NEXT GEN

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทรงเรียกร้องให้จริงจังเรื่อง Climate Change มากกว่าที่เป็นอยู่

7 ธันวาคม 2563…ทรงเรียกร้องให้ดำเนินการในระดับที่ “ก้าวเท้าให้มากขึ้น ด้วยขอบเขตที่ขยายใหญ่ขึ้น” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการเปิดงานสัปดาห์ Virtual Climate Week

พระราชดำรัสของพระองค์ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19ที่กำลังดำเนินอยู่ และการคุกคามของภัยพิบัติจากสภาพอากาศมีความสัมพันธ์กัน

“หากไม่มีการดำเนินการที่รวดเร็วและทันทีทันใด ด้วยอัตราและขนาดที่ไม่เคยทำมาก่อน เราจะพลาดโอกาสในการรีเซ็ตเพื่อ อนาคตที่ยั่งยืน และโอกาสของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังตอนนี้ มันได้กลายเป็นภัยพิบัติที่ครอบคลุมอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนากลายเป็นเรื่องเล็กลงไปเลย”

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส ทรงเป็นประธานกล่าวเปิดงาน Climate Week ที่นิวยอร์ค ในเวลาใกล้เคียงกับการประชุมสมัชชาประจำปีของสหประชาชาติ ซึ่งจากข้อจำกัดของโควิด-19 ทำให้ต้องจัดการประชุมแบบ Virtual ในปีนี้

งานนี้มีผู้นำรัฐบาล ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจที่หลากหลายเข้าร่วมงาน ตัวอย่างเช่น Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เป็นประธานกล่าวในพิธีเปิด ซึ่งจัดโดย The Climate Group

Cr.Climate Week NYC.org

วันเดียวกัน ก่อนหน้านี้ Antonio Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวว่าจุดเริ่มต้นของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 75 เป็นการเตือนว่า “ภัยพิบัติทางภูมิอากาศใกล้เข้ามามากแล้ว”

ด้วยภาพความมุ่งมั่นของการลงมือทำที่มีอยู่ลดลง จนดูเหมือนห่างไกลจากการเปลี่ยนแปลงที่นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ตอนนี้มีความสําคัญยิ่งยวด ทำให้บรรดาผู้สนับสนุนการแทรกแซงสภาพภูมิอากาศกําลังกระตุ้นให้ภาครัฐตอบสนองอย่างเร่งด่วน ไม่ต่างจากการรับมือภาวะสงครามในอดีต

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส เป็นผู้สนับสนุนความเป็น “Green” มานานแล้ว พระองค์ทรงโปรดการดําเนินการที่จําเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีความสำคัญต่อความพยายามในการฟื้นฟูยุโรป ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

“ช่วงเวลาท้ายๆ นี้ อาจจะมองเห็นหนทางอื่นข้างหน้าไม่ชัดนัก แต่ก็เป็นไปได้ที่แผนคล้ายกับ Marshall Plan ทั้งประเด็นธรรมชาติ มนุษยชาติ และโลกใบนี้จะเกิดขึ้น”

ขณะที่รัฐบาลหลาย ๆ ประเทศยังล้าหลังต่อเป้าหมายด้านสภาพอากาศ แต่ก็มีเมืองและบริษัทจำนวนมากได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าในเวลาไม่ถึง 1 ปี อีกด้านหนึ่ง องค์กรเหล่านั้น หลายแห่งกำลังถวิลหาการฟื้นตัวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายหลังการระบาดของโควิด-19 ด้วย

มีรายงานด้วยว่า เมืองและภูมิภาคต่างๆ ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการปล่อยก๊าซในสหรัฐอเมริกา และบริษัทที่มีรายได้รวมกันมากกว่า 11.4 ล้านล้านดอลลาร์กำลังตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิหรือ Net Zero ภายในสิ้นศตวรรษนี้

อนึ่ง Data-Driven EnviroLab และ New Climate Institute ขององค์การสหประชาชาติ รายงานว่า คนส่วนใหญ่ตั้งเป้าไปที่ Zero-Carbon Economy ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Race to Zero ภายในปี 2050

ที่มา

 

You Might Also Like