CIRCULAR ECONOMY

ชีวิตที่ 2 ของ “แผงโซลาร์เสื่อมสภาพ” @ โรงงานรีไซเคิลยูมา รัฐแอริโซนา

14-15 สิงหาคม 2566…ภาพเปิดเรื่อง…แสงแดดส่องลงมาที่กองพะเนินของแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้ไม่ได้แล้วในเมืองยูมา รัฐแอริโซนา ทั้งหมดกองอย่างเป็นระเบียบ เพื่อรอให้นำไปใช้ได้ใหม่ แผงที่สึกหรอและเสียหายส่วนใหญ่ยังคงถูกทิ้งในหลุมฝังกลบ แต่เมื่อมีมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนรู้ว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง

โรงงานรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือเปิดขึ้นพร้อมกับการหมุนเวียนแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้แล้ว ส่งผลให้การใช้เพิ่มขึ้นอีกอย่างรวดเร็วในเมืองทะเลทรายที่แอริโซนา แคลิฟอร์เนีย โซโนรา และบาจา แคลิฟอร์เนียมาบรรจบกัน โรงงานรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ระดับสาธารณูปโภคแห่งแรกในอเมริกาเหนือได้เปิดขึ้นเพื่อจัดการกับสิ่งที่ผู้ก่อตั้ง We Recycle Solar เรียกว่า “สึนามิ” ของขยะพลังงานแสงอาทิตย์ แผนการรับมือภาวะโลกรวนต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าด้วยแผงโซลาร์จากพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนมาก

แผงเหล่านี้วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มาจากโกดังเก็บสินค้าหลักของบริษัทในเมืองแฮคเกตต์สทาวน์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ และอีก 6 แห่งทั่วประเทศ คนงานแยกชิ้นส่วนแผงโซลาร์เซลล์ออกเมื่อเริ่มกระบวนการรีไซเคิล

คนงานแยกชิ้นส่วนแผงโซลาร์เซลล์ขณะที่เริ่มกระบวนการรีไซเคิล [ภาพถ่าย: AP Photo/Gregory Bull]

คนงานทยอยเคลื่อนกองแผงโซลาร์ใช้แล้วไปยังโรงงานขนาด 75,000 ตารางฟุตด้วยรถยก จากนั้นค่อย ๆ ยกทีละอันด้วยมือเพื่อแยกตามยี่ห้อและรุ่น กระจกบางบานมีรอยร้าวเพียงเล็กน้อย บางอันเสียหายจากพายุ

Adam Saghei ซีอีโอของ We Recycle Solar กล่าวว่า แผงเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ และมีตลาดที่ต้องการ นั่นคือลูกค้าทั่วโลกที่กำลังหาแผงที่ปรับสภาพใหม่ในราคาที่จ่ายได้

“โรงงานของ Yuma เป็นเหมือนร้านขายของมือสองในพื้นที่ที่คุณมองหาการอัพไซเคิล”

แผงจำนวนหนึ่งถูกขายออกไป เช่น ที่ร้าน Mercados Solar ในแคโรไลนา เปอร์โตริโก

แผงที่ไม่ผ่านการทดสอบ และไม่ได้นำไปขายต่อ ถูกส่งไปที่สายพานลำเลียงซึ่งแยกแก้ว โลหะ และวัสดุอื่น ๆ ที่มีมูลค่าออกจากกัน

[ภาพถ่าย: AP Photo/Gregory Bull]

ในความเป็นจริง แผงโซลาร์เซลล์ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สมบุกสมบันต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงนานนับทศวรรษ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะทำลายสิ่งที่ยึดโยงไว้ด้วยกัน การแยกแก้วโดยไม่ให้แตกเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ด้วยพลังดูดของแขนหุ่นยนต์ที่มีคนงานคอยช่วยเหลือ จึงทำได้ไม่ยากเกินไปนัก

วัสดุที่มีค่าสูงสุดบางชนิด ได้แก่ ทองแดง เงิน อะลูมิเนียม แก้ว และซิลิกอนที่เป็นผลึก การนำสิ่งเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่หมายถึงการสร้างประโยชน์ใหม่ๆ เช่น การขายแก้วให้กับบริษัทที่ทำธุรกิจพ่นทราย

สำหรับ Saghei แรงบันดาลใจในการก่อตั้งบริษัทเกิดขึ้นในปี 2017 เมื่อเขากำลังทำงานในบริษัทเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์จากคอมพิวเตอร์ เขาเห็นแสงอาทิตย์กระจายไปทั่วหลังคาโกดัง และสงสัยว่าในที่สุดแล้วมันจะไปอยู่ที่ไหน เขาตระหนักว่าเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะไม่คงอยู่ต่อไป ยามเมื่อเลิกใช้งานหรือปลดระวาง

“พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม แต่สามารถเลี้ยงอุตสาหกรรมทั้งหมดได้ เช่น อะลูมิเนียมและแก้ว ทำไมเราจึงต้องใช้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์ซื้อวัสดุเหล่านี้จากต่างประเทศ ในเมื่อเราสามารถผลิตได้ที่นี่ ตอนนี้”

Dwight Clark ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีรีไซเคิลของ We Recycle Solar เสริมว่า ทองแดงเป็นโลหะชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการรีไซเคิล

