ALTERNATIVE

เยาวชนชี้ควรกำหนด “แนวทางร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่” ท่ามกลางการใช้อินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้น

22-24 ตุลาคม 2564….ผลสำรวจโดยเทเลนอร์กรุ๊ป และองค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนลเผย 2 ใน 3 ของเยาวชนในประเทศไทย มาเลเซีย บังคลาเทศ และปากีสถาน มองว่า “การกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์” เป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับเเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 เพิ่มปริมาณความชุกปัญหาไซเบอร์บูลลี่จาก 25% เป็น 29%

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า 14% ของเยาวชนมีประสบการณ์ไซเบอร์บูลลี่อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดยช่องทางโซเชียลมีเดีย แอปส่งข้อความ และเกมออนไลน์ เป็น 3 ช่องทางออนไลน์หลักที่เยาวชนมีประสบการณ์การไซเบอร์บูลลี่มากที่สุด

ผลการสำรวจยังระบุอีกด้วยว่า เยาวชนที่เคยถูกบูลลี่มีการใช้กลวิธีที่หลากหลายเพื่อหยุดยั้งการบูลลี่ที่เกิดขึ้น ทั้งการเพิกเฉยต่อการกระทำนั้นๆ เปลี่ยนการตั้งค่าความปลอดภัยเพื่อให้ผู้กลั่นแกล้งไม่สามารถเข้าถึงได้ ตลอดจนการพูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อเป็นเกราะป้องกันจากปัญหาที่อาจตามมาได้

ตัวเลขจากผลการสำรวจที่สำคัญมากจาก

-เด็กและเยาวชนจำนวนกว่า 4,000 คนใน 4 ประเทศร่วมตอบแบบสอบถาม
-แบ่งเป็นเพศหญิง 50% เพศชาย 47% และไม่ระบุเพศ 3%
-แบ่งตามประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย 38% ปากีสถาน 34% บังคลาเทศ 16% และไทย 12%
-แบ่งตามอายุ ได้แก่ 13-15 ปี 38%, 16-18 ปี 32%, 19-21 ปี 18%, 10-12 ปี 6% และต่ำกว่า 10 ปี 1%

ทบทวนแนวทางในใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

“ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดหาแนวทางหรือวิธีการที่จะป้องกันพวกเขาจากภัยออนไลน์ ตลอดจนการสร้างการรับรู้ จัดอบรมเกี่ยวกับไซเบอร์บูลลี่ และการพัฒนาความสามารถในการปรับตัวต่อภัยของโลกไซเบอร์ ซึ่งเราไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ควรดึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เข้ามาร่วมมือกันเพื่อต่อกรกับภัยออนไลน์เหล่านี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ภาครัฐ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ตลอดจนองค์กรเอกชนอย่างเทเลนอร์ที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมในการสร้างภูมิคุ้มกันทางออนไลน์เสมอมา” มานิชา ดอกรา ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน เทเลนอร์ เอเชีย กล่าว

ด้วยประเด็นไซเบอร์บูลลี่ที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นในเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ที่มีความชุกของสถานการณ์ที่เพิ่มขึ้น เด็กและเยาวชนแสดงความเห็นว่า

-ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการรับมือกับไซเบอร์บูลลี่บนโซเชียลมีเดียมากที่สุด (56%)
-การรักษาความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ (46%)
-การรักษาและความสุขภาพจิต (43%)
-ต้องการการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับมือไซเบอร์บูลลี่ผ่านทางแอปแชทถึง 40%
-การรับมือไซเบอร์บูลลี่ผ่านเกมออนไลน์ที่ 37%

ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ดีแทคได้ชวนเยาวชนร่วมออกแบบข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่ ภายใต้แคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ผ่านแพลตฟอร์มที่ได้รับการออกแบบในรูปแบบ JAM Ideation (https://www.safeinternetlab.com/brave) ต้อนรับเยาวชนให้เข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเข้มข้น พร้อมนำข้อสรุปชงหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่ห่วงใยในประเด็นไซเบอร์บูลลี่ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในสังคม และกฎหมายเทียบเท่านานาชาติ

“อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกัน ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจได้แสดงถึงความท้าทายที่สูงขึ้นบนภูมิทัศน์ดิจิทัล จากข้อมูลผลสำรวจขององค์การแพลนอินเทอร์เนชั่นแนลบ่งชี้ว่า เด็กและเยาวชนหญิงในเอเชียต่างเผชิญกับการล่วงละเมิดและถูกข่มขู่บนโลกออนไลน์ ทำให้พวกเธอเลิกใช้อินเทอร์เน็ต นำไปสู่โอกาสและเสียงที่ถูกจำกัดในการได้ยินบนโลกออนไลน์ ดังนั้น การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมระหว่างเพศบนโลกออนไลน์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการใช้อินเทอร์เน็ตในเด็กและเยาวชนผู้หญิง ตลอดจนครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างมาก” คริสตา ซิมเมอร์แมน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการ องค์การแพลนอินเทอร์เนชั่นแนล ภูมิภาคเอเชีย อธิบาย

เด็กไทยแชมป์ใช้ออนไลน์สูงสุด

จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราว 70% ใช้เวลาบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นตั้งแต่โรคโควิด-19 ระบาด โดย 34% ใช้อินเทอร์เน็ตตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ขณะที่ 24% ใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงเย็นเป็นหลัก มีเพียง 7% เท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เน็ตเฉพาะในเวลาเรียน

ทั้งนี้ การใช้อินเทอร์เน็ตแปรผันไปตามสถานการณ์ในแต่ละประเทศ โดยเด็กและเยาวชนในไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตในระดับสูง โดย 47% ของเด็กไทยใช้อินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ตามด้วยมาเลเซียที่ 45% บังคลาเทศ 35% และปากีสถาน 17

 

You Might Also Like