CIRCULAR ECONOMY

ควันหลง กลยุทธ์ Circular @TOKYO 2020

9 สิงหาคม 2564…คณะกรรมการจัดงานได้กำหนดเป้าหมาย 99 % ของสินค้าที่จัดหาเพื่อใช้ในการแข่งขัน และ 65 % ของขยะที่เกิดขึ้นจากการจัดงานจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ทั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า การจัดการของคณะกรรมการจะง่ายขึ้นแน่นอน หากไม่เกี่ยวข้องกับผู้ชมหลายแสนคน นอกจากนั้น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยังมีชื่อเสียงทางลบ เรื่องการสร้างความหายนะต่อสภาพแวดล้อมท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น วิกฤตจัดการขยะในการแข่งขันที่บราซิลในปี 2016

มีเรื่องราวจริงจังมากมายที่ต้องกล่าวถึงในช่วงก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกระหว่างการระบาดใหญ่ อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์จนทำให้สนามวอลเลย์บอลชายหาดใช้แข่งไม่ได้ ขณะที่วงจรของความขุ่นเคืองในโซเชียลมีเดียจับประเด็นเรื่องการออกแบบการส่งเสริมระยะห่างทางสังคม ทำให้เกิดความงุนงง กับข้อเท็จจริงที่ว่านักกีฬาอย่าง Simone Biles, Naomi Osaka และความหวังเหรียญจากโอลิมปิกต้องนอนบนเตียงกระดาษแข็ง

ปรากฏว่าโครงเตียงแบบแยกส่วน 18,000 ชิ้นในหมู่บ้านโอลิมปิกนั้นผลิตโดยบริษัทที่นอนญี่ปุ่น Airweave ถูกการออกแบบให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้เมื่อจบการแข่งขัน และเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของภูเขาน้ำแข็งสำหรับคณะกรรมการด้านกลยุทธ์การจัดการวัสดุในโอลิมปิก โตเกียว ปีนี้  ดังนั้น ผู้จัดงานก็เหมือนกับนักกีฬาที่ใช้เวลาหลายปีวางแผน ฝึกฝน และเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลานี้

Cr.คลิกที่ภาพ Shutterstock

เหรียญรางวัลจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งหมด 100% ของเหรียญรางวัลประมาณ 5,000 เหรียญที่มอบให้ในการแข่งขันที่โตเกียวปีนี้จะทำจากทองคำ เงิน และทองแดงที่สกัดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้แล้วจากคนทั่วประเทศ กับความพยายามสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการจัดงานรับบริจาคอุปกรณ์ consumer electronics จากสถาบันการศึกษา 1,300 แห่ง และร้านขายอุปกรณ์ 2,100 แห่ง คิดเป็นจำนวนอุปกรณ์ใช้แล้วทิ้ง 78,985 ตัน ซึ่งประกอบด้วยโทรศัพท์มือถือใช้แล้วประมาณ 6.2 ล้านเครื่อง กล้องดิจิตอล เกมมือถือ และแล็ปท็อป อุปกรณ์ดังกล่าวถูกคัดแยก ถอดประกอบ และหลอมโดยผู้รับเหมาที่ได้รับการรับรอง ก่อนที่จะนำไปผลิตเป็นเหรียญรางวัลที่นักกีฬาผู้ชนะจะได้รับ

โพเดียมจากพลาสติกรีไซเคิล

โพเดียม 100 อัน ที่นักกีฬาจะขึ้นไปยืนรับเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงรีไซเคิลจะทำจากวัสดุรีไซเคิลเช่นเดียวกัน ในกรณีนี้ทำจากพลาสติกใช้แล้ว คณะกรรมการจัดงานร่วมมือกับโรงเรียน 113 แห่ง ร้านค้าปลีก 2,000 แห่ง ตลอดจนธุรกิจและองค์กรอื่นๆ รวบรวมพลาสติกได้ 24.5 ตัน หรือขวดและภาชนะพลาสติก 1.5 ล้านขวด (ไม่รวมขวด PET) ระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 ถึงมีนาคม 2563 โพเดียมทั้งหมด จะถูกนำไปรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์หลังการแข่งขัน ตามรายงานความยั่งยืนก่อนเกมของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน

เน้นการนำกลับมาใช้ใหม่

Cr.คลิกที่ภาพ

กลยุทธ์การจัดการวัสดุของผู้จัดงานไปไกลกว่าความคิดริเริ่มที่ล้ำสมัย และเปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น โครงการเหรียญรางวัลและโพเดี้ยม เบื้องหลัง การใช้ซ้ำเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การจัดซื้อในการแข่งขัน โดยคณะกรรมการมีการจัดทำคู่มือการจัดหาโดยเน้นความยั่งยืน ในกลยุทธ์การจัดซื้อ ผู้จัดงานให้ความสำคัญกับการเช่าและลิสซิ่งเป็นลำดับต้นๆ รวมถึงลงนามในข้อตกลงการซื้อคืนกับผู้ขายหากเป็นไปได้ สำหรับสินค้าที่ต้องซื้อทันที พวกเขากำลังร่วมมือกับรัฐบาลกรุงโตเกียวเพื่อสร้างระบบการขายต่อ และระบุผู้ซื้อที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าที่ใช้แล้วหลังการแข่งขัน

รายละเอียดในคู่มือ เน้นที่ทำให้เข้าใจง่ายกับสิ่งที่เหนือความคาดหมายด้วย นั่นหมายถึง ลดการตกแต่ง และการผ่อนคลายข้อกำหนดด้านแสงสว่างของ Olympic Broadcasting Service เพื่อลดการใช้ทรัพยากร โดยผู้จัดงานกำหนดให้ซัพพลายเออร์และผู้รับใบอนุญาตจัดหาวัสดุและผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดของชาวญี่ปุ่นเรื่อง mottainai (ความคิดเรื่องการลดของเสีย)

เช่นเดียวกับการทำความสะอาดชายหาด การขับเคลื่อนเรื่องปลอดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และปลอดพลาสติกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม กระบวนการมีส่วนร่วมของสาธารณชนเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุดในกลยุทธ์การจัดการวัสดุของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งโตเกียว แน่นอนว่าผลกระทบของการริเริ่มเรื่อง Circular Economy เหล่านี้ ตลอดจนโครงการอื่นๆ อีกหลายสิบข้อ จะให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมหลายประการ

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมกับสาธารณชนชาวญี่ปุ่น และใช้ประโยชน์จากเวทีระดับโลกนั้นให้ผลกระทบยิ่งใหญ่ นอกเหนือจากการพูดแบบปากต่อปากหรือโครงการเล็กๆ ที่สวยสดงดงามมากมาย ซึ่งให้ผลด้านความยั่งยืนด้วย ยังทำให้ผู้จัดงานตระหนักถึงพลังของแพลตฟอร์ม และดูเหมือนกำลังใช้มันสุดกำลัง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอย่างแน่นอน

ที่มา

You Might Also Like