ACTIVITIES

AIS Go Green กิจกรรมปลูกต้นไม้ ที่ก้าวสู่การเป็น Carbon Neutral Event หรืองานที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายการสร้างความยั่งยืน

17 สิงหาคม 2565… AIS ตระหนักถึงงานที่จัดไม่ว่าจะมีจำนวนผู้ร่วมงานน้อยหรือมากก็ตาม ล้วนเป็นกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่งผลทําให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน ดังนั้นในวันที่มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น เพื่อกรุงเทพฯ ที่สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ โดยเริ่มที่ 5,000 ต้น บนที่ว่างกว่า 2.4 ไร่ ชักชวนพนักงาน คู่ค้า พันธมิตร ร่วมกิจกรรมนั้น จึงมีการเตรียมการเพื่อให้เป็น Carbon Neutral Event ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวถึงเป้าหมายของกิจกรรม AIS Go Green ขานรับนโยบายของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่ว อีกทั้งเป็นการกักฝุ่นมลพิษในเมืองกรุง สร้างร่มเงา ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นไปตามนโยบายของผู้ว่าฯกทม.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และสมชัย เลิศสุทธิวงค์ พร้อมพนักงาน คู่ค้า พันธมิตร ร่วมปลูกต้นไม้

“เราไม่มองการจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ แต่เราต้องการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิด Green Network ที่จะนำไปสู่พัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับนโยบายเชิงกลยุทธ์มาจนถึงในทางปฏิบัติ ดังนั้นการจัดกิจกรรมเราก็มองถึงปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้น และพยายามคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากงานให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อทำการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยเท่ากับปริมาณที่ปล่อยออกมา ทำให้การจัดงานครั้งนี้เป็นงาน Carbon Neutral Event หรืองานอีเว้นท์ที่ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสอดคล้องไปกับเป้าหมายในการดูแลสิ่งแวดล้อมสมตามเจตนารมณ์ในทุกมิติอย่างแท้จริง”

ทั้งนี้ องค์การบริหารจัดการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) หรือ อบก. ในฐานะองค์กรส่งเสริมสนับสนุนให้ ภาคส่วนต่าง ๆ ดําเนินกิจกรรมด้วยความใส่ใจต่อผลกระทบ ต่อภาวะโลกร้อน โดยเห็นว่าการจัดงานอีเว้นท์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน จึงได้เชิญชวนให้ภาคส่วน ต่าง ๆ จัดงานอีเว้นท์ที่รับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน โดยการจัดหาคาร์บอน เครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยมาชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมในการจัดงานอีเว้นท์ เพื่อทําให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากงานนับได้เท่ากับศูนย์ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนนิวทรัล (Carbon Neutral) ซึ่งสามารถขอการรับรองจาก อบก. ได้โดยเรียกว่าเป็นการจัดงานคาร์บอนนิวทรัล อีเว้นท์ (Carbon Neutral Event) หรืองานปลอดคาร์บอนนั่นเอง

การคํานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของงานอีเว้นท์ อบก.แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. เป็นการปล่อยก๊าซเรือน กระจกทางตรง ได้แก่ การใช้ เชื้อเพลิงและมีการเผาไหม้
2. เป็นการปล่อยก๊าซเรือน กระจกทางอ้อม ได้แก่ การใช้ไฟฟ้า ในการจัดเตรียมงานและช่วงจัดงาน
3.เป็นการปล่อยก๊าซเรือน กระจกทางอ้อมอื่นๆ ได้แก่ การ เดินทางของผู้เข้าร่วมงาน จํานวนคืนการพักค้าง ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น

สำหรับกิจกรรมปลูกต้นไม้ในโครงการ AIS Green Network ถือเป็นงาน Carbon Neutral Event หรืองานอีเว้นท์ที่ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการมองปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• พลังงานที่ใช้ในงาน มาจากรถปั่นไฟ ซึ่งใช้น้ำมันในการทำงาน โดยให้พลังงานไฟฟ้ากับเครื่องเสียง และรถโมบายที่ใช้เพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายสื่อสารภายในพื้นที่การจัดกิจกรรม
• มีการเก็บแบบสอบถามจากผู้เข้าร่วมงานถึงรูปแบบการเดินทาง เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการคำนวนปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการเดินทางของทุกท่าน เช่น รถโดยสาร รถยนต์ส่วนตัว เป็นต้น
• ขยะที่เกิดขึ้นในงาน หลัก ๆ จะมาจาก ขวดน้ำพลาสติก และ ถุงดำจากกล้าไม้ ซึ่งได้มีการนับจำนวน และนำมาคำนวณปริมาณขยะที่เกิดขึ้น และนำไปคำนวนต่อเพื่อให้ได้ค่าของปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากขยะ หรือ Waste ในครั้งนี้
• อาหารและของว่างจากรถ Food Truck ไม่ได้มีการใช้ก๊าซหุงต้ม หรือพลังงาน แต่ใช้รูปแบบการชง ซึ่งการคำนวณจัดอยู่ในกลุ่มของว่าง ตามมาตรฐานการคำนวณของ TGO ที่จะนับตามจำนวนผู้เข้าร่วมงาน
• ป้ายต่าง ๆ ภายในงาน จัดทำขึ้นจากกระดาษ และไม่ถือเป็น Waste เพราะทีมงานเก็บเพื่อนำกลับไปใช้ในงานครั้งต่อไป

สำหรับต้นไม้ในโครงการ AIS GO GREEN ผู้เข้าร่วมสามารถติดตามการเติบโตตามพิกัดพื้นที่ปลูกภายในสวนรถไฟ และสถานที่อื่นๆ ต่อไป ได้ทาง LINE : @tomorrowtree และยังติดตามภารกิจการปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น ของ AIS ได้ทาง Facebook: AIS Sustainable

การปักหมุด Carbon Neutral Event ในทุกกิจกรรมของ AIS Go Green นับจากนี้เป็นต้นไปนั้น น่าจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ AIS มีพื้นฐานอย่างแข็งแรงจากนโยบายการบริหารจัดการทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย AIS ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ติดตั้งอุปกรณ์สถานีฐานที่สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายเทคโนโลยีทั้ง 3G 4G 5G และปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า ขยายระบบ Virtual Machine Sever ที่ช่วยประหยัดพลังงาน รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บริเวณสถานีฐาน ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และชุมสายสถานีฐาน

“นอกจากนี้เรายังดำเนินนโยบายลดปริมาณขยะ ทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากการดำเนินธุรกิจ เช่น อุปกรณ์โครงข่ายและอุปกรณ์มือถือ ซึ่งเราสามารถนำไปรีไซเคิลและกำจัดอย่างถูกวิธีได้ทั้งหมดโดยไม่เหลือซากที่นำไปฝังกลบ และเรายังชวนลูกค้าให้มีส่วนร่วมด้วยการลดใช้กระดาษเปลี่ยนมาใช้ e-bill หรือ Digital Application ต่าง ๆ พร้อมเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ลุกขึ้นมาสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในทุกอุตสาหกรรม สร้างจุดทิ้งแล้วกว่า 2,400 จุดทั่วประเทศ และนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill” สมชัยกล่าวถึงตัวอย่างเพิ่มเติม

นับเป็นการสะท้อนภาพการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS จากระดับนโยบายเชิงกลยุทธ์ถึงการปฏิบัติในทุกมิติ และสามารถวัดผลได้อย่างต่อเนื่อง ตามแนวทาง ESG และส่งผลต่อ Brand Purpose

 

You Might Also Like