TALK

แนวความคิดและการปรับไลฟ์สไตล์เพื่อความยั่งยืน เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่คนเคทีซีต้องร่วมกันสร้าง

14 มิถุนายน 2565…ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส เคทีซี กล่าวถึงแนวคิดข้างต้น พร้อมด้วยทีมทำงาน Sustainable Development ดวงกมล อินทรพราหมณ์ ผู้อำนวยการ ทักษิณา พุ่มประพันธ์ ผู้จัดการอาวุโส และวราภรณ์ ขันธประโยชน์ ร่วมพูดคุยถึงแนวทางการพัฒนาอย่างยิ่งขององค์กรด้วยแนวทางการทำงาน ESG

ทักษิณา,ชุติเดช,ดวงกมล และวราภรณ์

Top Down

ชุติเดช เริ่มต้นเล่าถึงสิ่งที่บริษัทต้องการเห็น และพยายามมากที่สุดคือ การปลูกฝังเรื่องความเข้าใจในการทำเรื่อง Sustainability ให้กับเพื่อนร่วมงานเคทีซี เพราะเป็นเรื่องสำคัญหากต้องการเห็นบริษัทเติบโตอีก10ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นคิดอะไรต้องเป็นเรื่องระยะยาว ต้องเป็นเรื่องที่จะยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้ บริษัทไม่ได้แค่หวังผลระยะสั้น หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้จบไป แต่จะต้องตอบให้กับ Stakeholder ของเคทีซีอยู่รอดบริษัทก็อยู่ได้

“ถ้าคนข้างในของเราเข้าใจ เรื่องแบบนี้เวลาคิดโพรดักส์ บริการ สกีมโฆษณา จะทำอะไรก็แล้วแต่ ทุกคนจะมีเรื่องความยั่งยืนอยู่ด้วย เช่นอย่างไรไม่ต้องให้ลูกค้าเดินทางมาก ไม่ต้องใช้กระดาษมาก ทำอย่างไรที่ลูกค้าจะปลอดภัย ไม่ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคมากที่สุด หรือทำแล้วคนรู้สึกว่ามีความเหลื่อมล้ำไหม เราลืมกลุ่มหนึ่งหรือแล้วให้ประโยชน์กับอีกกลุ่มหนึ่งไหม เมื่อเราคนเคทีซีเข้าใจเรื่องเหล่านี้ มันจะอยู่กับเราไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะอยู่ ถือเป็นมิชชั่นอย่างหนึ่งที่ทางทีมเอสดีต้องทำ”

ชุติเดชขยายความต่อเนื่อง โครงสร้างการทำงานเคทีซีมีคณะกรรมการบริษัท และอนุกรรมการบริษัท ที่ดูแลเรื่องเอสดีด้วย โดยหัวใจอยู่ที่คณะทำงาน มีทีมทำงานเล็ก ๆ เป็นส่วนหลักดูแลเรื่องนี้ คือ ดวงกมล ทักษิณา และวราภรณ์ ซึ่งปกติมีงานหลักที่ดูแล เช่นดวงกมลทำงานในส่วนบริหารเงินมาอย่างต่อเนื่อง ทักษิณาเองอยู่ในส่วน Corporate Governance ส่วนวราภรณ์ สายตรงSD ทั้งสามจึงทำหน้าที่สื่อสารเรื่องความยั่งยืนภายใต้กฎ ระเบียบใหม่ของโลก พร้อมตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่จะต้องตอบคำถามของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่มีคำถามมากกว่า “การเติบโตของบริษัททางการลงทุนและกำไร” โดยคำถามใหม่ที่มีมากขึ้นจะเป็นเรื่องของ “สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล”

