาสติกรีไซเคิลลงไปในบรรจุภัณฑ์ของตัวเองแล้วแต่ความยากง่ายของบรรจุภัณฑ์นั้นซึ่งแบ่งเป็น Food และ Non Food ขั้นต่ำอยู่ที่ 10-20% ตามกฎหมายต้องการ ซึ่งแล้วแต่ความสามารถของผู้ผลิตว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน กฎหมาย EPR จะทำให้โรงงานรีไซเคิลมาลงทุนมากขึ้น หรือขยายการลงทุนเพื่อรองรับบรรจุภัณฑ์หลายประเภทมากขึ้นเนื่องจากสามารถ Secure feedstock ได้” ดร.สุจิตรา กล่าวปิดท้าย

ที่มาภาพเปิดเรื่อง

You Might Also Like