NEXT GEN

เปิด 5 เส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ปตท. ภายใต้กฎโลก Net-Zero

16 มิถุนายน 2567…ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เผยวิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” หรือ “TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD” ดำเนินธุรกิจบนหลัก “ความยั่งยืนอย่างสมดุล” ให้เหมาะกับบริบทองค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี มุ่งให้ ปตท. เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลที่ดีมีธรรมาภิบาล


ทั้ง 5 เส้นทางมีความเกี่ยวเนื่องกับ มาตรฐาน Thailand Taxonomy ถือว่าเป็นกติกาใหม่ที่ยั่งยืน ซึ่งปตท.ก็ต้องมีบทบาท

ดร.คงกระพันขยายความต่อเนื่อง 2ใน 5 เส้นทาง ธุรกิจไฮโดรเจนและคาร์บอน (Hydrogen and Carbon Business Integration Strategy) สร้างการเติบโตต่อยอดจากเป้าหมาย Decarbonization มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบบูรณาการทั้งกลุ่ม ปตท. รวมถึงการลดการใช้พลังงาน เพิ่มการใช้พลังงานสะอาด และ ชดเชยคาร์บอน ด้วยเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CCS และโครงการปลูกป่า ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นวันนี้พรุ่งนี้ ต้องค่อย ๆ ทําต้องใช้เวลา ซึ่งมีการลงทุนข้างนอกมาก่อนบางอย่างเพื่อนำความรู้มาใช้ รวมถึงเข้าใจถึงอีโคซิสเต็มส์

“ทําไมอเมริกาถึงประสบความสําเร็จแม้ในเรื่อง Decarbonization แถมยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ด้วย เพราะเขามีเรื่องภาษี เก็บเพิ่มในบางเรื่องแต่ก็มี Intensive ให้ประโยชน์ต่อธุรกิจที่ลงทุนที่ลดคาร์บอน เป็นต้นเราก็ต้องเรียนรู้จากตรงนี้ หรือโมเดลยุโรป ซึ่งปตท.เอง เราไม่ได้ดูการลงทุนอย่างเดียว เราจะดูองค์ความรู้ว่าคนอื่นเขาทําอย่างไร และทำอย่างไรที่จะให้ประเทศไทยประสบความสําเร็จ เราทำงานทั้งกับภาครัฐและเอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้เวลาตามวิสัยทัศน์ปตท.ที่มุ่งเป้า Net -Zero ได้กลุ่มเดียวไม่มีประโยชน์นะครับและอุตสาหกรรมก็ต้อง Net -Zero ด้วย แล้วก็ประเทศไทยก็ต้องทําได้ด้วย เพราะเป็นบทบาทหน้าที่ที่รับมาแล้วก็ต้องทําเรื่องสําเร็จ”

 

ดร.คงกระพันกล่าวถึงข้างต้น ภายใต้เส้นทาง Net- Zero เรียกว่าเป็นการดำเนินธุรกิจ Scope1,2 มีความชัดเจนแล้ว ส่วน Scope 3 ที่จะต้องขยายผลไปถึงซัพพลายเออร์ รวมถึงปลายทางลูกค้า

“ยกตัวอย่าง Scope 3 สมมุติน้ํามันดีเซลที่ปตท.ผลิต ลูกค้าใช้ในรถจะปล่อยคาร์บอนก็เป็น Scope 3 เราต้องมาดู นอกจากนี้เทรนด์ของโลกอาจจะค่อย ๆทยอยการใช้ลดลง เมื่อเรื่องไฮบริด หรืออีวี ไรมากขึ้น หรือไฮโดรเจนที่ใช้ในโรงงานเมื่อเราลดตัวแก๊สธรรมชาติที่ใช้ในโรงงาน ใช้ไฮโดรเจนมากขึ้น ค่อย ๆลดในลูกค้าในต่างๆ เรื่องนี้ต้องขอเวลา เพราะตอนนี้ทางบริษัทในกลุ่มปตท.Commit ไปแล้วว่า Scope 3 จะลดในปี 2050 เราพูดต้องให้ Realistic หน่อย อันนี้เป็นการบ้าน ต้องขอเวลา”

ส่วนอีก 3 เส้นทางคือ ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิม สร้างปัจจัยที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และรักษาพื้นฐานสำคัญ มุ่งเน้นธรรมาภิบาลและการกำกับกิจการที่ดี บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ยึดถือ Way of Conduct อย่างเคร่งครัด

“ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปตท. ต้องปรับตัว มีความคล่องตัว และมุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมมุ่งสู่การเติบโตขององค์กรในระดับโลกอย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.คงกระพัน กล่าวในท้ายที่สุด

 

You Might Also Like