“ผมเรียกทีม SD นี้ว่าเป็น Core Team จะเริ่มให้ความรู้ บางคนที่อยากรู้เรื่องมากหน่อยจะมีคอร์สต่าง ๆ เช่นของตลาดหลักทรัพย์ หรือที่ไหนก็ตาม จะเข้าคอร์สตรงนั้นก็ได้ และพัฒนาความเข้าใจของทีมทำงานแต่ละส่วนของเคทีซีก็กลับไปคุยกับทีมของเขา ตั้งทาร์เก็ตกันเข้ามา เวลาที่เราจะทำแผนไป ทาง Core Team จะเริ่มต้นก่อน ไปส่วนหนึ่งและกลับไปคุยกับแต่ละทีม ทีมจะดูว่าแผนแต่ละปีหรือในระยะยาวของเขาจะทำอะไรกันบ้าง ตอบโจทย์ทางSDได้ไหม อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ก็จะมาคุยกัน จนกระทั่งเข้ารูปเข้ารอย และกลายเป็นแผนธุรกิจในทุก ๆ ส่วนที่พวกเราทำจะค่อย ๆ เข้ามาทีละส่วนทีละส่วน เพราะฉะนั้นจะ Integrate ได้ทั้งหมด อันนี้เป็นวิธีการหนึ่ง ซึ่งทุกแผนกต้องส่งคนในทีมเข้ามาร่วมกันทำงาน แต่ละแผนกจะมีทีมย่อยมาร่วมทำ และกลับมาคุย ตรงนี้ผมว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะส่งเข้าไปในการทำงานของทุก ๆ แผนกในแต่ละปี”

Implement

ในองค์กรเคทีซี มีการทำงานหลากหลายส่วน และที่สำคัญแต่ละส่วนย่อมมีธรรมชาติของงานที่ทำแตกต่างกัน ดังนั้นการที่จะต้องมีเรื่อง SD เข้ามาพร้อมแนวทาง ESG อาจจะเกิดการตั้งคำถามไม่น้อย แต่สำหรับทีม SD แล้วได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“ด้วยความที่เคทีซีชัดเจนมากเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเราไปทำการศึกษาเข้าใจ พยายามคิดว่าจะต่อยอดไปช่วยพี่ ๆ แต่ละสายงานอย่างไรบ้าง เมื่อเวลาที่เราไปสื่อสาร พูดถึงเรื่อง SD เขามองหาอะไร จริง ๆ แล้วมุมมองส่วนตัวเรื่อง SD พี่ ๆ เขาทำอยู่แล้ว เพียงแต่จับมาเป็นคอนเซ็ปต์ให้ชัดขึ้นเมื่อพูดถึงเรื่องความยั่งยืน ไม่ใช่แค่ปัจจุบัน แต่ต้องมองไปยาว ๆ ทำไมมามองเรื่องสิ่งแวดล้อมกับธุรกิจเรา เราต้องมองให้ลึกและกว้างขึ้น ไม่ใช่แค่ตัวเราว่าดีเดี๋ยวนี้พอ แต่ต้องมองบริบททั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น E หรือ S ซึ่งทางทีมก็ทำอยู่อย่างสายโพรดักส์ เวลาจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการอะไรก็ตาม จะรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่นลูกค้า ถือเป็นมุมโซเชียลเหมือนกัน รับฟังแล้ว เรามาสารถมาปิดช่องว่างของลูกค้าได้ไหม”

ดวงกมลเริ่มยกตัวอย่างการทำงาน พร้อมกล่าวต่อเนื่อง หรือบางฝ่ายสงสัยว่า ทำไมมองเรื่องสิ่งแวดล้อมกับเรา ESG ถ้ามองแยก อาจจะไม่เกี่ยวกับเราเลย แต่เราสามารถเอาความเสี่ยงธุรกิจมาจัดหาโอกาสก็จะทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมผสมผสานกับธุรกิจได้ เช่นดิจิทัลอินโนเวชั่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โมบาย คิวอาร์ ลิงก์เพย์ต่าง ๆ ธุรกิจไปด้วยตัวนวัตกรรมดิจิทัล สิ่งที่ตามมาคือการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ฝังอยู่ในตัวธุรกิจ เป็นการลดใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ น้ำ ไฟ หมึก สารเคมีต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกันมาทั้งหมดเลย เมื่อผนวกกับธุรกิจก็คือความยั่งยืนที่แท้จริง เลยทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว แม้กระทั่งการตกแต่งออฟฟิศใหม่ เวลาเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์ก็ต้องมีเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องทุกจุด เป็นสิ่งที่ส่งผ่านพลังว่า สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้ออฟฟิศสวยได้

