ACTIVITIES

Carbon Markets Club ครบรอบ 2 ปีเปิดภารกิจเพื่อโลก

27 มิถุนายน 2566… จากสมาชิกตั้งต้น 11 องค์กร สู่สมาชิกประเภทองค์กรและบุคคลรวมกว่า 300 รายยอดซื้อขายคาร์บอนเครดิตและ RECs รวมประมาณ 8 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แนะนำแอปฯ ECOLIFE for CMC ชวนปฏิบัติภารกิจรักษ์โลกด้วยการ ‘ลด ละ เริ่ม’ พร้อมช่วยเหลือเกษตรกร ชาวนา กลุ่มประมงพื้นบ้าน ให้เข้าใจรับมือกับภาวะโลกร้อน โดยไตรมาส 3 นี้ จะให้บริการเครื่องมือประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับองค์กรสมาชิกผ่านเว็บไซต์

แนวคิด Carbon Markets Club (CMC) เริ่มมาจาก ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่จะสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต หนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด โดยผู้ขายจะนำรายได้จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตไปอุดหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว เป็นการร่วมเตรียมความพร้อมให้ทุกภาคส่วนรับมือกับความท้าทายและโอกาสทางการค้าในรูปแบบใหม่ ๆ

“2 ปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครเป็นสมาชิกทั้งประเภทองค์กรและบุคคลรวมกว่า 300 ราย ได้ทำหน้าที่รองรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต TVERs หรือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย และ Renewable Energy Certificates หรือใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีการซื้อขาย TVERs รวมกว่า 3 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และ RECs รวมกว่า 1 ล้านเมกะวัตต์ชั่วโมง หรือรวมกันเทียบเท่า 8 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นประมาณการปลูกต้นไม้ที่มีอายุ 10 ปี กว่า 90 ล้านต้น ซึ่ง CMC จะสร้างความร่วมมือร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ตลอดจนสร้างสรรค์กิจกรรม เครื่องมือใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องมือประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับองค์กรสมาชิกและแพลตฟอร์มศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านเว็บไซต์ CMC”

กลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น และประธาน CMC กล่าวว่า นอกจากการทำหน้าที่รองรับและสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อกระตุ้นตลาดคาร์บอนในประเทศไทยซึ่งยังเป็นตลาดซื้อขายภาคสมัครใจแล้ว CMC ยังร่วมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และชดเชยคาร์บอน และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้าง ด้วยการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ เป็นประจำ พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่น ECOLIFE for CMC

พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร กรรมการผู้จัดการบริษัท คิดคิด จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่น ECOLIFE ขยายความเพิ่มเติมว่า สมาชิกCMC ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือบุคคลธรรมดาที่เป็แสดง Eco Map เครือข่ายสีเขียวที่รวบรวม Eco Destinations ได้แก่ร้านค้า สถานีบริการ และพื้นที่ที่ร่วมกิจกรรมรักษ์โลกในรูปแบบต่าง ๆ เริ่มต้นจากร้านกาแฟอินทนิล จุดชาร์จรถ EV ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก สถานีสลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าวินโนหนี้ จุดรับกล่องเครื่องดื่มของโครงการเก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก จุดรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel ของโครงการทอดไม่ทิ้ง จุดรับขยะกำพร้าสัญจรในปั๊มบางจาก ฯลฯ และจะทยอยเพิ่มเติมจุดหมายอื่นๆ ต่อไป โดยสามารถสะสม Eco Points นำไปแลกของที่ระลึกหรือร่วมปลูกต้นไม้ดูดซับคาร์บอนช่วยโลก

“สำหรับในองค์กร ECOLIFE for CMC สามารถที่จะช่วยให้พนักงานได้มีความเข้าใจเรื่องนี้ สนุกเมื่อใช้แอปฯ และด้วยแอปฯเป็นเสมือนชุมชนเดียวกัน มีหลายบริษัทที่เป็นสมาชิก อยากให้แต่ละบริษัทมีโอกาสแข่งขันสนุก ๆ ในแอปฯ จะสร้างผลดีให้เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก” พิพัฒน์กล่าวถึงความตั้งใจ

นอกจากนี้ มีการบรรยาย “Road to Decarbonization” โดย ผศ. ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมชั้นแนวหน้าของประเทศและคอลัมนิสต์ประจำเว็บไซต์ CMC ได้ฝากงานวิชาการที่เป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะคนในประเทศไทยได้รับรู้ถึงอากาศที่ร้อนมากในประเทศช่วงที่ผ่านมา และฝนตกไม่ส่ำเสมอ ซึ่งนั่นเป็นเพียงก่อนจะเริ่มเข้าสู่ภาวะผลกระทบจากเอลนิโญ่เท่านั้น และนั่งก็ส่งผลกระทบให้ใต้ทะเลมีอุณหูมิสูงขึ้น ประมาณปลายปีนี้ประเทศไทยจะเข้าส่งเอลนิโญ่อย่างแท้จริงและต้นปีหน้ามนุษยชาติจะได้รู้ว่าอุณหภูมิโลกเพิ่มอีก1.5องศานั้นเป็นอย่างไร แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ

“ประเด็นคือ กลุ่มประมงพื้นบ้านยังไม่รู้ตัว หรือยังไม่ทันตั้งรับกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็อยากจะฝากบริษัทใหญ่ ๆ ที่เป็นสมาชิกช่วยคนกลุ่มนี้” ผศ. ดร. ธรณ์ กล่าว

กลอยตามองความร่วมมือดังกล่าวว่า การช่วยชาวประมงพื้นบ้าน รวมถึงเกษตรกรที่เราต้องไปช่วยเขา เกิดขึ้นได้ แต่ต้องใช้เวลาและกำลังขององค์กรเอกชนในคาร์บอนมาร์เกตครัล เช่นที่บางจากไปซื้อข้าวลดโลกร้อนของชาวนามาแจกลูกค้าที่ใช้บริการปั๊มบางจาก ซึ่ง เช่นที่บางจากไปซื้อข้าวลดโลกร้อนของชาวนามาแจกลูกค้าที่ใช้บริการปั๊มบางจาก

“พี่น้องชาวนาไม่เคยรู้เลยว่า เขาทำนาก็ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ เมื่อรู้ว่ามีวิธีปรับเปลี่นยได้เขาก็ยินดี เรามองว่าเป็นความรู้ ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนความไม่รู้ตรงนั้นให้เป็นรู้ เมื่อเราไปซื้อ ชาวนาก็รู้ว่ามีตลาดก็ทำต่อไป ส่วนชาวประมงหากเราไปช่วยตรงไหนได้ เราก็ต้องไปช่วยเพราะเป็นเรื่องปากท้อง”

กลอยตากล่าวทิ้งท้ายงาน ขอเชิญชวนทุกท่านสมัครสมาชิกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งนอกเหนือจากจะได้รับข้อมูลความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว สมาชิกประเภทบุคคลยังสามารถร่วมปฏิบัติภารกิจรักษ์โลกผ่านแอปพลิเคชั่น ECOLIFE for CMC หรือซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ส่วนบุคคล ในขณะที่สมาชิกประเภทองค์กรที่กำลังดำเนินการตามแผนงานเพื่อลดหรือชดเชยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของหน่วยงานสามารถแสดงความจำนงซื้อคาร์บอนเครดิตหรือ RECs หรือนำมาเสนอขายใน Marketplace ของ CMC

 

You Might Also Like