NEXT GEN

Low-Carbon Building & Home ตึกสูง บ้านอยู่สบาย แต่คาร์บอนต่ำ ทำอย่างไร?

24 พฤษภาคม 2567…ปัจจุบันอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม 1.17 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปีละ 80,000 ล้านบาท ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่า “อาคาร” เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 40% นับจากการก่อสร้างที่ต้องใช้ทรัพยากรมากมาย จนเมื่อตึกสร้างแล้วเสร็จก็ยังต้องใช้พลังงานอีก

ดังนั้นเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย หรือที่เรียกกันว่า “อาคารเขียว” จึงเกิดขึ้น ซึ่งมาจากคำว่า TREES มีกลุ่มที่เป็นหัวข้อบังคับ 9 ข้อ หมวดหลัก 8 หมวด และ ข้อย่อย รวมทั้งหมด 46 ข้อ โดยแต่ละข้อจะมีค่าคะแนนที่แตกต่างกันออกไป

ถึงแม้เกณฑ์ต่างๆ จะมีการกำหนดมาตรฐานว่าอาคารควรจะใช้พลังงานเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมก็ตาม แต่การที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero ภายในปี 2065 ตามที่รัฐบาลไทยได้ประกาศใน COP 26 ได้นั้นจำเป็นต้องลดจากค่ามาตรฐานดังกล่าวลงอีกครึ่งหนึ่ง

เอสซีจีในฐานะผู้นำโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีกว่าจึงพยายามคิดค้นเส้นทางที่จะนำไปสู่ Net Zero Building โดยที่ผ่านมาจับมือกับคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำไกด์ไลน์เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานเผยแพร่ต่อสาธารณะชน

วชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution ธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง กล่าวว่า ก่อนที่จะก้าวไปถึงเป้าหมาย Net Zero Building นั้นระหว่างทางที่เราเดินอยู่ทุกวันนี้ยังเป็นสเตปของการทำอาคารคาร์บอนต่ำ หรือ Low-Carbon Building & Home ซึ่งเจ้าของบ้านหรือผู้ก่อสร้างอาคารจะต้องรู้ก่อนว่าองค์กรปล่อยคาร์บอนจำนวนเท่าไหร่ต่อปีเพื่อทำ Baseline จากนั้นตั้งเป้าหมายการลดคาร์บอน ตามด้วยกระบวนการลดการปล่อยคาร์บอน, ตรวจสอบข้อมูล , การชดเชยคาร์บอน และจัดทำรายงาน

“อาคารหนึ่งหลังปล่อยคาร์บอนออกเป็น 2 ช่วง คือ คาร์บอนที่เกิดจากการก่อสร้าง และคาร์บอนที่เกิดจาการใช้อาคารเมื่อถูกสร้างแล้วเสร็จ หัวใจสำคัญของการทำ Low-Carbon Building จำเป็นต้องทำทั้ง 2 ช่วง โดยไปลดคาร์บอนตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุคาร์บอนต่ำ รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่ว่าเมื่อตึกสร้างเสร็จแล้วจะได้ลดการใช้พลังงาน เพราะอย่าลืมว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานหมดไปกับเครื่องปรับอากาศ”

สำหรับตึกที่สร้างเสร็จอาจตั้งคำถามว่าจะเป็น Low-Carbon Building & Home ได้หรือไม่ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยากและสามารถทำได้ทันที ด้วยการติดตั้ง Solar Roof และ Air Scrubber ระบบบำบัดอากาศเสีย ลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ และประหยัดพลังงานได้ 20-30%

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุดของ Low-Carbon Building & Home ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนก่อสร้าง ซึ่ง เอสซีจี ก็มีนวัตกรรมด้านบริหารจัดการอาคารภายใต้แบรนด์ ONNEX by SCG Smart Living ให้บริการ end-to-end Smart Living Solution ตั้งแต่ให้คำปรึกษาออกแบบและก่อสร้างอาคาร, จำหน่ายติดตั้งเครื่องกำเนิดพลังงานสะอาด, บริหารจัดการลดพลังงานในอาคาร, ปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคาร, สมาร์ทโซลูชั่นจัดการอาคาร และสมาร์ทโฮมโซลูชั่น

นอกจากนี้ยังมี KITCARBON แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี Digital & BIM เข้ามาช่วยคำนวณ Embodied Carbon ของโครงการ ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบกระบวนการก่อสร้าง และการเลือกใช้วัสดุ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันเอสซีจีพัฒนาวัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำหรือ Carbon Foot Print Product อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นปูนคาร์บอนต่ำ ,หลังคาคอนกรีตที่ปัจจุบันลดคาร์บอนได้ 140 kgCoต่อ 120 ตารางเมตรคิดเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลง 14% เมื่อเทียบกับหลังคาคอนกรีตทั่วไป และวางเป้าว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะลดลง 26% หรือคิดเป็น 254 kgCoรวมถึงไม้พื้นคาร์บอนต่ำ และผนังตกแต่งรุ่น โมดิน่า คอฟฟ์ที่ผลิตจากกากกาแฟของคาเฟ่อเมซอนและวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ เป็นต้น

วชิระชัย กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากจะทำให้ประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำแล้ว การประหยัดพลังงานก็เท่ากับประหยัดเงินในกระเป๋าเราไปด้วย

 

You Might Also Like

No Comments

Leave a Reply