NEXT GEN

เอสซีจี เร่งธุรกิจกรีน ตอบความต้องการโลกท่ามกลางวิกฤตซ้อนวิกฤต

28-29 มกราคม 2565… การก้าวไปข้างหน้า เอสซีจีมีทิศทางชัดเจน สินค้า Green พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด พร้อมทั้งเข้าสู่ Application สุขภาพทางการแพทย์หลากหลาย ไม่ต้องทำตรง ๆ แต่อยู่ในซัพพลายเชนเหล่านี้ได้ โลจิสติกส์ก็มีโอกาสมากเมื่อนำเทคโนโลยี ดิจิทัลมาใช้ สมาร์ท ลิฟวิ่ง เป็นหมวดหมู่สินค้าใหม่ขยายได้อีกมาก เดินหน้าต่อไป คว้าโอกาสเศรษฐกิจฟื้น มั่นใจเสถียรภาพการเงินมั่นคง


รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ได้กล่าวไว้ข้างต้น ก่อนที่ทีมผู้บริหาร ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี จันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ การเงินและการลงทุน เอสซีจี ธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ร่วมกันเล่าถึงเส้นทางธุรกิจกรีนที่ยังคงเดินหน้าเต็มรูปแบบด้วยสถานการณ์ทางการเงินที่ยังมั่นคงอยู่

เสถียรภาพทางการเงินของเอสซีจียังคงแข็งแกร่งด้วยเม็ดเงิน 95,000 ล้านบาท แม้ผลประกอบการปี 2565 ยอดขายเพิ่ม กำไรลดลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี จากต้นทุนพลังงานสูงขึ้นอย่างมาก เงินเฟ้อ เศรษฐกิจจีนชะลอตัว วัฏจักรปิโตรเคมีขาลง แต่การก้าวไปข้างหน้ารองรับความต้องการใหม่ของโลก เอสซีจียังเข้มข้นทางธุรกิจต่อเนื่อง

เอสซีจีธุรกิจพลังงานสะอาด โดยมีขนาดกำลังการผลิต 234 เมกะวัตต์ ในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 จากปีก่อน ด้วยระบบเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Grid สำหรับนิคมอุตสาหกรรม เครือข่ายโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล ล่าสุดติดตั้งแล้วที่กลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน บางปะกง เชื่อมโยงพลังงานสะอาดระหว่าง 10 บริษัท ช่วยลดต้นทุนพลังงาน ร้อยละ 30 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3,670 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

ติดตั้งระบบเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Grid ที่กลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน บางปะกง

ธุรกิจนี้ต่อยอดจากความเชี่ยวชาญด้านพลังงานสะอาดของเอสซีจี เพื่อลดผลกระทบจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น ตามการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานในตลาดโลก โดยปี 2565 เอสซีจีเพิ่มสัดส่วนใช้เชื้อเพลิงทดแทนเป็นร้อยละ 34 จากร้อยละ 26 ในปีก่อน และมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 194 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจาก 130 เมกะวัตต์ในปีก่อน ขณะเดียวกัน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมทั้งกำลังพัฒนาเทคโนโลยีดักจับและใช้ประโยชน์คาร์บอน (Carbon Capture and Utilization – CCU) จากการผลิตปูนซีเมนต์ในไทยและอาเซียน เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero 2050 โดยร่วมกับ นิปปอน สตีล เอ็นจิเนียริ่ง และ ไทยนิปปอน สตีล เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น”

การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก “SCGC GREEN POLYMERTM” เร่งเครื่องต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาดโลก มียอดขายกว่า 140,000 ตัน เติบโตกว่า 5 เท่า ในปีที่ผ่านมา อีกทั้ง ได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกครบวงจร โดยลงนามซื้อกิจการของคราส (Kras) / Recycling Holding Volendam B.V. ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจฯ ตั้งแต่การจัดเก็บ คัดแยก ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ครอบคลุมภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม ทั้งนี้พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจาก SCGC ได้รับมาตรฐานสากลจากหลายองค์กรชั้นนำระดับโลก