“SD โดยคอนเซ็ปต์ และธุรกิจ เมื่อมาผสานกัน ทำให้สิ่งที่พี่ ๆ เขาทำอยู่ มาถึงจุดการทำ SD ไม่ใช่เรื่องยาก เราได้สื่อสารชัดเจนว่า นี่ไม่ใช่งานเพิ่ม แต่เป็นงานที่ทำให้งานของทีมชัดเจนขึ้น มีคถุณค่ามากขึ้น เมื่อทีมพี่ ๆเขาไปสื่อสารต่อจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น หากเกิดเหตุการณ์หน้างาน คำหนึ่งที่เราคิดถึงลูกค้า เป็นคำชมคำติ เราสามารนำมาพัฒนาอะไรได้บ้าง จะช่วยเสริมต่อยอดเพื่อสร้างคงวามยั่งยืนของบริษัทได้ เมื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นี่คือสิ่งใหม่ นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์องค์กรจะเข้มแข็งมากขึ้น ทางทีม SD ไม่คิดว่าเป็นเรื่องยาก ค่อย ๆ เรียนรู้ และปรับใช้ว่าใช่ไหม”

Goals

“สำหรับคำถามของ DJSI ยังเป็น 3 ส่วนหลักเช่นปีที่แล้วคือ ESG ปีที่แล้วหมวดเศรษฐกิจจะเป็นแกนเบสิคมาตรฐานองค์กร CG ,Ethic, Relationship กับ Customer เรื่อง ESG Product & Service สิ่งแวดล้อมก็จะไปทาง Climate Change โลกร้อน Net Zero สังคมเป็นเรื่องความเชื่อมโยงภายในภายนอก ส่วนสังคม ปีนี้ผมว่าเราน่าจะทำมากขึ้น เราทำเรื่องความเท่าเทียมกันในบริษัทไปแล้ว(คลิก) ที่นี่มี Diversity สูงมากทั้งเรื่องศาสนา แนวคิด เจน เพศสภาพ แต่เราก็ทำงานได้อย่างดีทุกคนไม่ได้เดือดร้อน ทำให้เราเห็นว่า ความหลากหลาย สามารถสร้างความแตกต่างได้เหมือนกัน นับว่าเป็นข้อดี เรื่องสุขอนามัยในออฟฟิศ ปีที่แล้วดูแลพนักงานให้ได้รับการฉีดวัคซีน และคนที่พนักงานต้องไปติดต่อ รวมถึงการรีโนเวตออฟฟิศ ให้พนักงานออกความเห็นด้วย”

ชุติเดชขยายความต่อเนื่อง ในส่วนสังคม ภายนอก จะเป็นเรื่องการเข้าถึงการเงิน Financial Inclusion อย่างเท่าเทียม เคทีซีมีบริการที่หลากหลาย สินเชื่อใหม่ ๆ สินเชื่อทะเบียนรถ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาหาสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ครอบคลุมเป้าหมายที่ชัดขึ้น ค่าธรรมเนียมอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม จะช่วยให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เคทีซีจะช่วยให้ลูกค้าทำมาหากินอย่างไรให้เขาขายได้ มีหนี้พอตัว ชำระหนี้ได้ มีชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสียลูกเรียนได้ มีการศึกษาที่ดีขึ้นได้

“เมื่อเรื่องความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการทำงานคนเคทีซีแล้ว ความยั่งยืนก็จะต้องเป็นไลฟ์สไตล์แบบนั้นให้ได้ในทุก ๆ การทำงานสำหรับคนเคทีซี ซึ่งการลงมือทำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด” ชุติเดชกล่าวในช่วงท้ายของการพูดคุย

 

You Might Also Like