NEXT GEN

J.P.Morgan เผย “พิจารณาผลกระทบต่อพอร์ตโฟลิโอจาก COP26”

26 ตุลาคม 2564…ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ บรรดาประเทศมหาอำนาจจะประชุมกันใหม่ หารือแผนระดับโลกเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ภายใต้ชื่อ COP26 (การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26)

ทั้งนี้ จะได้เห็นบรรดาผู้นำทบทวนพันธกรณีที่ทำขึ้นภายใต้ข้อตกลงปารีสในปี 2015 ประเมินความคืบหน้าจนถึงปัจจุบัน และกำหนดแผนงานสำหรับอนาคต ความมุ่งมั่นที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในปี 2015 คือการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมภายในสิ้นศตวรรษนี้

สิ่งที่แตกต่างเกี่ยวกับการประชุมประจำปีนี้ คือ สหรัฐฯ กลับร่วมประชุมอีกครั้ง ทำให้เกิดแรงผลักดันใหม่ วาระสำคัญอันดับต้น ๆ คือการเปรียบเทียบผลลัพธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของนานาชาติกับสิ่งที่วางแผนไว้ และประเมินว่าเพียงพอหรือไม่ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสภาพภูมิอากาศโลก

ข้อสรุปมีแนวโน้มว่าต้องเพิ่มความพยายามมากขึ้น แม้รัฐบาลหลายประเทศได้เร่งดำเนินการตามแผนแล้วก็ตาม สหภาพยุโรปวางแผนที่จะลดการปล่อยมลพิษลง 55% ภายในปี 2030 ขณะที่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิภายในปี 2050 ได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ในปี 2020 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักกลุ่มแรกที่ระบุให้เป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิเป็นกฎหมาย ส่งผลให้หลายๆ ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา กำลังทำตาม ขณะที่จีนให้เวลาตัวเองเพิ่มอีก 1 ทศวรรษ โดยมีเป้าหมายปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2060

การปรับโฉมใหม่ของสหรัฐอเมริกาด้วยความคิดริเริ่มด้านสภาพภูมิอากาศโลกเป็นตัวเปลี่ยนเกม หลังจากจัดการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศโลกในวันคุ้มครองโลกและสนับสนุนการประกาศของ G7 เพื่อยุติการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2025 ประเด็นสำคัญ คือ สหรัฐฯ มีแนวโน้มสนับสนุน Grand Climate Accord ใหม่ในช่วง COP26

ด้วยประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มุ่งมั่นทำตามเป้าหมายอยู่แล้ว ทำให้เป็นไปได้สูงที่การบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ กลายเป็นเป้าหมายระดับโลกอย่างเป็นทางการใหม่ เรื่องนี้จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก

ตัวอย่าง มีโอกาสสูงที่ในการประชุม COP26 จะมีนโยบายใหม่ ๆ และการลงทุนสำคัญในโครงสร้างพื้นฐานแบบ Green เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ผู้กำหนดนโยบายจะต้องเพิ่มแรงจูงใจของภาคเอกชนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ดังนั้นการริเริ่มการกำหนดราคาคาร์บอน เช่น แผนการซื้อขายการปล่อยมลพิษ (ETS) และภาษีคาร์บอนจึงน่าจะเป็นหัวข้อสำคัญของการพูดคุยที่ COP26

ทั้งนี้ การอภิปรายดังกล่าวอาจนำไปสู่ความตึงเครียดทางการค้า เนื่องจากประเทศต่าง ๆ มักกล่าวโทษ รวมถึงจำเป็นต้องเปลี่ยนคนอื่น หากดูจากข้อมูลของแต่ละประเทศ จีนเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด แต่หากดูข้อมูลคิดตามประชากรรายหัวแล้ว จะพบว่าสหรัฐฯ มีสิ่งที่จะต้องทำมากที่สุด มองมุมนี้ หลาย ๆ ประเทศอาจโต้แย้งว่าการเปรียบเทียบที่เหมาะสมที่สุดโดยคำนึงถึงขั้นตอนของการพัฒนาเศรษฐกิจหรือ GDP ซึ่งแนวคิดนี้อาจขัดขวางความสามารถในภาพรวมของกลุ่มที่จะยอมรับวิธีแก้ปัญหาร่วมกันก็เป็นได้

 

อุปสรรคที่มีผลต่อความก้าวหน้า ซึ่งพิสูจน์ได้จากความสับสนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับยุโรป ซึ่งก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น ๆ มากในด้านนี้ รวมถึงความกระตือรือร้นที่จะทำให้แน่ใจว่า มาตรฐานการกำกับดูแลระดับสูงของตนเองนั้นตรงกันในที่อื่น ๆ เพื่อให้มาตรการต่าง ๆ เช่น ราคาคาร์บอนที่สูงขึ้นในสหภาพยุโรปไม่ทำลายความสามารถในการทำกำไร หรือความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในภูมิภาค หากสหภาพยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกาไม่สามารถตกลงเรื่องราคาคาร์บอนร่วมกันได้ สหภาพยุโรปอาจจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขในระยะสั้นเพื่อให้แน่ใจว่าความพยายามด้านสภาพภูมิอากาศจะไม่ส่งผลเสียต่อธุรกิจในยุโรป

ทางออกหนึ่งที่ดูเหมือนจะปรับใช้ได้ดีในยุโรป คือ กลไกการกำหนดกรอบคาร์บอน (CBAM- Carbon Border Adjustment Mechanism) อัตราดังกล่าวนี้ ถูกออกแบบเพื่อให้แน่ใจว่า Footprint ด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์จะมีราคาเท่ากันไม่ว่าจะผลิตในประเทศหรือนำเข้า

นักลงทุนควรตระหนักว่า การประกาศทั้งระหว่างและภายหลังการประชุม COP26 อาจส่งผลต่อพอร์ตการลงทุนของพวกเขาอย่างไร บางบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Green ใหม่ หรือจากการเตรียมพร้อมที่ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ขณะที่ก็อาจมีเสียโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ต้องเผชิญกับต้นทุนสูงขึ้นเนื่องจากราคาคาร์บอนที่สูงขึ้น  

ที่มา

You Might Also Like