CIRCULAR ECONOMY

เอไอเอส ยกระดับโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” สู่วาระแห่งชาติ

16 มกราคม 2564…ผนึกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงขยายจุดวางถังรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ ณ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือ ทสจ. ทั่วประเทศ ร่วมกับ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. เพื่อเป็นตัวแทนสื่อสาร สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง

ครบ 1 ปีของ“คนไทยไร้ E-Waste” ในการลงมือทำสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง ประกอบด้วยโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, พาวเวอร์แบงก์, สายชาร์จ, หูฟัง ซึ่งได้ขยายเครือข่ายไปยังหลายหน่วยงานที่มีสาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 2,300 จุดทั่วประเทศ

จากสถิติพบว่าถัง E-Waste บริเวณห้างสรรพสินค้าที่ร่วมมือการรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวนมือถือเก่า และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับมือถือ เป็นจำนวนมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือถัง E-Waste ที่ตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานต่าง ๆ และสุดท้ายมาจากศูนย์ไปรษณีย์ทั่วประเทศพร้อมกันนี้ ความน่าสนใจในการดำเนินงานเรื่องนี้คือ ตามคอนโดฯ ก็มีตัวเลขการทิ้ง E-Waste มากขึ้น โดยขณะนี้กำลังขยายจุดการทิ้งเข้าไปที่หมู่บ้าน

ล่าสุดเป็นการขยายเครือข่าย“คนไทยไร้ E-Waste”ที่เป็นวงกว้างมากเมื่อเอไอเอสจับมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ร่วมกันกล่าวถึงการร่วมมือระดับประเทศ ยกระดับภารกิจ คนไทยไร้ E-Waste สู่วาระแห่งชาติ ในการขยายจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) พร้อมร่วมบูรณาการส่งต่อองค์ความรู้และปลูกจิตสำนึกคนไทย ผ่านการทำงานของ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ที่จะเป็นตัวแทนหลักที่เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับโทษภัยของขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste), ให้ข้อมูลการจัดเก็บและทิ้งอย่างถูกวิธี ตลอดจนส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเอไอเอสต้องขอขอบคุณกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมกลุ่ม ทสม. ที่เห็นความสำคัญของโครงการนี้และร่วมสนับสนุนอย่างดี

“ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มีเป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ พร้อมร่วมดูแลรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศให้พัฒนา และเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน เราจึงให้ความสำคัญต่อการจัดการปัญหาขยะทุกประเภท รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่นับได้ว่าเป็นขยะอีกหนึ่งประเภทที่จะต้องมีการคัดแยกและนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามมาตรฐานเรายืนยันว่าเรายืนยันว่า เราจะร่วมเป็นอีก 1 พลังสานต่อภารกิจของกระทรวงฯ ในการดูแลปกป้องสิ่งแวดล้อมของบ้านเราเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกหลานเราในอนาคตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป”

สมชัยกล่าวในท้ายที่สุดว่า ปัจจุบันโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” สามารถรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวนกว่า 6.3 ตัน โดยทางเอไอเอส ได้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่เก็บรวบรวมได้จากจุดรับทิ้ง นำส่งให้กับ บริษัท เทส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfill (การจัดการขยะทำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดมูลค่าได้อีกครั้ง) ต่อไป

 

You Might Also Like