NEXT GEN

ESG & Sustainability อีก 1 ความท้าทายสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ

25 มกราคม 2564…ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2564-2566) เรื่อง 1 จะเดินหน้าการปลูกฝังการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Cultivation) การเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment)

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ และดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึง กรอบการพัฒนาในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตของประเทศอย่างมีสมดุลทั้งธุรกิจและสังคม (Balanced Growth) รองรับสภาพแวดล้อมของตลาดทุน เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน

คลิกภาพเพื่อขยาย

จากกรอบการพัฒนาสู่ความยั่งยืน 4 ด้าน ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์หลักดังกล่าวข้างต้น เมื่อเข้ามาถึง หัวข้อที่ 3 การขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อม (Environmental Solutions & Social Development) ดร.ภากรกล่าวถึงความสำคัญส่วนนี้ว่า กระแสการลงทุนแบบ ESG มาแรงมาก

คลิกภาพเพื่อขยาย

“เรื่อง ESG เราจะเน้นเรื่องนี้ตามความเหมาะสม มีความหมาย ในแต่ละบริษัทแต่ละขนาด ซึ่งในอุตสาหกรรมจะมี ESG Sustainability ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเหมะสมว่าเขาเหมาะสมที่จะต้องทำอะไรบ้าง และสิ่งที่เขาทำจะต้องเป็นสิ่งที่มีความหมาย โดยจะต้องทำให้บจ.สามารถให้ข้อมูลเหล่านี้ กับนักลงทุน หรือกับคนที่หาข้อมูลดังกล่าวนี้ ไปประเมินต่อได้คือการทำข้อมูลที่เครื่องอ่านได้ อยู่ใน Financial Statement ,Anual Report สามารถไปใช้ทำต่อได้”

ดร.ภากรกล่าวต่อไปว่า การส่งเสริมให้นักลงทุนใช้ข้อมูลดังกล่าวนำไปใช้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ตลท.ทำงานร่วมกับ DJSI,MSCI หรือผู้ประเมินเกี่ยวกับ ESG มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยการใช้ข้อมูลที่เป็น Public Information

คลิกภาพเพื่อขยาย

ดร.กฤษฎาขยายข้อมูลต่อเนื่อง จากการที่ตลท.เริ่มดำเนินการเรื่องนี้มานานบจ.ทำเรื่องนี้ได้ดีซึ่งปัจจุบันติด 1ใน10 ของโลก เพราะฉะนั้นให้แน่ใจว่า เรดาร์การลงทุนในพอร์ตโฟลิโอ นักลงทุนทั่วโลกจะเห็นหุ้นยั่งยืนไทยดีพอสมควร ทั้งบจ.ขนาดใหญ่ และมีบจ.3 ดาว 600 บริษัทถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก แต่เรายังมีประสิทธิภาพต่อยอดได้อีกเพราะเรามีพื้นฐานค่อนข้างดี จาก 700 บจ.ทั้งหมดในตลท.

“เรามีบริษัทที่เป็นหุ้นยั่งยืน 124 บจ.เราทำอินเด็กซ์ความยั่งยืนได้ถึง 58 บจ.อันนี้สำคัญตรงที่การลงทุนของนักลงทุนที่ใช้การลงทุนที่เรียกว่า Actives Strategy จะค้นหาหุ้นได้ด้วยตัวเองในพอร์ตมี 124 บจ. ส่วนนักลงทุน Passive Strategy คือแพคหุ้นตามดัชนี เขาสามารถลงทุนตาม 58 บจ.ได้เลย ตอนนี้แสดงให้เห็นว่า เรื่องการลงทุนเมื่อเรามีหุ้นยั่งยืนมากขึ้น เราสามารถขยายผลิตภัณฑ์ ESG ให้ได้มากอีกทั้งด้าน Equity ,Bond โดยอยู่ภายใต้การรายงานที่เป็น One Report ที่ร่วมมือทำกับก.ล.ต. ยกระดับการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อม สังคม คลี่ออกมาให้นักลงทุนเห็นมากขึ้นเช่น การใช้น้ำ ไฟ หรือสิ่งแวดล้อมสังคมอื่น ๆ รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ถือเป็นการยกระดับครั้งสำคัญของ ESG ของเรา และนักลงทุนทั่วโลกเข้าถึงได้”

ดังได้กล่าวแล้วว่า นับจากนี้ต่อไป นักลงทุนทั่วโลกจะขอดูสิ่งที่เป็น “รูปธรรม” ว่าทำอย่างไร ผลเป็นอย่างไร เมื่อบจ.นั้น ๆ บอกว่าได้ทำเรื่อง ESG ตลท.เปิด 3 แพลตฟอร์มให้บจ.เข้ามาร่วมดูแลภายในบ้านของตัวเองในฐานะผู้ใช้คือ Care the Bear ร่วมดูแลชุมชนรอบข้างผ่าน Care the Whale และร่วมดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับพันธมิตรผ่าน Care the Wild

