CIRCULAR ECONOMY

CEO เอสซีจี ฟันธง 1 ในธุรกิจดาวเด่นต้องเกี่ยวข้อง Sustainability & Circular Economy

5 กุมภาพันธ์ 2564…ใครที่มุ่งเน้นไปตรงนี้ได้ มีความรวดเร็ว และความสามารถในการตอบโจทย์ลูกค้าใน “ราคาที่ไม่แพง” ทุกBUของเอสซีจี +SCGP มุ่งตรงเรื่องนี้ ล่าสุด SD Perspectives เห็นจากต้นน้ำธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี สร้าง  Circular Plas สตาร์ทอัพ พัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลมุ่งสู่“ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemicals Business for Sustainability)

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวกับ SD Perspectives พร้อมสื่ออื่น ๆ ถึง ธุรกิจดาวเด่นที่เอสซีจีมองเห็นชัดเจนที่ต้องมาแน่นอน คือเรื่องเกี่ยวข้อง Sustainability & Circular Economy และเรื่องเกี่ยวข้องเทคโนโลยีดิจิทัล

“เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนยอมรับเป็นเทรนด์ ตรงนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่เอสซีจีลงทุน รวมถึงเรื่อง สุขภาพดีที Welbeing ทั้งสินค้า และโซลูชั่นที่ช่วยให้คนที่อยู่อาศัยเกี่ยวกับในบ้าน หรือใช้งานเช่นเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ โควิด-19 สอนพวกเราคือ ในช่วงวิกฤติเช่นนี้ ต้องมีความใกล้ชิด ความเข้าใจความต้องการลูกค้าจริง ๆ ลูกค้าต้องการสินค้า Circular Economy สินค้ายั่งยืน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นสินค้าที่เข้าถึงได้เช่นกัน ตรงนี้เอสซีจีเข้าใจตรงกัน ต้องปรับว่าสินค้าเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีมูลค่าสูงอย่างเดียว ต้อง Affordable”

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจีและ ธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี

การตอบโจทย์ล่าสุดข้างต้น ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เดินหน้าธุรกิจตามแผนโรดแมปด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งสู่ “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemicals Business for Sustainability) โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งในปี 2564 ได้วางโรดแมปด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนไว้ 4 ด้านหลัก ได้แก่

1.การพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติก และโซลูชัน โดยออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย (Design for Recyclability) โดยยังคงคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ไว้อย่างครบถ้วน
2.การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ PCR (Post – Consumer Recycled Resin)
3.การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี (Chemical Recycling)
4.การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี อธิบายเรื่องนี้ว่า จาก 4 ด้านหลักข้างต้นโรดแมปที่วางไว้ครอบคลุมตลอด Supply Chain นั่นคือ ตั้งแต่การออกแบบเม็ดพลาสติกให้ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดแต่ยังคงมีประสิทธิภาพ จนถึงการนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติก

ภาพล่าง (ซ้าย)SCG Chemical Recycling Demonstration Unit และ(ขวา) SCG Chemical Recycling

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติกสำหรับกระบวนการ Chemical Recycling โดยเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หรือ Renewable Feedstock สำหรับโรงงานปิโตรเคมี ซึ่งสามารถนำกลับมาผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ (Virgin Plastic Resin) ตอบโจทย์หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ในเบื้องต้น ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติก ที่เป็น Advanced Technology ใช้สารเร่งปฏิกิริยาทำให้กระบวนการรีไซเคิลมีอุณหภูมิต่ำ จึงช่วยลดการใช้พลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาการสะสมของปริมาณขยะพลาสติกในประเทศ

นอกจากนี้ ยังได้ก่อสร้างโรงงานทดสอบการผลิต หรือ Demonstration Plant แห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่บริเวณโรงงาน จังหวัดระยอง ด้วยกำลังการผลิต Renewable Feedstock ประมาณ 4,000 ตันต่อปี และพร้อมที่จะขยายกำลังผลิตในอนาคต

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ร่วมมือกับ Partner ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล และจัดตั้งบริษัท Circular Plas Co., Ltd. ทุนจดทะเบียน 165 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกผ่านกระบวนการรีไซเคิลทางเคมี หรือ Chemical Recycling มีสัดส่วนการถือหุ้นโดยบริษัทย่อยในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ร้อยละ 60 และ Partner ร้อยละ 40

 

You Might Also Like