NEXT GEN

ภาพแม่น้ําดานูปในยุโรปแห้งผาก … อาจเป็น New Normal

12 ตุลาคม 2565…ตามเส้นทางในตำนาน-แม่น้ำดานูป-คดเคี้ยวราวงูเลื้อย เป็นระยะทาง 1,800 ไมล์ จาก Black Forest ในเยอรมนีไปถึง Black Sea ในโรมาเนีย ผ่านเมืองต่าง ๆ เช่น Zimnicea ท่าเรือเล็ก ๆ ในโรมาเนีย บนชายแดนบัลแกเรีย ซึ่งขึ้นอยู่ว่ากระแสน้ำจะไปทางไหน

แต่ความแห้งแล้งครั้งใหญ่ในฤดูร้อน และอุณหภูมิสูงสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีสภาพแบบนี้ 5 เดือนเข้าไปแล้ว ได้ทําลายแม่น้ําดานูบที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่ไปแล้ว โดยทุกสิ่งที่ชาว Zimnicea เคยมี  คนงานท่าเรือ เกษตรกร อุตสาหกรรมการขนส่งนักตกปลา เจ้าของร้านอาหารและครอบครัว  ซึ่งสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ไม่เคยมีครั้งใดในความทรงจําที่ต้องมีชีวิตกระเสือกกระสนเหมือนตอนนี้ เมื่อต้องเห็นภาพก้นแม่น้ำ ซึ่งมีแต่โคลนตามแนวชายฝั่งของ Zimnicea, รวมถึงซากหอย ที่กลายเป็นรูปธรรมหลักฐานชีวิตในแม่น้ำที่เปลี่ยนไป

ด้วยปริมาณน้ำที่ไหลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณตามปกติในช่วงฤดูร้อน ทำให้เรือบรรทุกสินค้าหลายสิบลําต้องจอดบริเวณท่าเรือ Zimnicea รอใช้พื้นที่ช่องเดียว ที่ลึกพอสําหรับการเดินเรือ ขณะที่ชาวบ้านกําลังรวบรวมน้ําฝน เพื่อใช้ในครัวเรือน จากการที่แทบไม่สามารถใช้น้ำจากแม่น้ําดานูบซักล้างทำความสะอาดอีกต่อไป

ที่มาภาพ คลิก

เช่นเดียวกับที่อื่น ๆ ตามแนวฝั่งแม่น้ําดานูบ และแน่นอนว่า เป็นแบบนี้ทั่วยุโรป ทีมฉุกเฉินถูกเรียกให้มาทำงานขุดลอก ก้นแม้น้ำให้ลึกลงไปกว่าเดิม เพื่อแก้ปัญหาเรือไม่สามารถแล่นผ่าน อย่างไรก็ตามการขนส่งข้าวที่เล็ดลอดออกมาจากยูเครน จากท่าเรือที่ Black Sea หลายแห่งที่รัสเซีย แม่น้ําดานูปถือว่าเป็นเส้นทางทางเลือกสําหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามทั้งนี้ เรือส่งออกอาหารถูกบังคับให้ลดน้ำหนักสินค้า เพื่อให้สามารถแล่นผ่าน เทียบกับเมื่อก่อนที่ผ่านได้เลย

ตลอดช่วงตอนใต้ของโรมาเนีย ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากแม่น้ําดานูบเพื่อบริโภค หลายร้อยหมู่บ้านกําลังปันส่วนน้ํา และลดการชลประทานของพื้นที่เพาะปลูกที่ยุโรปพึ่งพา เช่น ข้าวโพด เมล็ดพืช ทานตะวัน และผัก เรือสําราญที่ปกติแล้วจะนำนักท่องเที่ยวล่องไปตามแม่น้ําได้แต่จอดนิ่งเทียบท่า

ช่วงหกเดือนแรกของปี 2565 Hidroelectrica ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังน้ําของโรมาเนียผลิตกระแสไฟฟ้าน้อยกว่าปกติถึงสามเท่า และเกษตรกรข้าวสาลีโรมาเนียกล่าวว่า ภัยแล้งทำให้การเก็บเกี่ยวของพวกเขาเสียหายไปราว 20% ทั้งนี้ โรมาเนียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตข้าวสาลีใหญ่ที่สุดของยุโรป และสําคัญมากขึ้นสําหรับตลาดต่างประเทศ หลังจากรัสเซียบล็อคการส่งออกข้าวสาลีของยูเครน

