ALTERNATIVE

เปิดห้องทำงาน “ดีแทคคอลเซ็นเตอร์ภาษามือ” ความภูมิใจของผู้พิการทางการได้ยิน

10 เมษายน 2565… “ขอขอบคุณดีแทคที่ให้โอกาสมาทำงานเป็นคอลเซ็นเตอร์” พนักงาน “ดีแทคคอลเซ็นเตอร์ภาษามือ” กล่าวในห้องทำงานของเขา เมื่อได้มีโอกาสทำงานนี้  ซึ่งถือเป็นอาชีพใหม่  เพราะผู้พิการทางการได้ยิน จะไม่เคยได้รับโอกาสแบบนี้มาก่อน

บริเวณชั้น 5 ของสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย อ่อนนุชวันจันทร์ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น. พนักงาน “ดีแทคคอลเซ็นเตอร์ภาษามือ” ซึ่งเป็นผู้พิการทางการได้ยินทั้งสามคือ นิว บุ้ง และไกด์  จะทำงานพูดคุยกับลูกค้าที่เป็นผู้พิการทางการได้ยิน โทรเข้ามาสอบถามข้อมูล โปรโมชั่นต่าง ๆ ของดีแทค ยอดค่าใช้จ่าย และสัญญาณการใช้งาน

นิว มีโอกาสรับสายลูกค้าผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งเล่าให้ฟังถึงการใช้บริการค่ายอื่นมีปัญหาการสื่อสาร แม้จะไปที่ศูนย์แต่การสื่อสารก็ลำบาก  เมื่อทราบว่าดีแทคมีคอลเซ็นเตอร์ภาษามือ  ลูกค้าดีใจและย้ายค่ายมาใช้บริการของดีแทค

“ช่วงเวลาที่ดีแทคเริ่มให้บริการดีแทคคอลเซ็นเตอร์ภาษามือประมาณ 20 กว่าวันสถิติที่เราพบ ลูกค้าผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งรับทราบข้อมูลก็ติดต่อเข้ามา ประมาณ 50 ราย ข้อมูลที่ถามส่วนใหญ่เป็นเรื่องแพ็กเกจดีทั่วดีถึง เพื่อคนพิการ”

วิรัช และวิทยุต

วิรัช จารุโชคทวีชัย ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานบริการลูกค้าคอลเซ็นเตอร์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวถึงดีแทคคอลเซ็นเตอร์ภาษามือในการเริ่มให้บริการลูกค้า   ทั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกับสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ   โดยดีแทคได้มีการจัดอบรมพนักงานที่พิการทางการได้ยิน พร้อมติดตั้งระบบการจัดการคอลเซ็นเตอร์เต็มรูปแบบ  ซึ่งผู้ต้องการใช้บริการสามารถเพิ่มเพื่อนทางไลน์ดีแทค คอลเซ็นเตอร์ ด้วยฟังก์ชั่นวิดีโอ คอลล์ เพิ่มเป็นเพื่อนพนักงานคอลเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ ยังให้บริการลูกค้าผู้พิการทุกค่ายในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ผ่านช่องทางของผู้พิการ

วิทยุต บุนนาค นายกสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันผู้พิการทางการได้ยิน (หูหนวก) ในประเทศไทยมีประมาณ 4 แสนคน การที่ได้มาเป็นดีแทคคอลเซ็นเตอร์ภาษามือ นับเป็นเรื่องใหม่ของพวกเรา

“คอลเซ็นเตอร์ภาษามือของดีแทค ถือเป็นประตูสู่การพัฒนาศักยภาพทางการได้ยิน หรือความช่วยเหลืออื่นๆ  เช่น การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล การค้าขายออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้คนพิการทางการได้ยินได้ทำงานที่มีคุณค่า ทำให้เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจที่ได้พึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือองค์กร และสังคมได้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม”

ดีแทคตระหนักถึงภารกิจในการส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร ตามหลักการสิทธิมนุษยชนที่ยึดถือว่า การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อเสรีภาพในการแสดงออกและการใช้ประโยชน์เพื่อคุณภาพชีวิตเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนต้องได้รับ และเป็นการส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ดีแทคจึงส่งมอบบริการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า หลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการให้บริการ 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาพม่า ภาษากัมพูชา และภาษามือไทย โดยผู้พิการทางการได้ยิน หรือแม้แต่ในวิกฤตโควิด-19 ทีมคอลเซ็นเตอร์ก็ได้จัดทีมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการเข้าถึงระบบ Telemedicine ผ่านความร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช

นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการคอลเซ็นเตอร์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ซึ่งดำเนินการมาแล้วทั้งสิ้น 6 ปี โดยปัจจุบันพนักงานผู้พิการทางการมองเห็นทั้ง 15 คนมีสถานะเป็นพนักงานประจำแล้วทั้งสิ้น สามารถทำเรื่องขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ มีโอกาสทัดเทียมกับคนปกติทั่วไป ซึ่งนี่ถือเป็น “โอกาส” ที่แท้จริง

ระหว่างที่บุ้ง นิว และไกด์การทำงานให้บริการลูกค้าผู้พิการทางการได้ยินทุกค่าย

ที่ห้องทำงานคอลเซ็นเตอร์ภาษามือ นอกจากบุ้งจะรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมงานกับทางดีแทคที่ให้โอกาสทำงาน ไม่ต่างจากไกด์ ตอนอบรมก็ยังไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไหร่ว่างานจะเป็นอย่างไร  จนกระทั่งเมื่อเริ่มทำงาน ได้เจอคนหลากหลายที่พิการทางหูมีภาษามือจะแตกต่างกันเหมือนเวลาพูดภาษาแต่ละภาคจะไม่เหมือนกัน  ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง  ทำให้ได้ประสบการณ์แปลกใหม่หลากหลายขึ้น  เป็นเรื่องราวใหม่ ๆ ที่เพิ่มพูนความรู้  รู้สึกดีใจที่ได้มาทำงานที่นี่ ขอบคุณดีแทคที่ให้โอกาสมาทำงาน

“การจัดตั้งคอลเซ็นเตอร์ภาษามือในครั้งนี้ นับว่ามีความท้าทายกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากมีผู้พิการทางการได้ยินเพียง 25% เท่านั้นที่ได้รับการศึกษาภาษามือแบบเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม เราจะพยายามอย่างเต็มความสามารถ เพราะสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการที่แท้จริงคือ โอกาสและการยอมรับจากสังคม”  วิรัช กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลเพิ่มเติม

You Might Also Like