NEXT GEN

พบ “ไมโครพลาสติก” ในเลือดมนุษย์ครั้งแรก !

12-15 เมษายน 2565…ตรวจพบมลพิษไมโครพลาสติกในเลือดมนุษย์เป็นครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบอนุภาคขนาดเล็กในเกือบ 80% ของผู้คนที่ทำการทดสอบ

การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าอนุภาคสามารถเดินทางรอบร่างกายและอาจติดอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ แม้ยังไม่สามารถระบุชัดถึงผลกระทบต่อสุขภาพ แต่นักวิจัยกังวลว่าไมโครพลาสติกจะสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ของมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ และ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อนุภาคมลพิษทางอากาศจะเข้าสู่ร่างกาย และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรหลายล้านคนต่อปี

ขยะพลาสติกจำนวนมากถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม และในปัจจุบันไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปทั่วโลก ตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปจนถึงมหาสมุทรที่ลึกที่สุด เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้คนบริโภคอนุภาคเล็ก ๆ ผ่านทางอาหารและน้ำ เช่นเดียวกับการหายใจเข้าไป และพบพวกมันในอุจจาระของทารกและผู้ใหญ่

Cr.freepik

นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากผู้บริจาคนิรนาม 22 ราย เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งหมด และพบอนุภาคพลาสติกใน 17 ตัวอย่าง ครึ่งหนึ่งของตัวอย่างมีพลาสติก PET ซึ่งมักใช้ในขวดเครื่องดื่ม ขณะที่กลุ่มที่สามประกอบด้วยโพลีสไตรีน ใช้สำหรับบรรจุอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ 1 ใน 4 ของตัวอย่างเลือดมีโพลิเอทิลีนซึ่งใช้ทำถุงพลาสติก

Prof. Dick Vethaak นักนิเวศวิทยาด้านพิษวิทยาจาก Vrije Universiteit Amsterdam ในเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า ผลการศึกษา ชี้ชัดเป็นครั้งแรกว่า มีอนุภาคโพลีเมอร์ในเลือดของเรา เป็นผลลัพธ์แสดงถึงความก้าวหน้า

Cr.Dick Vethaak (@DickVethaak) / Twitter

“แต่เราต้องขยายการวิจัยและเพิ่มขนาดตัวอย่าง จำนวนโพลีเมอร์ที่ประเมิน ทั้งนี้ การศึกษาเพิ่มเติมโดยกลุ่มต่าง ๆ กำลังดำเนินการอยู่  การค้นพบนี้เป็นเรื่องต้องกังวล มีอนุภาคเล็ก ๆ อยู่จริง และถูกลำเลียงไปทั่วร่างกาย”

เขากล่าวว่า ผลการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกในอุจจาระของทารกสูงกว่าผู้ใหญ่ถึง 10 เท่า และทารกที่ถูกป้อนอาหารด้วยขวดพลาสติก ก็มีโอกาสกลืนอนุภาคไมโครพลาสติกนับล้านต่อวัน

“โดยทั่วไป เราล้วนทราบกันดีว่า ทารกและเด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีและอนุภาคมากกว่า นั่นทำให้ผมกังวลมาก”

งานวิจัยชิ้นใหม่นี้ตีพิมพ์ในวารสาร Environment International และปรับเทคนิคที่มีอยู่เพื่อตรวจจับและวิเคราะห์อนุภาคที่มีขนาดเล็กเพียง 0.0007 มม. ตัวอย่างเลือดบางส่วนมีพลาสติกสองหรือสามประเภท ทีมงานใช้เข็มฉีดยาเหล็กและหลอดแก้วเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน

Vethaak ยอมรับว่าปริมาณและชนิดของพลาสติกแตกต่างกันมากในตัวอย่างเลือด “แต่นี่เป็นการศึกษาชุดบุกเบิก” เขากล่าว โดยขณะนี้จำเป็นต้องทำงานมากขึ้น เขากล่าวว่าความแตกต่างอาจสะท้อนถึงการสัมผัสในระยะสั้นก่อนที่จะมีการเก็บตัวอย่างเลือด เช่น การดื่มจากถ้วยกาแฟที่บุด้วยพลาสติก หรือการสวมหน้ากากพลาสติก

“คำถามใหญ่คือ อะไรกำลังเกิดขึ้นในร่างกายของเรา? อนุภาคยังคงอยู่ในร่างกายหรือไม่? พวกมันถูกลำเลียงไปยังอวัยวะบางอย่าง เช่น ทะลุเข้าไปในสมองหรือไม่ ระดับเหล่านี้สูงพอที่จะทำให้เกิดโรคหรือไม่ ? เราจำเป็นต้องให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มเติมเร่งด่วน เพื่อหาคำตอบให้ได้”

งานวิจัยชิ้นใหม่นี้ได้รับทุนจากองค์กร Dutch National Organization for Health Research and Development และ Common Seas ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสังคมที่ทำงานเพื่อลดมลภาวะพลาสติก

Jo Royle ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Common Seas กล่าวว่า การผลิตพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2040

“เรามีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าพลาสติกทั้งหมดนี้กำลังทำอะไรกับร่างกายของเรา”

Common Seas จับมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิทยาศาสตร์ และสมาชิกรัฐสภามากกว่า 80 แห่ง กำลังร้องขอให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรจัดสรรเงิน 15 ล้านปอนด์เพื่อการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์จากพลาสติก สหภาพยุโรปได้อนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อทารกในครรภ์และทารกและต่อระบบภูมิคุ้มกันแล้ว

Cr.คลิกที่ภาพ

ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า ไมโครพลาสติกสามารถเกาะติดกับเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงชั้นนอกและอาจจำกัดความสามารถในการขนส่งออกซิเจน นอกจากนี้ยังพบอนุภาคในรกของหญิงตั้งครรภ์และในหนูที่ตั้งครรภ์ อนุภาคเหล่านี้จะผ่านเข้าไปในปอดอย่างรวดเร็วไปยังหัวใจ สมอง และอวัยวะอื่นๆของทารกในครรภ์

ข้อมูลผลการศึกษาล่าสุด Vethaak ประเมินความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง รวมถึงสรุปว่า: การวิจัยมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าพลาสติกไมโครและนาโน ส่งผลต่อโครงสร้างและกระบวนการของร่างกายมนุษย์อย่างไร เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร จนกระทั่งกระตุ้นให้เกิดสารก่อมะเร็ง เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องศึกษาเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองจากการผลิตพลาสติกที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ ส่งผลให้ความรุนแรงของปัญหากลายเป็นเรื่องเร่งด่วนไม่แพ้กันขึ้นทุกวัน

ที่มา

You Might Also Like