TALK

LocoPack แพลตฟอร์มออนไลน์บรรจุภัณฑ์เริ่ม 100 ชิ้น เชื่อมสินค้าตั้งแต่ชุมชนรายเล็กไปได้ไกล

8 พฤษภาคม 2567… ณิชยา อนันตวงษ์ Co-Founder & CEO LocoPack สตาร์ทอัพภายใต้เอสซีจีพี เห็น Paint Point ของลูกค้าขนาดเล็กรวมถึงชุมชน ที่ต้องการบรรจุภัฑณ์ที่มีมาตรฐาน มีดีไซน์สวยงามแต่ขอแค่ 100 ชิ้น ซึ่งปกติไม่มีใครทำให้ ขณะที่บรรดาโรงงานหลังจากจบการพิมพ์งานที่มีวอลุ่มมาก ๆ แล้วเครื่องก็ว่าง LocoPack เข้ามาช่วยอีโคซิสเต็มส์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์ที่ลูกค้าทำได้บนแพลตฟอร์ม จัดการแมทชิ่งโรงงาน และส่งมอบให้ถึงมือผู้ประกอบการรายเล็ก 100 ชิ้น

ณิชยา หรือเติ้ลเป็นนักออกแบบในเอสซีจีพี ด้วยมีฐานด้านวิทยาศาสตร์โครงสร้างรวม Zero Packaging และได้ทุนจากองค์กรไปเรียนต่อทางด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่นิวยอร์ค กลับมาทํางานออกแบบได้ไม่นาน ถูกย้ายข้ามสายไปทำงานในส่วน New Business พบเจอคนในอีโคซิสเต็มส์มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้า ซัพพลายเออร์ เห็นว่าช่องว่างทางธุรกิจมีอยู่จริง สามารถพัฒนาได้

“เติ้ลได้พบคนที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ได้สวยงามอย่างที่เขาต้องการแบบ B2B แต่เมื่อเดินไปตลาดนัด มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ทําไมเขาทําไม่ได้แบบรายใหญ่ บรรจุภัณฑ์ออกแบบสวยๆ ด้วยกระบวนการ เพราะว่าโรงงานเล็ก ๆ ไม่มีคนมาออกแบบให้ เฮียจะมาจ้างนักออกแบบ เพื่อนั่งคุยแม่ค้าคงไม่มีหรอก แล้วให้โรงงานจะมาผลิตครั้งหนึ่งแค่ 1,000 ชิ้นนะ ไม่มีใครทำ แต่ที่กล่าวมาคือช่องว่างที่ทำให้เกิด LocoPack”

LocoPack เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ One Stop Solutionให้ลูกค้ารายเล็กร่วมออกแบบเองได้ มาพร้อมเทคโนโลยี พิมพ์ลวดลาย Costomize ตามความต้องลูกค้าที่สามารออกแบบได้เอง3 ครั้ง ใช้โครงสร้างการคํานวณแมชชิ่งได้ระหว่างคนที่ต้องการ กับโรงงานที่มีกำลังการผลิตว่างอยู่ เป็นออเดอร์เล็ก ๆไ ด้โดยที่ไม่ต้องมีคนเข้ามาช่วยคอยจัดการ ต่อเมื่อกรุ๊ปปิ้งออเดอร์เข้ามาแล้วก็ส่งให้โรงงาน ทํางานง่ายขึ้นลูกค้าก็จะได้รับบรรจุภัณฑ์ตามที่ต้องการในต้นทุนที่รับได้ เป็นการตอบโจทย์ระหว่างคนสองคนได้อย่างลงตัว

 

ปัจจุบันลูกค้าทั่วไป LocoPack มีหลายพันราย หลากหลายประเภท ตั้งแต่ของบริโภคได้ จนกระทั่งถึงกล่องพระเครื่อง กล่องของเล่น กล่องเกม กล่องน้ําหอม กล่องยาฉีดหัวเข่า กล่องใส่ดอกไม้แห้ง กล่องของพรีเมี่ยมที่บริษัทใหญ่ทำแจกเฉพาะลูกค้าในอีเวนท์ และล่าสุด LocoPack Display ชั้นวางสินค้าแบบชิ้นเดียวด้วยวัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่กล่าวข้างต้น LocoPack ดำเนินธุรกิจ 4 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2566 ก็เป็นอีกปีที่ทีม LocoPack เดินดูสินค้าจาก “โครงการพลังชุมชน” ซึ่งมาเปิดบูธขายสินค้าชุมชนหลากหลายประเภทให้ชาวเอสซีจีได้ชิม ช้อป ใช้

“ชิมแล้ว ของกินอร่อยมาก แต่เราก็ดูบรรจุภัณฑ์ เอ๊ะ! ทําไมเราน่าจะเปลี่ยนได้นะก็เลยคุยกับพี่ที่ดูโครงการพลังชุมชน ก็ขอลองเข้าไปคุยกับแม่ ๆ พี่ ๆ พลังชุมชนว่ามีความต้องการทางด้านบรรจุภัณฑ์อย่างไรบ้างคะ สอบถามเราก็น่าจะเข้าไปช่วยได้ และเมื่อได้คุยแล้ว ผู้ประกอบการในโครงการพลังชุมชนคือกลุ่มเป้าหมาย LocoPack”

