CIRCULAR ECONOMY

P&G ถือธงนำหน้าพันธมิตรเพื่อมุ่งสู่ การลดใช้ “น้ำ”

23 พฤศจิกายน 2563…น้ํามีส่วนสําคัญในแผนความยั่งยืนของ P&G หรือ Procter & Gamble’s Ambition 2030 โดยมีเป้าหมายที่จะลดการใช้น้ําลง 35% ต่อหน่วยการผลิต (เมื่อเทียบกับปี 2010) และจัดหาน้ําอย่างน้อย 5,000 ล้านลิตร เกือบ 8% ของการบริโภค จากกระบวนการแบบ Circular ภายในปี 2030 แต่แหล่งการได้มาใหญ่ที่สุด คือ การใช้น้ํากับผลิตภัณฑ์ใช้ภายในบ้านของพวกเขา


ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ไขปัญหาลดปริมาณการใช้น้ำ (Water Footprint) ในภาพรวม บริษัทเป็นหัวหอกความคิดริเริ่มใหม่ของโครงการที่มีชื่อว่า 50L Home Coalition ซึ่งทํางานร่วมกับ Electrolux, Kohler, Engie, Suez and Arcadis World Bank Group, WBCSD และ World Economic Forum เพื่อพัฒนาโซลูชั่นที่ให้ผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อวิกฤตน้ําในเมือง

ความร่วมมือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำบริษัทต่างๆ ผู้กําหนดนโยบาย และชุมชนมาร่วมกัน เพื่อพัฒนา และปรับขยายขนาดนวัตกรรมทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าของน้ําในประเทศ และพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะสร้างบ้านที่ผู้คนสามารถอยู่ได้อย่างสะดวกสบายโดยใช้น้ํา 50 ลิตรต่อวัน

นั่นคือ จํานวนน้ำที่บรรดาผู้อาศัยในเคปทาวน์ถูกจํากัดให้ใช้เมื่อปี 2018 ตอนที่เมืองต้องเผชิญวิกฤตขาดน้ำ และเป็นปริมาณน้ําขั้นต่ำที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่าเ เป็นสิ่งจําเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าความต้องการขั้นพื้นฐานที่สุดของประชาชนแต่ละคนจะได้รับการตอบสนอง

ทั้งนี้ บ้านในยุโรป สามารถบริโภคน้ำได้ถึง 300 ลิตรต่อวัน ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาใช้น้ําได้สูงถึง 500 ลิตรต่อวัน

น้ำร้อนสำหรับอาบน้ำเป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนในประเทศ (เครดิต: Chayatorn Laorattanavech / Shutterstock)

Frantz Beznik ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมที่ยั่งยืนที่ P&G กล่าวว่า เป้าหมายที่ทะเยอทะยานเช่น 50 ลิตรเป็นสิ่งจําเป็น “เพื่อสร้าง mindset สําหรับนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่” หนึ่งในภารกิจแรกที่ทํางานร่วมกับ Kohler และ Electrolux คือการกําหนดงบประมาณสําหรับแต่ละจุดของการใช้น้ําในบ้านตั้งแต่ก๊อกครัวจนถึงห้องอาบน้ํา

 
 การใช้น้ําซ้ำเป็นอีกหนึ่งจุดสนใจหลักสําหรับนวัตกรรม แทนที่จะส่งน้ําเสียจากห้องอาบน้ําและเครื่องซักผ้าไปยังโรงบําบัดเทศบาล Beznik คาดการณ์ว่า วิศวกรรมระบบและเคมีอัจฉริยะ จะช่วยให้สามารถใช้น้ําซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น น้ําจัดการด้วย ระบบดิจิตอล ซึ่งทําให้ผู้อาศัยเห็นการใช้น้ําอย่างชัดเจน

“สมองของพวกเราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับเรื่องการนำน้ำมาใช้ใหม่ หรือวิธีที่จะนำน้ําใช้งานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งแล้ว ใช้ได้อีกครั้ง เช่น เราจะนำน้ำที่ใช้ในครัวไปใช้ในห้องน้ำได้อย่างไร” Beznik กล่าว

การจัดการกับการใช้น้ําจะทําให้มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงด้วย เพราะการใช้น้ําร้อนสําหรับการใช้งานและทำให้บ้านอุ่นก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนในประเทศจํานวนมาก Beznik ชี้ให้เห็น ว่าบ้านที่ใช้น้ำขนาด 50 ลิตรจะเป็นตัวช่วยให้มุ่งสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ มันจะทําให้เรามีงบประมาณเหลือสำหรับจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

โครงการนี้ต้องการความร่วมมือกับเมืองต่างๆด้วย เพื่อดำเนินโครงการนําร่อง ยิ่งกว่านั้น มีการพูดคุยกันแล้วทั้งในจีนและสหรัฐอเมริกา, รวมถึงอินเดีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพการจัดงาน 2030 Water Resources Group ซึ่งจะเกิดการพัฒนามากขึ้นแน่นอนจากบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย.

ที่มา

 

You Might Also Like