NEXT GEN

จากการกำกับดูแล CSR สู่ ESG นับจากนี้ “บทบาทใหม่”บอร์ดบริษัทคือ Purpose Governance

4 มกราคม 2564…ปัจจุบัน ทั้งคณะกรรมการบริษัท หรือบอร์ด คณะจัดการ และที่ปรึกษาที่บริษัทจ้างมา ต้องเชี่ยวชาญในการกํากับดูแล Purpose ซึ่งจะนําองค์กรของพวกเขาไปสู่เส้นทางที่ทํางานได้จริง สร้างคุณค่าแก่บริษัท และสังคมที่พวกเขาดำเนินธุรกิจอยู่

Purpose เป็นเสมือนการได้รับฉันทานุมัติให้ทํากําไร เป็นเหตุผลที่บริษัทดำรงอยู่ Social Purpose ในธุรกิจได้กลายเป็นแนวโน้มของ Global Business

คําถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใหม่นี้: บอร์ดช่วยให้มั่นใจว่า Purpose ของบริษัทเหมาะสมสำหรับอนาคตอย่างไร พวกเขากํากับดูแล Purpose ขององค์กรอย่างไร?คณะกรรมการรับประกันได้อย่างไรว่า Purpose จะเป็นกลไกขับเคลื่อนกลยุทธ์และวัฒนธรรมขององค์กร และพวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่า Purpose นั้นมีประสิทธิภาพและนําไปใช้จริงหรือไม่? อะไรคือแรงผลักดันเทรนด์เกี่ยวกับ Purpose ขององค์กร และด้วยเหตุใด?

คําตอบสําหรับคําถามเหล่านี้ สืบค้นได้ในรายงาน Governance Professionals of Canada (GPC) ซึ่งอิงข้อมูลจากการอภิปรายระดับชาติครั้งแรกในหัวข้อนี้ มาจากการประชุมสุดยอดการกํากับดูแลกิจการแห่งชาติปี 2020

ในเวลานี้ เพื่อให้เป็นเกราะปกป้องที่มีประสิทธิภาพขององค์กร บอร์ดและที่ปรึกษาด้านการกํากับดูแลของบริษัท ต้องชัดเจนว่าความหมายของ Corporate Purpose คืออะไร การมองภาพกว้างของการกํากับดูแล Corporate Purpose

สิ่งสำคัญที่สุด คือ บทบาทของคณะกรรมการบริษัท โดยแต่ละคนจําเป็นต้องมีส่วนร่วมในการกําหนดเหตุผลที่องค์กรต้องดำรงอยู่ และทำให้แน่ใจว่า Purpose นำไปปรับใช้ได้จริง

ทั้งนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีคณะกรรมการบริษัทหรือบอร์ดจำนวนมาก ได้รับการร้องขอให้นําการกํากับดูแล CSR มาใช้ จากนั้นก็เป็นการกํากับดูแลเรื่อง ESG ส่วนตอนนี้เป็นการกํากับดูแล Purpose หรือการทำ Purpose อย่างโปร่งใส (Purpose Governance)

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การให้ความสำคัญกับเรื่อง Purpose Governance กําลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวลาที่คณะกรรมการบริษัท และคณะจัดการมุ่งความสนใจไปที่เรื่อง COVID-19 และปัญหาอื่น ๆ เช่น การเหยียดผิว และความไม่เท่าเทียมที่แพร่หลาย

เรามาดูตัวอย่างข้อมูล ที่น่าสนใจของรายงาน GPC ไปพร้อมกันในตอนท้ายเรื่อง

-“Purpose เกี่ยวกับกําไร” กำลังถดถอย ขณะที่ “Social Purpose” กําลังเพิ่มขึ้น
– Social Purpose สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งต้องจัดการความเสี่ยงที่หลากหลาย มาสู่การทำ Social Purpose ที่มีเหตุผลว่า การทำต้องสอดคล้องกับสังคมที่ต้องการให้บริษัทดำรงอยู่
-เมื่อคณะกรรมการบริษัทปรับใช้ หรือตอกย้ำ Corporate Purpose ต้องให้แน่ใจว่ามันถูกฝังอยู่ในกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงบังคับใช้การกํากับดูแลในภาพรวม เรื่องนี้จําเป็นต้องปรับปรุงเอกสารการกํากับดูแลให้โปร่งใส
-ผู้เชี่ยวชาญด้านการกํากับดูแล มีบทบาทสําคัญในการยกระดับการกํากับดูแล Purpose ร่วมกับคณะกรรมการบริษัท และคณะจัดการ และต้องทำให้มั่นใจว่า ผู้นําสามารถมี Best Practices ด้านธรรมาภิบาลดีที่สุดต่อเนื่องตลอดเวลา
-คณะกรรมการบริษัทหรือบอร์ด มีบทบาทสำคัญในการกําหนดระดับสูงต่ำสําหรับการส่งมอบตาม Purpose – ความจำเป็นของคุณค่า และกรอบการตัดสินใจ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจดําเนินไปตามกรอบอย่างถูกต้อง

ที่มา

 

You Might Also Like