“จริงอยู่ที่ว่า แผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงมีน้ำหนักไม่มาก แต่เมื่อเราทำแผงโซลาร์เซลล์ 10,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง เราก็จะได้ทองแดงหลายร้อยปอนด์ต่อชั่วโมงเหมือนกัน” เขากล่าว

“หรืออย่างอลูมิเนียม. . . อาจกลับมาเป็นกรอบแผงโซลาร์เซลล์มากขึ้น หรืออาจเข้าไปอยู่ในเครื่องบินโบอิ้งลำใหม่ก็เป็นไปได้”

[ภาพถ่าย: AP Photo/Gregory Bull]

Mool Gupta ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ให้ข้อมูลว่า ภายในปี 2050 ขยะพลังงานแสงอาทิตย์จะมียอดรวมอยู่ที่ประมาณ 78 ล้านตันทั่วโลก เหตุผลที่การรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ เกี่ยงว่า การรีไซเคิลมีต้นทุนราว ๆ 30 ดอลลาร์ต่อแผง เทียบกับราคาเพียง 1 ดอลลาร์หากส่งไปฝังกลบ !

Garvin Heath สมาชิกกิตติมศักดิ์ ทำงานในฝ่ายวิจัยของ Department of Energy’s National Renewable Energy Laboratory กล่าวว่า หากหวังว่าสักวันหนึ่งจะเห็นการนำแผงโซลาร์ที่เลิกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ต้องไม่ปล่อยให้ต้นทุนรีไซเคิลแพงกว่าต้นทุนใฝังกลบ ผู้บริโภคต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย และต้องช่วยให้ผู้รีไซเคิลคุ้มทุนด้วย

กระนั้น ก็มีบริษัทจำนวนไม่น้อยกำลังเริ่มเข้าสู่ธุรกิจนี้เหมือนกัน Solarcycle สตาร์ทอัพในเมืองโอเดสซา รัฐเท็กซัส ระดมทุนได้ 30 ล้านดอลลาร์ช่วงต้นปีนี้ นำโดย Fifth Wall ที่ปรึกษาด้านบริหารสินทรัพย์ ซึ่งเน้นเรื่องการลดคาร์บอน และ Solarpanelrecycling.com บริษัทในเครือของ PowerHouse Recycling ผู้รีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Solarcycle

 

ปัจจัยสำคัญมาจากการที่สหภาพยุโรปมีกฎระเบียบที่กำหนดให้ต้องรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ Waste Electrical and Electronic Waste Directive (WEEE)

องค์กรวิจัยตลาด Visiongain ประมาณการว่า ปีที่แล้ว มูลค่าตลาดโลกของขยะอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ 138 ล้านดอลลาร์และโตอย่างรวดเร็ว โดยได้แรงหนุนส่วนหนึ่งจากสิ่งจูงใจที่มีให้ใน Inflation Reduction Act ของสหรัฐ

Jack Groppo ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่แห่งมหาวิทยาลัย Kentucky กล่าวว่า ผู้คนต้องหยุดทิ้งแผงโซลาร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเร็วที่สุด

“เมื่อแผงโซลาร์เซลล์เข้าสู่หลุมฝังกลบ มันก็เหมือนจะหายไปจากโลกเลย เว้นแต่เราจะขุดมันขึ้นมาใหม่” เขากล่าว

Groppo ประมาณการว่า ภายใน 20 ปีจากนี้ ผู้คนจะขุดหลุมฝังกลบ เพื่อกู้คืนวัสดุที่เคยเป็นขยะซึ่งกลายเป็นของมีค่า แต่มันดูสมเหตุสมผลมากกว่า หากเราจะแยกพวกมันออกจากกันตั้งแต่ตอนนี้

เค.ซี. Skillern เคลื่อนย้ายวัสดุด้วยพลั่วจากแผงโซลาร์เซลล์รีไซเคิล [ภาพถ่าย: AP Photo/Gregory Bull]

โรงงานของ Yuma สามารถรีไซเคิลได้วันละ 7,500 แผง หรือประมาณ 69 ล้านปอนด์ต่อปี เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ประมาณการว่าสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 650,000 ตัน ขณะใช้กำลังผลิตประมาณ 60% ของแผงทั้งหมดที่เข้ามา นอกจากนั้นบริษัทวางแผนเปิดโรงงานรีไซเคิลอีกแห่งควบคู่ไปกับผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในจอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเซาท์แคโรไลนาด้วย

ตอนนี้ บริษัทรีไซเคิลโซลาร์ยังคงหาวิธีสร้างรายได้อยู่ We Recycle Solar ส่งพนักงานออกไปรื้อแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุด การขายต่อแผงโซลาร์เซลล์ที่ได้รับการตกแต่งใหม่ถือเป็นอันดับสอง และการรีไซเคิลทำรายได้น้อยที่สุด Saghei กล่าวว่า การรื้อถอนและการขายต่อ subsidize ต้นทุนการรีไซเคิลได้แค่บางส่วน

แต่ Gupta กล่าวว่า ความท้าทายในการทำกำไรเป็นเรื่องชั่วคราวและจะเอาชนะได้ไม่ยาก นักวิจัยกำลังทำงานอย่างหนักในการแก้ปัญหาเหล่านี้

“หลายชีวิตต้องสูญเสียไปเพราะมลพิษ และพลังงานแสงอาทิตย์คือหนึ่งในทางออกลำดับต้น ๆ”

ที่มา

 

 

You Might Also Like