NEXT GEN

2020 ฉันจะมี 5 G

3 เมษายน 2562…ประโยชน์มากกว่าแค่พูดคุยดูหนังบนมือถือ หากใช้หุ่นยนต์เก็บเรียงของในมุมต่างๆ ตามคนสั่ง ใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนในพื้นที่เสี่ยงภัย และดีแทคฟาร์มแม่นยำ เช่น แดดจัดม่านกันแดดปิดให้อัตโนมัติ หากร้อนเซ็นเซอร์พัดลมจะทำงานทันที เป็นการโชว์เคส ดีแทคผนึก ทีโอที CAT ลุยทดสอบ 5G พร้อมหาแนวทางธุรกิจ 

วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นบอก 2020 จะมีโอลิมปิก จะใช้ 5 จี ส่วนอาเซียนทุกประเทศพูดเหมือนกันหมดเลย 2020 ฉันจะมี 5 จีแล้ว เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะไม่ล้าหลัง เรามีการทดสอบทั้งระบบ ทั้งคลื่น แม้กระทั่งการส่งเสริมการลงทุน หากลงทุนที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลทั้งหลายใน EEC และพื้นที่อื่นๆในประเทศ คุณจะได้รับการยกเว้นเสียภาษีโดยไม่จำกัดขั้นสูงสุดว่าลงทุนเท่าใดเป็นเวลา 10 ปี และถ้าลงทุนดิจิตอล พาร์ค บวกอีก 3 ปีเป็น 13 ปี ถือเป็น Incentives เล็กๆ ที่รัฐให้ ตอนนี้กระทรวงกำลังตัดสินใจว่าจะใช้การทดสอบรูปแบบใช้งาน (Use case) ที่เหมาะกับประเทศไทย และเพื่อพัฒนาสู่ 5G อย่างยั่งยืน และหาความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ

อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ดร. มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที (จำกัด) มหาชน พันเอก ดร. สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในการทดสอบ 5G ของทั้ง 3 องค์กร ได้ทำการทดสอบรูปแบบใช้งาน (Use case) ที่เหมาะกับประเทศไทย และเพื่อพัฒนาสู่ 5G อย่างยั่งยืน และหาความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ

ผู้บริหารร่วมแถลงความร่วมมือ 5 G

สำหรับทีโอทีได้ร่วมมือในการทดสอบโดยการนำโครงการเสาอัจฉริยะ หรือสมาร์ทโพล (Smart pole) ซึ่งเป็นเสาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยุค 5G ที่ออกแบบให้ใช้งานโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure sharing) โดย เสาอัจฉริยะ Smart pole นี้จะถูกนำไปทดสอบ 5G Testbed ในพื้นที่ตามที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน กสทช. มาร่วมทดสอบ 5G

ทีโอทีรุกสมาร์ทโพล ต้องตอบโจทย์สมาร์ทซิตี้โครงข่าย 5G เพื่ออุตสาหกรรม
CAT ร่วมทดสอบเซ็นเซอร์ PM 2.5 ฝ่าวิกฤตคุณภาพอากาศด้วย ผ่านโครงข่าย LoRa บนสมมุติฐานของ 5G

ดีแทคได้ยื่นดำเนินการขอนุญาตทดสอบ 5G ต่อ กสทช เป็นที่เรียบร้อย ทั้งข้อเสนอในการใช้คลื่นความถี่ และการทดสอบทั้งแบบ Standalone (SA) ซึ่งเป็นการทดสอบโดยใช้เฉพาะคลื่น 5G และ Non-Standalone (NSA) หรือการทดสอบการทำงานของเทคโนโลยี 5G ร่วมกับ 4G โดยดีแทคจะทดสอบทั้ง การทดสอบในห้องปฎิบัติการก่อนนำสู่การทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง และการทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง เช่น พื้นที่บริเวณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ รวมถึง การทดสอบทางไกล (Remote Testing) เป็นการทดสอบโดยเชื่อมต่อสถานีฐาน 5G จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปยังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลัก ต่างพื้นที่ ในโครงการทดสอบ 5G EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อใช้ทดสอบกรณีใช้คลื่น 5G ต่างพื้นที่ร่วมกัน ตัวอย่างเช่นการรักษาผ่านทางไกล หรือ Smart Healthcare เป็นต้น

อเล็กซานดรา ไรช์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีแทคได้จัดทำโซลูชั่น ฟาร์มแม่นยำ เพื่อเตรียมพร้อมสู่ 5G ที่สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่เกษตรกรของประเทศไทยได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการทำเกษตรกรรมยุคใหม่จะต้องใช้ประโยชน์ของดิจิทัลและความสามารถของ 5G มาต่อยอดเพื่อทำรายได้เพิ่มมากขึ้น และยังเตรียมยกระดับสู่โซลูชั่นฟาร์แม่นยำ หรือ Precision Farming แบบเรียลไทม์ด้วยการใช้โดรน 5G ต่อไป

ท้ายที่สุด ความร่วมมือทั้งสามนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ
  2. การนำความรู้มาร่วมกัน (Knowledge sharing) โดยการนำความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่ายมาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน
  3. การแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน (Experience sharing) ทำให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่แต่สามารถนำประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

You Might Also Like