“เมืองต่างๆ ทั้งด้านบนและล่างของแม่น้ําดานูบ ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและภาวะโลกรวนอย่างมาก” นิค ธอร์ป ผู้เขียน The Danube: A Journey Upriver จากทะเลดําสู่ป่าดําอธิบาย “ขณะที่ชาวเมืองก็กําลังเผชิญภัยพิบัติโดยตรง แบบหันหน้าไปพึ่งใครก็ไม่ได้”

เกือบสองในสามของยุโรปประสบภาวะภัยแล้งในปีนี้ เป็นความแห้งแล้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 500 ปี และนักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่าภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยหลักในวิกฤติดังกล่าวนี้ คลื่นความร้อนได้สร้างหายนะให้กับทางน้ําหลายแห่งของทวีปทั้งใหญ่และเล็ก ตั้งแต่แม่น้ำลัวร์ไปจนถึงแม่น้ำไรน์ โดยส่งผลกระทบกว้างขวาง ทั้งต่อการจัดส่งอาหาร การค้า การมีน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ระบบพลังงาน และนิเวศวิทยาของยุโรป ยิ่งกว่านั้นนักวิทยาศาสตร์ยังเตือนด้วยว่า หากฤดูร้อนที่ร้อนมากและแห้งแล้ง กลายเป็นแนวโน้มระยะยาว เส้นทางน้ำที่มีปัญหาเหล่านี้บางแห่ง อาจฟื้นตัวไม่ได้เลย

ที่มาภาพ คลิก

ตามชายฝั่งแม่น้ําไรน์ เรือบรรทุกถ่านหิน น้ํามัน และสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผู้คนนับล้านรออยู่จะถูกทิ้ง ในเดือนกรกฎาคมระดับน้ำในแม่น้ำ Po ของอิตาลี มีระดับต่ำมากจนรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทางตอนเหนือ โดยพื้นที่เกษตรกรรมมากมายถูกทิ้ง ในฝรั่งเศส กระแสน้ําอุ่นจากแม่น้ำ Rhône และ Garonne ไม่สามารถทําให้ระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เย็นลงได้อีกต่อไป ทําให้โรงงานหลายแห่งต้องปิดตัวลง และแควหลายร้อยสายสู่แม่น้ําสายใหญ่ก็อยู่ในสภาพที่แย่กว่านั้น คือ แห้งผาก

ช่วงต้นเดือนสิงหาคม Élisabeth Borne นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสอยู่ท่ามกลาง “ภัยแล้งรุนแรงที่สุด” ที่ประเทศเคยประสบมา ส่งผลให้ขณะนี้เทศบาลหลายร้อยแห่ง ใช้รถบรรทุกส่งน้ําดื่มให้ประชาชนแล้ว

ที่มาภาพ คลิก

“ปีนี้ความรุนแรงและระยะเวลาของภัยแล้งหนักหนาสาหัสกว่าเดิม แต่ถึงกระนั้นมันก็เป็น New Normal” Karsten Rinke จากศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม Helmholtz ของเยอรมนี (UFZ) กล่าว “ยุโรปขาดแคลนน้ำมากขึ้น ยิ่งเลวร้ายลงทุกปี และแก้ไขไม่ได้เลย”

Rinke กล่าวว่าสภาพภัยแล้งช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทําให้น้ําใต้ดินลดลง ธารน้ําแข็งที่หล่อเลี้ยงแม่น้ําก็หดตัวลงอีก เปลี่ยนภูมิทัศน์ที่หล่อเลี้ยงชุมชน และระบบนิเวศมายาวนาน

“ปีนี้ สิ่งที่น่าตกใจที่สุด คือ ขอบเขตของระดับน้ำที่ต่ำทั่วทั้งลุ่มน้ำดานูป ตั้งแต่บาวาเรียไปจนถึงทะเลดํา” โทมัส เฮน จากมหาวิทยาลัยทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต เวียนนากล่าว

“แม่น้ำทั้งสายได้รับผลกระทบ ซึ่งหมายความว่าเราไม่สามารถสูบน้ำจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งเพื่อชดเชยการขาดแคลนได้”

โรเบิร์ต ลิชท์เนอร์ ผู้ประสานงานยุทธศาสตร์สําหรับพื้นที่แม่น้ำดานูปของสหภาพยุโรป กล่าวว่า ท้ายที่สุด การปรับตัวอย่างเอาจริงเอาจัง ต้องถูกนำมาใช้ และจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนกำหนดอนาคตของลุ่มน้ำ

“เราต้องการชะลอปัญหารขาดน้ำลง แต่ปัญหาสภาพอากาศที่รุนแรงจะไม่หายไป เราต้องปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน”

ที่มา

 

You Might Also Like