คลิกภาพเพื่อขยาย

ดร.ภากรขยายความเพิ่มเติมว่า อีกเรื่องหนึ่งที่ตลท.ให้ความสำคัญกับเรื่องมากคือ Social Enterprise หรือ SE โดยตลท.ทำแพลตฟอร์มให้บจ.นักลงทุนต่าง ๆ และ SE มาพบกัน เมื่อทั้งสองมาพบกันจะได้ประโยชน์ทั้งระบบ ไม่ใช่ประโยชน์เฉพาะ SE เท่านั้น แต่เป็นการเชื่อมโยงให้ บจ. SE และชุมชน มาพบกัน

มาถึงอีกงานด้านหนึ่งที่ตลท.จะเดินหน้าอย่างเข้มข้นให้กับประชาชนทุกกลุ่มคือเรื่อง Financial Literacy ดร.ภากรอธิบายถึงเรื่องนี้ว่า

“เรามีของความรู้ต่าง ๆ ที่เราสะสมค่อนข้างมาก เราจะใช้ออนไลน์ก็เผยแพร่ได้ ออฟไลน์จุดเด่นของเราคือการสร้างเทรนเนอร์ ซึ่งเป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ ช่วยในการกระจายความ โดยเราต้องแบ่งให้เหมาะสมทั้งแรงงานในและนอกระบบในการเข้าถึงความรู้ที่อาจจะแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความแตกต่างของตลาดหลักทรัพย์ฯ”

เพราะฉะนั้นในปี 2564 หลังโควิด คนไทยได้ศึกษาเรื่องนี้จะได้ตั้งต้นดูแลตัวเองด้านการเงินการลงทุนได้ดีมากขึ้น โดยมีเรื่องใหญ่ๆ ดังนี้

1.Happy Money @ Workplace เป็นสิ่งที่ตลท.ทำมาตลอดคือว่า รองรับแรงงานในระบบซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนต้องเก็บออม คุมค่าใช้จ่าย ต้องปลดหนี้ พร้อมที่จะมาลงทุน เพื่อสะสมให้เกิดความมั่นคงทางการเงินต่อไป อันนี้เราจะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชนในการนำความรู้นี้ออกสู่สมาชิกของเขา

2.Happy Money @ Village จะเป็นปีแรก ๆ ที่ตลท.จะบุกออกไปในภูมิภาค จะร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความรู้ด้านการบริหารเงินทั้งการเงิน และการลงทุน

“ทั้ง 2 เรื่องข้างต้น เราต้องอาศัยเทรนเนอร์ เราเตรียมที่จะสร้างเทรนเนอร์ไม่ต่ำกว่า 3,000 คนในการที่จช่วยเรา และเราก็หวังว่าหลังโควิด-19 จะสามารถออกไปเจอในแบบออฟไลน์ได้ แต่อย่างไรก็ตามสามารถที่จะเรียบนรู้แบบออนไลนืได้ สามารถตอบสนองตรงนี้ได้เลย”

ดร.กฤษฎาขยายความต่อเนื่องมาสู่ส่วนของเยาวชนที่ทำมานานจากโครงการเพชรยอดมงกุฎที่แข่งขัน เราเก็บความรู้ทางด้านการเงินการลงทุนอย่างลึก เพราะฉะนั้นปี 2564 ตลท.จะทำเป็นแบบ National Test เป็นการประเมินความรู้เยาวชน เพื่อจะได้ดูว่าจุดอ่อนอยู่ที่ใดบ้าง

คลิกภาพเพื่อขยาย

มาถึงบรรทัดนี้ แม้ในภาวะโควิด-19 เศรษฐกิจของประเทศถดถอยลง หลายบจ.มีผลประกอบการทั้งยอดขาย และกำไรอาจจะลดลงบ้าง แต่บจ.เข้าใจเรื่อง ESG มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพราะจากเดิมเป็นเรื่องไกลตัว ต้องทำเรื่องธุรกิจก่อนค่อยไปทำเรื่องสิ่งแวดล้อม

วิธีการสื่อสารของตลท.จะแนะนำว่า ทุกบริษัทมี Value Chain ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่ดูแลให้กระบวนการทำธุรกิจมีประสิทธิภาพ ซึ่งประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ สิ่งนี้เป็นกระบวนการข้างใน ESG ไม่ได้เกี่ยวกับกระบวนการข้างนอกอย่างเดียวเป็นเรื่องกระบวนการข้างในด้วย การนำ Value Chain มาจับ แล้วทุก ๆ ขั้นตอนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำมีผู้มีส่วนได้เสียทั้งใกล้และไกลที่จะต้องดูแล เพราะฉะนั้นการที่บริษัททำธุรกิจอยู่รอดต้องคำนึงถึงเรื่อง ESG & Sutainability ด้วย

 

You Might Also Like