ณิชยาเล่าถึงPaint Point ของบรรดาแม่แม่ในโครงการฯ เช่นตัวอย่างกล้วยทอดแม่ภัทชา

1.สินค้าเก็บแล้วอยู่ไม่ได้ไม่นาน แม่ต้องการขายส่งให้ไกลกว่านี้
2.สินค้าใช้บรรจุภัณฑ์เป็นซองใส ไม่ใส่ไนโตรเจน ทำให้กล้วยทอดเหม็นหืน
3.สินค้าใช้บรรจุภัณฑ์กี่ใบต่อเดือน
4.สินค้าใช้บรรจุภัณฑ์มีลวดลายให้สวยงามทันสมัยอย่างไร

“ผู้ประกอบการรู้ข้อมูลที่สุด เพราะเป็นเจ้าของสินค้า ซึ่งแม่ภัทชา อยากพัฒนาตัวแบรนด์เพื่อมีโอกาสขายในคิงส์ เพาเวอร์ เติ้ลเหมือนเป็นคนช่วยปรับ เรื่องวัสดุก็ต้องเป็นแบบเก็บได้ 6 เดือนเป็นอย่างน้อยใส่ไนโตรเจนเข้าไป หรือสินค้าอีกตัวคือข้าวซอย อยากให้ถุงใสเพื่อให้ลูกค้าเห็นข้าวซอย ก็จะบอกแม่ว่า ไม่ได้ค่ะ เพราะข้าวซอยตัวแป้งทอด ต้องเป็นถุงเมทาไรซ์เก็บได้หลายเดือน จากนั้นก็คุยเรื่องลวดลายต่าง ๆ รวมจํานวนการผลิต กี่ชิ้น ซึ่งต้นทุนเดิมบรรจุภัณฑ์แม่พัชชา 8 บาทต่อชิ้น ตัวใหม่จาก LocoPack ประมาณ 8.50 บาท แนะนําแม่ว่าให้ผลิตที่ 3,000 ซองเพราะว่าถ้าเกิดสมมุติว่าถ้า1,000 ซองต้นทุนจะเป็น10-11บาท ไม่ต้องเป็นซองซิป เพราะปริมาณขนาดนี้เปิดทานครั้งเดียวก็หมดแล้ว มีซิปต้องเป็นถุงใหญ่ทานหลายครั้ง ซึ่งแม่พัดชาตกลง LocoPack ครั้งเดียวจบ ไม่ต้องให้ใครมาช่วยแปะสติ๊กเกอร์แบบเดิมแล้วเลี้ยงขนมคนมาช่วย ซึ่งราคาก็คงไม่ต่างจาก 8.50 บาทมากนัก”

ภัทชา ตนะทิพย์ นวัตกรตัวแม่ ปั้นเครือข่ายชุมชนวังชิ้น จ.แพร่ และได้เป็นลูกค้า LocoPack โดยข้าวเม่าซีเรียล อร่อย

ปัจจุบันโครงการพลังชุมชนใช้บรรจุภัณฑ์จาก LocoPack ประมาณ 8 สินค้า (โดยส่วนหนึ่งในการช้ LocoPack มาจากการบอกต่อของแม่ภัทชา ซึ่งก็ได้ผลในโครงการพลังชุมชน) ทั้งนี้สินค้าที่ใช้ใช้ส่วนใหญ่เป็นอาหาร และวางขายทั่วประเทศ มีทั้งแบบเป็นถุงซองค่อนข้าง อีกประเภทเป็นถุงสลีปคือ เป็นกระดาษด้วย

“สิ่งที่เติ้ลได้เรียนรู้จากการทำงานกับแม่ภัทชาคือ ความจริงใจอย่างเวลาเราทําธุรกิจ ESG ต้องมีอยู่ แม่เขามีโดยในจิตใจของเขาเลย เป็นการเตือนใจเราเองด้วย เช่นแม่จะถามว่า ทันไหมหนู หรือการออกแบบนี้มันเกินมาครั้งหนึ่งหนูจะคิดเงินแม่ไหม แม่จะเอาเปรียบหนูไหมถ้าแม่จะแก้อีกรอบหนึ่ง ซึ่งการทำงานเราจะเสนอให้แก้แบบได้ 3 ครั้ง อีกอย่างแม่ก็บอกว่า ที่ปลูกกล้วยแม่ไม่ใช้สารเคมี อย่างกระดาษ แม่จะถามว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใช่ไหม แล้วถุงล่ะ อันนี้ต้องบอกแม่ หากใช้ถุงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคือ ถุงไบโอ นะมันจะแพงมากเลยนะแม่ ต้องบอกจริง ๆ ยังไม่ถึงช่วงที่ต้องใช้ถุงไบโอฯ ที่แม่ใช้ถือเป็นสิ่งมาตรฐานแล้วค่ะ ซึ่งแม่ภัทชาก็จะแบ่งปันความรู้เหล่านี้ในกลุ่มด้วย”

ณิชยากล่าวในท้ายที่สุดว่าการเข้าไปร่วมทำงานกับแม่ ๆ พ่อ ๆในโครงการพลังชุมชน พบว่า LocoPack ไม่ได้แค่ช่วยแก้ปัญหาให้กับคน แต่เป็นการทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้นได้จริงเมื่อสินค้าเหล่านี้กระจายขายได้ไกลมากขึ้น ผลที่ดีไม่ได้แค่คนคนเดียว แต่เกิดขึ้นกับชุมชนนั้นทำให้ตัวเองมีพลังกับ LocoPack

 

You Might Also Like