CSR

เขาวัดคะแนนด้านสังคมของซูเปอร์มาร์เก็ต

5 สิงหาคม 2562…เปิดเผยการประเมินนโยบายสาธารณะด้านสังคมของของซูเปอร์มาร์เก็ตต่างประเทศ จริงจังในการร่วมแก้ปัญหากับภาคประชาสังคมและ คู่ค้าในระดับท่ีมากกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตไทย

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และองค์การอ็อกแฟมในประเทศไทย สะท้อนถึงความแตกต่างระหว่าง “นโยบายและแนวปฏิบัติของบริษัท” กับ “กิจกรรมประชาสัมพันธ์ (PR Activities) หรือกิจกรรม CSR” กล่าวคือ

ในขณะท่ีกิจกรรมประชาสัมพันธ์และ CSR มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสื่อสารแก่ผู้บริโภคในวงกว้าง แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตไทยในภาพรวมกลับมีการเปิดเผยนโยบายของบริษัทออกสู่สาธารณะในระดับต่า ทั้งในด้านท่ีมาของอาหาร นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน และการทางานกับคู่ค้า และเนื้อหาของนโยบาย เหล่านั้นยังคงอยู่ในขอบเขตที่จากัด

ความแตกต่างประการสำคัญระหว่างกิจกรรม PR และ CSR กับนโยบายและแนวปฏิบัติของบริษัท คือกิจกรรม PR และ CSR โดยมาก ไม่ได้ถูกปรับใช้กับการดำเนินงานทุกระดับขององค์กร ตลอดจนไม่ได้เป็นพันธะหรือข้อผูกมัดท่ีบริษัทต้องปฏิบัติตาม นอกจากน้ีกิจกรรมเชิงประชาสัมพันธ์หรือ CSR ยังเป็นสิ่งที่บริษัทสามารถจะเริ่มทำหรือเลิกทำในเวลาก็ได้

สิ่งเหล่านี้ ได้สะท้อนออกมาในผลประเมินนโยบายสาธารณะด้านสังคม (Supermarket Scorecard)

กล่าวได้ว่า “การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและแนวปฏิบัติ” มีความเป็นรูปธรรม มากกว่า มีผลกระทบเชิงบวกมากกว่าท้ังในเชิงกว้างและเชิงลึก และเป็นสิ่งท่ีผูกพันกับบริษัทในระยะยาว จึงเป็นส่ิงท่ีบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงน้อยกว่า และส่งผลให้กิจกรรม PR และ CSR เป็น ทางออกท่ีง่ายและสะดวกท่ีสุดสำหรับซูเปอร์มาร์เก็ตไทย

เมื่อหันไปดูซูเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศ ที่ได้รับการประเมินผ่านกรอบการประเมิน Scorecard พบว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศมีความจริงจังในการร่วมแก้ปัญหากับภาคประชาสังคม และคู่ค้าในระดับท่ีมากกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก “การริเร่ิมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท่ีเก่ียวข้อง” (Multi-Stakeholder Initiatives – MSIs) ซึ่งเป็นรูปแบบการทางานที่ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้เปราะบาง (เช่น แรงงานข้ามชาติ หรือ เกษตรกรรายย่อยที่เป็นสตรี) หาทางออกร่วมกันในการแก้ปัญหาในห่วงโซ่อุปทานอาหาร

Cr.ภาพ retaildetail.nl

ผลการประเมินของซูเปอร์มาร์เก็ตช้ันนำในประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี พบว่า จากซูเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 16 ราย มีซูเปอร์มาร์เก็ต 8 รายในต่างประเทศท่ีมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายท่ีดีข้ึนอย่างชัดเจน และมีการสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าวสู่สาธารณะ ส่งผลให้ผลประเมินของซูเปอร์มาร์เก็ตเหล่าน้ีดีข้ึนอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (เพิ่มข้ึนโดยเฉลี่ย 10-15%)

ทั้งน้ี ซูเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศ 8 ราย ได้ประกาศคำมั่นและจุดยืนต่อสาธารณะในการสนับสนุน “หลักการแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน” (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) ตลอดจนเปิดเผยรายชื่อผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบและดูแลงานด้านสิทธิมนุษยชน ท่ีครอบคลุมไปถึงคู่ค้า แรงงาน และเกษตรกรรายย่อย ในห่วงโซ่อุปทานสินค้าอาหาร

นอกจากนี้ ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเนเธอร์แลนด์ 2 แห่ง (Albert Heijn และ Jumbo) เป็น ซูเปอร์มาร์เก็ต 2 รายแรกท่ีให้คำมั่นต่อสาธารณะท่ีจะเปิดรายช่ือของคู่ค้าลำดับแรก (First-tier Supplier) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ อาหารที่ผลิตภายใต้แบรนด์ของห้างเอง (Private-Label Product)

ในขณะเดียวกัน หลังจากได้รับแรงกดดันจากผู้บริโภค ซูเปอร์มาร์เก็ต ในประเทศเยอรมนี Aldi South ได้ประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน บนช่องทางสาธารณะของบริษัทเป็นครั้งแรก ตลอดจนเริ่มให้ข้อมูล ถึงประเภทของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานและแหล่งที่มาของความเสี่ยงดังกล่าว

Cr.ภาพ Aldi South

ตัวอย่างของซูเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศที่มีผลประเมินดีขึ้นภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี แสดงให้เห็นว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในหลายประเทศตระหนักว่า ปัญหาและสถานการณ์ในห่วงโซ่อุปทานอาหารที่เกิดข้ึนกับแรงงานในภาคการเกษตร เกษตรกรายย่อย และสตรี ในประเทศต้นทางการผลิต เป็นหนึ่งในความรับผิดชอบ ของตนเอง

ปัจจุบันซูเปอร์มาร์เก็ตช้ันนำในหลายประเทศได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบ ผ่านการแสดง ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา การปรับเปลี่ยนนโยบายและแนวปฏิบัติกับคู่ค้า และสื่อสารข้อมูลเหล่านั้นให้ ผู้บริโภคได้รับทราบ

 

 

You Might Also Like