NEXT GEN

“การปฏิวัติความยั่งยืน” คาดเม็ดเงินลงทุนลดโลกร้อนจะมีมูลค่าถึง 173 ล้านล้านบาท/ปี

27 สิงหาคม 2563…ที่ไหนมีเม็ดเงินลงทุน ที่นั่นมี Growth ชี้โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ และภาคการลงทุนจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธุรกิจที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุน 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 173 ล้านล้านบาทต่อปี ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไปจนถึงปี พ.ศ. 2573

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมนักลงทุน เมื่อเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ Climate Change Fund นักลงทุนบุคคลธรรมดา หรือนักลงทุนสถาบันย่อมอยากซื้อหุ้นที่เป็นผู้ชะ

ทำไมเงินจำนวนมาก จึงไปอยู่ในเรื่อง Climate Change ?

Climate Change เราตระหนักเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด ? หรือตระหนัก แต่ก็มี 3 เหตุผลที่เราคิดว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องเพราะ

1.เราไม่ใช่คนปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2.ผลกระทบที่เกิดขึ้นไกลตัวมาก น้ำแข็งละลายตัวที่ขั้วโลกอย่างนี้ พายุเฮอริเคนอย่างนี้ แม้กระทั่งในเมืองไทยน้ำท่วม ก็ไม่ได้ท่วมกรุงเทพฯ เกิดภัยแล้ง เป็นปัญหาของเกษตรกร เพราะที่บ้านก็ยังมีน้ำประปาใช้อยู่ ไปห้าง ไปที่ทำงานก็ยังมีน้ำใช้อยู่ ส่วนการเกิดไฟป่า ก็อยู่ในป่า เราอยู่ในเมือง
3.อย่างไรก็ตาม แม้จะตระหนักรู้เรื่อง Climate Change คำถามคือ จะให้ทำอะไร ไปปลูกป่าโกงกาง ทำไปแล้วได้อะไรหรือ?

“อาจจะกล่าวได้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกซ์สูงสุด 4 อันดับแรก ระบบการผลิตไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม การเดินทางและคมนาคมขนส่ง กระบวนการผลิตอาหาร หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยออกมาในอัตราเดิมไปจนค.ศ 2100 อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 3-6 องศาเซลเซียส แล้วเราเกี่ยวตรงไหน เราทุกคนเกี่ยวข้องกับตั้งแต่ตื่นนอน ใช้ไฟและใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง การเดินทาง แม้กระทั่งการทานอาหาร ซึ่งทุกครั้งที่ปล่อย CO2 เท่ากับการสร้างก๊าซเรือนกระจก”

ตามข้อตกลงปารีส จะต้องสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยและการมีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจก (Net-zero) เพื่อหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปีพ.ศ. 2593  หากทำสำเร็จ ความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะลดลง 10 เท่า

จิรวัฒน์ เล่าถึงข้อมูลปัญหา การพยายามแก้ไข ที่จะลด Climate Change ซึ่งจะมีโอกาสการลงทุนในยุคการปฏิวัติความยั่งยืน

จิรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืน (The Sustainability Revolution) และเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบที่สามารถสร้างความเติบโตโดยไม่ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้กับโลก เพื่อมุ่งสู่ CLIC Economy ซึ่งย่อมาจาก

-Circular คือการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน
-Lean คือการลดความสูญเปล่าหรือใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
-Inclusive คือความเท่าเทียมกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
-Clean คือเศรษฐกิจบนสิ่งแวดล้อมสะอาด

“การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืนครั้งนี้ จะแบ่งแยกระหว่างธุรกิจที่เป็นผู้ชนะหรือกลุ่มที่ตระหนักและปรับตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ และผู้แพ้หรือกลุ่มที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะถูกจำกัดการดำเนินธุรกิจ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภค และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในที่สุด”

“การพัฒนาความยั่งยืน” ถือเป็น Requirement ของโลก เป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งของนักลงทุนในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว

1ในมิติด้านความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์ของการลงทุนคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Transition เนื่องจากมีผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและเพิ่มความเสี่ยงแก่ธุรกิจที่ยังคงอิงกับอุตสาหกรรมหนักแบบเก่าอย่างมหาศาล ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสเติบโตให้ธุรกิจในรูปแบบใหม่อย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกัน โดยเป้าหมายร่วมของโลกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 50% ภายในปี พ.ศ. 2573 หมายถึงโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า

การบรรลุเป้าหมายในการลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต้องอาศัยทั้งการสร้างสรรค์เทคโนโลยีสะอาด ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมหนักที่ยังมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนมากขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนหลัก 4 ประการ คือ

1.นโยบายจากภาครัฐ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในทางสะอาดและควบคุมธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น 2.การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon credit) ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น
3.ผู้บริโภค ที่มีความตระหนักรู้ต่อสถานการณ์และหลีกเลี่ยงการใช้สินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4.เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและมีราคาถูกลง เอื้อให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรไปพร้อมๆ กับความยั่งยืนได้
5.เงินของนักลงทุน ที่จะสนับสนุนบริษัทที่มุ่งสู่ความยั่งยืน

ลอมบาร์ด โอเดียร์ (Lombard Odier) ผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 220 ปี พันธมิตรของ KBank Private Banking ได้แบ่งธุรกิจที่มีศักยภาพไว้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่มีการจำกัดปริมาณคาร์บอน (Carbon-constrained world) ได้แก่ ธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Solution provider) โดยตรง เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ให้การใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

2.ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่ได้รับความเสียหายจากคาร์บอน (Carbon-damaged world) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากภาวะโลกร้อน เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น และธุรกิจที่วิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงด้านการเงินจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

จิราวัฒน์ กล่าวต่อเนื่อง KBank Private Banking มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ผ่านการบริการบริหารความมั่งคั่งครบวงจร ล่าสุดออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Climate Change โดยตรง

-กองทุน K Climate Transition

มีการลงทุนในหุ้นประมาณ 40 – 50 ตัว บริหารจัดการกองทุนโดย Lombard Odier กองทุนหลัก คือ LO Funds – Climate Transition, (USD), I Class A (กองทุนหลัก) เป็นกองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกองทุนแรกและหนึ่งเดียวของไทย มุ่งเน้นลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาใกล้ตัวและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจากธุรกิจหลากหลายทั่วโลก เพราะเราเชื่อว่าธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีและยั่งยืนกว่าธุรกิจที่เมินเฉยสิ่งเหล่านี้ โดยจะเปิดขายIPO ครั้งแรกในช่วงวันที่ 1 ถึง 15 กันยายน นี้

กระจายการลงทุนทั้ง 3 ช่อง โดยช่องแรกจะมีหุ้นที่น่าสนใจอยู่ค่อนข้างมาก

ก่อนหน้านี้มี 2 กองทุนที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน แบบเปลี่ยนโลก

-กองทุน K-CHANGE เน้นลงทุนในธีมธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในหลายมิติ เช่น สุขภาพ และความเท่าเทียม มีผลตอบแทน YTD +49% มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 2,700 – 2,900 ล้านบาท

-กองทุน K-HIT เน้นลงทุนในเมกะเทรนด์ของโลก เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ยานยนต์แห่งอนาคต และเทคโนลยีสุขภาพ มีผลตอบแทน YTD +15% มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท

ยุคการปฏิวัติความยั่งยืน นับจากนี้ไปถึง 2-3 ทศวรรษ ทุกธุรกิจจะมุ่งเป็น Carbon Neutral หมายถึง การซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์ หรือ เหตุการณ์ หรือ บุคคลเพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์ หรือ เหตุการณ์ หรือ บุคคล เท่ากับศูนย์ เหล่านี้คือ “ธุรกิจผู้ชนะ” และเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องการ

 

You Might Also Like