NEXT GEN

“กสิกรไทย” ชวนภาคธุรกิจทั้ง Corporate + SMEs ร่วมเป็นผู้ชนะ Global Climate Game ด้วยอีโคซิสเต็มใหม่ก้าวสู่ Net Zero

1-3 เมษายน 2567….ผลกระทบของ Climate Change ใหญ่กว่าที่คิด นอกจากกระทบต่อสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังกระทบต่อเศรษฐกิจในจำนวนมหาศาล มีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี 2050 อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไปถึง 3.2 องศา (เกิน Paris Agreement) ตัวเลขความเสียหายของเศรษฐกิจโลกจะมีมูลค่ากว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 18% ของ GDP โลก ลองจิตนาการว่าขนาดโควิดยังส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจโลกคิดเป็น 3% ของ GDP โลก เมื่อถึง ปี 2050 ความเสียหายจะขนาดไหน แต่ที่แน่ๆ ย่อมกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนบนโลก

กลับมาที่ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากทั้งความเสี่ยงเชิงกายภาพ และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน จากผลกระทบของการออกกฎเกณฑ์และกฎระเบียบของคู่ค้า จากประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ที่จะทยอยบังคับใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยถึง 44% ของ GDP

พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า Global Climate Game เป็นเกมที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่างมีการออกข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเทศไทยเองก็เช่นกัน โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการยกร่าง พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ที่กำหนดกลไกทางการตลาดเพื่อให้ธุรกิจลดการปล่อย GHG คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ต่อผู้ประกอบกิจการพลังงาน กิจการโรงงาน และอาคารต่าง ๆ รวมกว่า 80,000 แห่ง

 

เจาะแนวทาง Decarbonization ของ กสิกรไทย

เห็นได้ชัดว่าสมการธุรกิจต่อจากนี้จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากเดิมมูลค่าของธุรกิจจะเกิดจากการแสวงหารายได้เท่านั้น แต่โลกของ Climate Game มูลค่าของธุรกิจ = (รายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิม / ปัจจัยเชิงลบที่กระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม) + ปัจจัยบวกที่ธุรกิจสามารถส่งมอบให้แก่โลกได้
ปี 2564 กสิกรไทยได้ประกาศ Net Zero Commitment รองรับสมการที่เปลี่ยนไป แสดงเจตนารมณ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ วางเส้นทาง Decarbonization สู่เป้าหมาย Net Zero ใน Own Operation ส่วนของ Scope1 และ 2 ภายในปี 2573 และเป้าหมาย Scope 3 คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพอร์ตสินเชื่อของธนาคารสุทธิเป็นศูนย์ สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทย หรือเร่งดำเนินการในส่วนที่ทำได้

ทั้งหมดนี้ดำเนินการผ่าน 4 กลยุทธ์

เริ่มด้วย กลยุทธ์ที่ 1 Green Operation ลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำงานของธนาคาร เพื่อบรรลุเป้า Scope 1-2 เป็น Net Zero โดยพัฒนาระบบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา สั่งสมประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำจริง โดยมีผลการทำงานถึงปัจจุบัน ได้แก่ ธนาคารมีการติดตั้ง Solar Rooftop ที่อาคารหลักของธนาคาร 7 แห่ง ครบ 100% และติดตั้งที่สาขาด้วยแล้วซึ่งจะมีจำนวน 78 สาขา ภายในเดือน มิ.ย. 2567 มีการเปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้ในธุรกิจธนาคารจากรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว 183 คัน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ลดได้ 12.74% เมื่อเทียบปีฐาน (2563) มีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลางทางคาร์บอนมาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (2561-2566) พร้อมเป็น Net Zero ใน Scope 1 – 2 ภายในปี 2573

 

หนุนภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านเป็นธุรกิจสีเขียว

ธุรกิจแต่ละกลุ่มมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียวแตกต่างกัน และSME เป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด โดยธนาคารกสิกรไทยมีสินเชื่อธุรกิจในพอร์ตโฟลิโอรวม 1.7 ล้านล้านบาท และมีลูกค้าธุรกิจจำนวนประมาณ 4.5 แสนราย

นำมาสู่ กลยุทธ์ที่ 2 Green Finance เพื่อบรรลุ Scope 3 โดยกสิกรไทยนำความแข็งแกร่งด้านสินเชื่อและเงินลงทุน สนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร ได้แก่ 1.การให้สินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม (Green Loan) และการให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจในการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance) 2.การจัดสรรเงินลงทุนของธนาคารในธุรกิจและสตาร์ตอัพที่สร้างผลกระทบเชิงบวก 3. การนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนทั้งของธนาคารและพันธมิตรระดับโลกเพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนไปสนับสนุนธุรกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) โดยธนาคารส่งมอบเม็ดเงินสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท (ปี 2565-2566) และคาดว่าจะมียอดรวมเป็น 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 นี้ และจะเป็น 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573

