NEXT GEN

การขาดความโปร่งใสทำให้ Sustainability Bond รุ่นแรกของเอเชีย ตรวจสอบไม่ได้ใช่หรือไม่?

29 ตุลาคม 2563…รายงานใหม่จาก Mighty Earth NGO ด้านสิ่งแวดล้อมระดับ Global ที่ทํางานแบบครอบจักรวาลเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานด้านความยั่งยืน พูดถึงโครงการที่สนับสนุนโดยมิชลินสําหรับการตัดไม้ทําลายป่าเพื่อทำอุตสาหกรรมปลูกยางใน Jambi, อินโดนีเซีย และเป็นเวลาไม่กี่ปีหลังจากที่ผู้นำเรื่องยางของโลกแห่งนี้แสดงความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูผืนป่าให้แก่ภูมิภาค

ในปี 2015 มิชลิน ซึ่งเป็นผู้ซื้อยางธรรมชาติลำดับต้น ๆ ของโลก ได้เปิดตัวโครงการ Joint Venture ผลิตยางธรรมชาติ แบบ eco-friendly ในอินโดนีเซีย มีโครงการ Flagship ดําเนินการร่วมกับ Barito Pacific Group ผู้ผลิตสินค้าเกษตรและวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมพลาสติก โดยผสมผสาน ปลูกป่าแบบขั้นบันได บนพื้นที่หน้าดินรวม 88,000 เฮคเตอร์ และมุ่งมั่นที่จะมอบพื้นที่ครึ่งหนึ่งเพื่อ “สร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและพืชผล”

ปี 2018 โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก “พันธบัตรความยั่งยืน” ชุดแรกในเอเชีย มูลค่า 95 ล้านเหรียญสหรัฐ และนําเสนอให้กับนักลงทุนทั่วโลกเพื่อสนับสนุนเป้าหมายแก้ปัญหา Climate Change ของอินโดนีเซีย

Mighty Earth กล่าวหาว่า Barito and Royal Lestari Utama (RLU) บริษัทยางธรรมชาติแบบบูรณาการ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในอินโดนีเซีย และพันธมิตรร่วมทุนของ Michelin ทําลายป่าพื้นถิ่น และสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ปรับผิวดินเพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกสวนยาง จากนั้นจึงขอประชามติจากชาวบ้าน ตามด้วยการลงทุนสําหรับพลิกฟื้นผืนป่ากลับมาครึ่งหนึ่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกังวลคือ พันธบัตรความยั่งยืนได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินทั่วโลกรวมทั้ง BNP Paribas และ ADM Capital ควบคู่ไปกับองค์กร Norway’s International Climate and Forests Initiative , the Global Environment Facility and USAID หลังจากการเปิดตัวแพลตฟอร์มระดับโลกเพื่อยางธรรมชาติอย่างยั่งยืน (GPSNR) ในปี 2019 ที่มีมิชลินเป็นสมาชิก และมีเป้าหมายที่จะช่วยสร้าง “ห่วงโซ่คุณค่ายางธรรมชาติที่เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เพียงปีเดียว

Cr.Mighty Earth Michelin Report

“เรารู้ว่ามีการตัดไม้ทําลายป่าจำนวนมาก และการย่อยสลายของทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่อุปทานยางทั่วโลกเรากําลังสนับสนุน และรณรงค์เพื่อทําให้ภาคนี้โปร่งใส” Alex Wijeratna, ผู้อํานวยการแคมเปญของ Mighty Earth กล่าวกับ Sustainable Brands

มิชลินโต้แย้งข้อกล่าวหาในอีเมล รวมถึงแสดงความจริงใจในการให้ตรวจสอบ “เพื่อเปิดเผยความจริงเบื้องหลังข้อกล่าวหาของ Mighty Earth มิชลินมุ่งมั่นที่จะปฎิบัติตามคําแนะนําใด ๆ ที่คณะกรรมการต้องการให้ปฏิบัติ”

รายงานลงลึกในเอกสาร รายงานสื่อ การสัมภาษณ์ภาคสนามและข้อมูลดาวเทียมที่ให้หลักฐานของการตัดไม้ทําลายป่าอุตสาหกรรมที่เว็บไซต์โครงการ และพื้นที่อยู่ของสัตว์ป่าที่อยู่ติดกันก่อน

ส่วนมิชลินแถลงถึงเรื่อง Joint Venture อุตสาหกรรมยางธรรมชาติคาดว่าจะเติบโตตามความต้องการสําหรับยาง, การใช้งานทางการแพทย์, และสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดเติบโตทั่วโลก

ต้นยางเติบโตในพื้นที่เขตร้อน ซึ่งเป็นพื้นที่หลักของความหลากหลายทางชีวภาพสําคัญที่สุดของโลก ถ้าไม่ตรวจสอบ อาจนําไปสู่การทําลายป่าเพิ่มขึ้น ถ้าโมเดลของ Green Project ทําลายป่าจริง มันก็จะกลายเป็นปัญหา  เมื่อเทียบกับตัวอย่างของการตัดไม้ทําลายป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ พื้นที่ 2,800 เฮคเตอร์กล่าวได้ว่าค่อนข้างเล็ก แต่โครงการนี้ มีความหมายถึงโมเดลการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในภูมิภาค

ย้อนกลับไปในปี 2018 ความสนใจนั้นแตกต่างจากตอนนี้ พันธมิตรสําหรับการทำป่าไม้ทำให้เกิดความคิดริเริ่มของโครงการ “บุกเบิกการปลูกยางธรรมชาติที่ยั่งยืน”

ขณะที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) แถลงว่าโครงการนี้แสดงให้เห็นถึง “วิธีการใหม่เพื่อปลดล็อคการสนับสนุนทางการเงินของเอกชน เพื่อสนับสนุนวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

เห็นได้ชัดว่ามีบางอย่างผิดปกติ ตามที่ Wijeratna กล่าว เป็นสิ่งที่มักจะเป็นปัญหาเมื่อเป็นเรื่องห่วงโซ่อุปทานที่ต้องมีจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นคือ ขาดความโปร่งใส

“เมื่อเรามองลึกเข้าไปในเรื่องนี้ เราไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อตกลงได้ และเราพบว่ามันน่ากลัวจริงๆ” Wijeratna กล่าว

สิ่งที่พวกเขาพบ มาจากรายงานของสื่อท้องถิ่น และความกังวลของชุมชนเกี่ยวกับโครงการ ความกังวลที่มิชลินและผู้สนับสนุนทางการเงิน ทั้งละเลยหรือไม่ตระหนักถึง คือการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

“เรารู้สึกประหลาดใจมากที่ได้พบกับข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยในรายงานเหล่านี้ พวกเขาจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นเรื่องความโปร่งใสมากกว่านี้ ยังไม่ชัดเจนว่า ใครที่สามารถดูข้อมูลของดีลช่วงระหว่างปี 2013-2015 ตอนที่โครงการเริ่มจัดตั้งขึ้น” Wijeratna ย้ำ

Cr.Mighty Earth Michelin Report

ความพยายามในการเข้าถึงองค์กรที่ผลักดันโครงการนี้ ซึ่งรวมถึงความร่วมมือสําหรับการปลูกป่า องค์กร NGO ที่ให้เงินทุน ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อเสนอทางเลือกให้กับธุรกิจในการใช้ที่ดิน และองค์กรอย่าง the Tropical Landscapes Finance Facility ซึ่งช่วยทำให้เกิดพันธบัตรด้านความยั่งยืน ล้วนไม่ประสบความสำเร็จ

องค์กรอย่าง UNEP ให้ความเห็นสอดคล้องกับ RLU โดยระบุชัดเจนว่า Mighty Earth พบว่า “ปราศจากพื้นฐานข้อเท็จจริง” และหลายเรื่องขาดความโปร่งใส

Mighty Earth ยังคงรอการตอบสนองจากสถาบันการเงิน ซึ่งหวังจะมีบทบาทที่หนักแน่นในการผลักดันให้มีความรับผิดชอบที่เชื่อถือได้จากการสนับสนุนเงินทุนแบบ Green Funding

Wijeratna กล่าวว่า “เราต้องการธนาคารและผู้บริจาค เพื่อพูดว่า ขอให้มีการตรวจสอบอิสระ ใส่เอกสารทั้งหมดใน public domain และกําหนดสิ่งที่เราควรรู้ร่วมกัน เรารู้ว่าตลาด Green Bond จะเติบโตสูงมากในช่วงหลายปีนับจากนี้ มันเป็นเรื่องสําคัญจริง ๆ ที่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเหล่านี้ต้องเที่ยงตรง ตรวจสอบได้ และครบถ้วนสมบูรณ์”

Mighty Earth แถลงว่า รายงานนี้ออกมาเพื่อให้ปัญหาสามารถชี้ชัด ก่อนจะใหญ่เกินแก้ เหมือนกับที่เราได้เห็นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นน้ํามันปาล์ม และอุตสาหกรรมไม้
ยังมีโอกาสที่จะแก้ปัญหาระบบเหล่านี้เมื่อมาถึงเรื่องยางธรรมชาติ การดํารงอยู่ของ GPSNR หมายความว่ามีแพลตฟอร์มที่จะผลักดันเรื่องความยั่งยืน และที่สําคัญคือ นำผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาอยู่ด้วยกัน Mighty Earth และมิชลิน ต่างก็เป็นสมาชิกของ GPSNR แต่ทุกๆ องค์กรก็เป็นสมาชิกไม่เกินปีครึ่ง และยังไม่มีกลไกแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง

มันน่าจะคุ้มค่ากับการที่จะรู้ว่า มิชลิน ผู้สนับสนุนเงินทุน และ GPSNR ทั้งหมดตอบสนองต่อรายงานฉบับนี้อย่างไร ถ้าหากมีอะไร เกิดขึ้น ก็จะเป็นสื่งเตือนว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่ส่งเสริมการเป็น Green และมันก็ไม่ได้หมายความว่า ข้อมูลนี้มีความไม่ชอบมาพากลซ่อนอยู่

ที่มา

You Might Also Like