คราส (Kras) ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ และบริษัท ลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ จำกัด โครงการปิโตรเคมีครบวงจร ที่เวียดนาม

EuCertPlast จากยุโรป รับรองแหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลว่ามาจากพลาสติกใช้แล้ว ช่วยลดปัญหาขยะ และมาตรฐาน Recyclass จากการพัฒนาสารเคลือบชั้นฟิล์มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิลให้กับบรรจุภัณฑ์พลาสติก ถือเป็นรายแรกในอาเซียน ขณะเดียวกัน บริษัท ลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ จำกัด (Long Son Petrochemicals Company Limited – LSP) โครงการปิโตรเคมีครบวงจร ที่เวียดนาม คืบหน้ากว่าร้อยละ 98 พร้อมเดินเครื่องผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดกลางปีนี้

เอสซีจี เข้าสู่ Application สุขภาพทางการแพทย์หลากหลาย เร่งผลักดันธุรกิจสมาร์ท ลิฟวิ่ง โดยเฉพาะโซลูชันเพื่อประหยัดพลังงานและค่าไฟ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในช่วงค่าไฟปรับตัวสูง โดยในปี 2565 เติบโตกว่าร้อยละ 40 อาทิ “SCG Air Scrubber” นวัตกรรมประหยัดพลังงานระดับโลก สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ศูนย์ประชุม หรือห้างสรรพสินค้า มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 20-30 ติดตั้งแล้ว 7 อาคารขนาดใหญ่ เช่น ศูนย์การค้า Terminal 21 สาขาพัทยา, Kloud by Kbank สยามสแควร์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี จึงจะมีโครงการลงทุนขยายรุ่นสินค้าตามความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ ได้พัฒนา “SCG Built-in Solar Tile” นวัตกรรมแผงโซลาร์สำหรับบ้านสไตล์โมเดิร์น ที่ออกแบบเนียนเรียบไปกับผืนหลังคา ช่วยลดค่าไฟได้ร้อยละ 60 ซึ่งเอสซีจีเชื่อว่า 5-10 ปีข้างหน้า บ้านจะมีโซลาร์กันครบ

SCG Air Scrubber นวัตกรรมประหยัดพลังงานระดับโลก ช่วยประหยัดพลังงาน 20-30% และ SCG Built-in Solar Tile นวัตกรรมแผงโซลาร์ ที่ออกแบบเนียนเรียบไปกับผืนหลังคา ช่วยลดค่าไฟได้ 60%

ส่วนโซลูชันบรรจุภัณฑ์ SCGP พัฒนานวัตกรรม “เส้นใยนาโนเซลลูโลส” จากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร พร้อมขยายไปยังอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ และวัสดุคอมโพสิต รวมถึงต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สู่การปลูกพืชและสมุนไพรมูลค่าสูง ตลอดจนมุ่งพัฒนาวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตมาเป็นพลังงานหมุนเวียน โดยอยู่ระหว่างการพัฒนา “เทคโนโลยี Torrefaction” เพื่อใช้พลังงานชีวมวล (Biomass) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เสริมการดำเนินงานด้าน ESG

ALMIND by SCGP มีส่วนผสมของนาโนเซลลูโลสช่วยทำให้ผิวสัมผัสชุ่มชื้น

นับเป็นการเร่งขยายธุรกิจใหม่ มุ่งสินค้ากรีน ตอบความต้องการโลก คว้าโอกาสเศรษฐกิจฟื้น สร้างการเติบโตต่อเนื่อง กลุ่มพลังงานสะอาดโต 78% พลาสติกรักษ์โลกยอดขายกว่า 140,000 ตัน ขยายตัวกว่า 5 เท่า โซลูชันประหยัดพลังงานบวกรับตลาด 40% พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ลดการใช้ทรัพยากร ล่าสุด LSP พร้อมเดินเครื่องผลิตสินค้าสู่ตลาด กลางปี 2566 มั่นใจการเงินมั่นคง จากการรักษาสภาพคล่องอย่างเคร่งครัด มุ่งลดต้นทุน ลงทุนตามกลยุทธ์อย่างรอบคอบ

 

You Might Also Like