กสิกรไทยได้วางแผนกลยุทธ์รายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) สำหรับการปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ กลุ่มเหมืองถ่านหิน กลุ่มซีเมนต์ และกลุ่มอะลูมิเนียม โดยพบว่ามีความคืบหน้าที่วัดผลได้ อาทิ พอร์ตโฟลิโออุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า ซึ่งธนาคารสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว จำนวน 3,800 ล้านบาท ปัจจุบันธนาคารมีระดับความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Intensity per GWh) ในพอร์ตนี้ลดลง 5% ในปี 2566 เมื่อเทียบกับปีฐาน (2563) ซึ่งสอดคล้องกับแผนที่วางไว้

 

โซลูชันที่มากกว่าแบงก์กิ้ง

แน่นอนว่าสินเชื่อเพียงอย่างเดียวคงไม่พอที่จะทำให้ผู้ประกอบเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวได้ กสิกรไทยจึงมีการบูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการทำงานทั้งของธนาคารเองและการทำงานของลูกค้า ผ่านกลยุทธ์การทำงานเพื่อการส่งมอบบริการที่มากกว่าการเงิน

ทำให้เกิด กลยุทธ์ที่ 3 Climate Solutions โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรโดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตร ประกอบด้วย โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ (Knowledge Provider) ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution) โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP เป็นแพลต์ฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รวมถึงบริการสลับแบตเตอรี่ผ่านจุดบริการ และ“ปันไฟ” (Punfai) เป็นแอปพลิเคชันที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทยที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ รองรับการใช้งานทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ ยังนำประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการวัด Carbon Footprint ของธนาคาร มาใช้เพื่อเตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการเรื่องการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

 

สร้างอีโคซิสเต็มคาร์บอนเครดิต

เพื่อเติมเต็ม Net Zero ให้เป็นไปตามเป้า กสิกรไทยยังดำเนิน กลยุทธ์ที่ 4 Carbon Ecosystem เตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem เพื่อการพัฒนาบริการไปอีกขั้น ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต โดยศึกษาและดำเนินการซื้อคาร์บอนเครดิตสำหรับการชดเชยทางคาร์บอนของธนาคารและบริษัทในกลุ่มฯ เพื่อสนับสนุนคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพ และมีความมุ่งหวังที่จะเป็นตัวอย่างและร่วมผลักดันให้ตลาดคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยเติบโตและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ทั้งนี้ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และ Innopower เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC ได้ รวมถึงธนาคารได้ศึกษาและเตรียมแนวทางในมิติอื่น ๆ ของระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต เช่น การเป็นตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Broker / Dealer) การออกโทเคนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Tokenization)

ในเวลาเดียวกันยังเป็น Knowledge management hub ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้ประกอบการทุกระดับ ตลอดจน SMEs และประชาชนทั่วไป พร้อมสร้างความร่วมมือผลักดันให้เกิดการลงมือทำ สู่การเปลี่ยนผ่านไปยังเป้าหมาย Net Zero

“Global Climate Game เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มีความท้าทายรอทุกคนอยู่ข้างหน้า และภาคธุรกิจต้องเผชิญ ซึ่งหากทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นไปได้มากขึ้น แต่จะทำเพียงลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยพลังจากทุกคน จับมือทำไปด้วยกัน จึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง โดยการดำเนินงานทุกเรื่องในประเทศไทยภายใต้ Global Climate Game เราก็นำไปใช้ในประเทศที่เราไปทำธุรกิจ มีตัวชี้วัดในเรื่องนี้ แม้ว่าประเทศนั้น ๆ จะยังไม่ได้มีระเบียบที่เคร่งครัดในเรื่องนี้” พิพิธ กล่าว

โดยกสิกรไทยพร้อมที่จะนำประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่เรามีช่วยสนับสนุนลูกค้าและภาคธุรกิจไทย และพร้อมที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อของภาคธุรกิจ ลูกค้า ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรแหล่งความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม ตลอดจนภาคการเงินและตลาดทุน บูรณาการศักยภาพ ต่าง ๆ เพื่อส่งมอบเครื่องมือที่จะสร้าง Capability ในวงกว้าง ขับเคลื่อนธุรกิจไทยให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นไว้ได้ และเป็นผู้ชนะ Global Climate Game ไปด้วยกัน

 

ท้ายที่สุด เพื่อความเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น โดยเฉพาะ SMEs ธนาคารกสิกรไทย จัดงาน “EARTH JUMP 2024 : The Edge of Action” เป็นปีที่ 2 ฟอรัมสุดยิ่งใหญ่แห่งปีที่ห้ามพลาด งานที่จะพานักธุรกิจและผู้ประกอบการก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปีนี้จะได้เรียนรู้แนวคิดและเทรนด์ธุรกิจจากผู้บริหารองค์กรชั้นนำและเจ้าของธุรกิจกว่า 30 ราย โอกาสในการรับคำปรึกษาเชิงลึกแบบตัวต่อตัวจาก 10 บริษัทระดับโลกและไทย พร้อมกิจกรรมเวิร์กชอป โดยงานจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 9.00 – 17.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ ซื้อบัตรร่วมงานได้ที่ Zip Event คลิก https://www.kasikornbank.com/k_3IgdPWE หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ K-Contact Center 02-8888888 โดยรายได้จากการขายบัตรจะมอบให้มูลนิธิเพื่อการกุศลต่อไป

 

You Might Also Like