Search Results for “E-Waste” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Wed, 10 Apr 2024 13:05:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 AIS x Lazada เอาใจขาช้อปสายกรีนด้วยส่วนลด “ทิ้งปั๊บ รับโค้ด” หลังทิ้ง E-Waste อย่างถูกวิธี https://www.sdperspectives.com/circular-economy/23343-ais-x-lazada-e-waste/ Thu, 15 Feb 2024 02:24:29 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=23343 15 กุมภาพันธ์ 2567...AIS เดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ HUB of E-Waste ล่าสุดผนึกกำลัง Lazada ยักษ์ใหญ่ในวงการ e-Commerce ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567

The post AIS x Lazada เอาใจขาช้อปสายกรีนด้วยส่วนลด “ทิ้งปั๊บ รับโค้ด” หลังทิ้ง E-Waste อย่างถูกวิธี appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>

15 กุมภาพันธ์ 2567…AIS เดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ HUB of E-Waste ล่าสุดผนึกกำลัง Lazada ยักษ์ใหญ่ในวงการ e-Commerce เอาใจขาช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีหัวใจรักษ์โลกรักสิ่งแวดล้อม ผุดแคมเปญ “ทิ้งปั๊บ รับโค้ด” สำหรับการไปช้อปปิ้งออนไลน์ ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567

จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2565 พบว่า สถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้น 676,146 ตัน 65% เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 35% เป็นของเสียอันตรายประเภทอื่นๆ เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์ 236,651 ตัน ซึ่งถูกรวบรวมและนำไปกำจัดเพียง 12.86% เท่านั้น นั่นหมายความว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เหลือเกือบ 90% ใช้กระบวนการจัดการที่ไม่ถูกวิธี

นับเป็นการย้ำภารกิจ AIS สร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและนำ E-Waste เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีโดยปราศจากการฝังกลบหรือ Zero e-waste to landfill ขณะที่ ลาซาด้าได้มีการพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS และมาริสา ยูนิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือในแคมเปญ “ทิ้งปั๊บ รับโค้ด”

มาริสา ยูนิพันธุ์ และ สายชล ทรัพย์มากอุดม

สำหรับ AIS นับเป็นการยกระดับการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Waste สู่การเป็นแกนกลางที่พร้อมเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ในมิติต่าง ๆ มากกว่า 190 องค์กรทั่วประเทศ ในฐานะศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ HUB of E-Waste ส่วนลาซาด้า ตอบโจทย์เป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนในสังคมอย่างยั่งยืนด้วยแนวทางการดำเนินงานด้วย ESG

“การทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม e-Commerce ชั้นนำอย่าง Lazada ในครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของทั้งสององค์กรในการเชิญชวนและสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าและสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาของ E-Waste หากนำไปทิ้งและกำจัดอย่างผิดวิธี เราเชื่อว่าแคมเปญ ทิ้งปั๊บ รับโค้ด จะช่วยกระตุ้นทำให้ลูกค้าเห็นความสำคัญและนำ E-Waste มาฝากทิ้งกับ AIS เพื่อนำขยะเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีตามเป้าหมายแบบปราศจากการฝังกลบหรือ Zero e-waste to landfill” สายชลขยายความเพิ่มเติม

หนึ่งในมิติของการดำเนินงานลาซาด้า ได้ให้ความสำคัญกับการลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการยึดแนวปฏิบัติที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

“การผนึกกำลังความร่วมมือกันระหว่าง ลาซาด้า ประเทศไทย และ AIS ในการช่วยแก้ปัญหา E-Waste อย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนในการสร้างการตระหนักรู้ พร้อมที่จะร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกค้ามาเข้าร่วมแคมเปญได้ง่ายและสะดวกขึ้น ผ่านการมอบโค้ดส่วนลดในการช้อปปิ้งบนแพลตฟอร์มลาซาด้า ตอบโจทย์เป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนในสังคมอย่างยั่งยืน” มาริสา กล่าว

“ทิ้งปั๊บ รับโค้ด” หลังทิ้ง E-Waste อย่างถูกวิธี

ลูกค้าสามารถเข้าร่วมแคมเปญ “ทิ้งปั๊บ รับโค้ด” ด้วยการนำขยะ E-Waste ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ อะแดปเตอร์ หูฟัง แบตเตอรี่มือถือ หรือแม้แต่ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มาฝากทิ้งกับ AIS ที่ AIS Shop ในสาขาที่ร่วมรายการ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ แพลตฟอร์มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บน Blockchain ที่จะทำให้เรารู้สถานะการทิ้งตั้งแต่ต้นทางจนเข้าสู่การรีไซเคิล รับทันทีโค้ดส่วนลดมูลค่า 40 บาท ให้ลูกค้าไปใช้เป็นส่วนลดในการช้อปปิ้งออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Lazada (ขั้นต่ำ 299 บาท) โดยสามารถทิ้งและรับโค้ดได้สูงสุดถึง 4 ครั้ง ต่อเดือน สามารถดูรายละเอียดที่ https://pages.lazada.co.th/wow/gcp/lazada/channel/th/partnership/aisewaste24

 

The post AIS x Lazada เอาใจขาช้อปสายกรีนด้วยส่วนลด “ทิ้งปั๊บ รับโค้ด” หลังทิ้ง E-Waste อย่างถูกวิธี appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
Green Electronics แรงกดดันด้าน ESG และขยะอิเล็กทรอนิกส์ https://www.sdperspectives.com/next-gen/23046-green-electronics-esg/ Thu, 18 Jan 2024 14:03:59 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=23046 18 มกราคม 2567...SCB EIC เผยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังเผชิญกับแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงภายใต้แรงกดดันในด้าน ESG รวมทั้งปัญหาปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

The post Green Electronics แรงกดดันด้าน ESG และขยะอิเล็กทรอนิกส์ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>

18 มกราคม 2567…SCB EIC เผยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังเผชิญกับแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงภายใต้แรงกดดันในด้าน ESG รวมทั้งปัญหาปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ท่ามกลางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและกระแสรักษ์โลก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังเติบโตไปพร้อมกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น จากรายงานของ IDTechEx ปี 2022 พบว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 4% ของสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบผลิตภัณฑ์และกฎหมายท้องถิ่นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการถูกยกเลิกการใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงปัญหาปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศและก่อให้เกิดการปล่อยสารเคมีอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยจากข้อมูลของ The global e-waste monitor คาดการณ์ว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 59.4 ล้านเมตริกตันในปี 2022 มาอยู่ที่ 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030 หรือมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยราว 2 ล้านเมตริกตันต่อปี

แรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญให้ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากความตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงเทรนด์การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการวางกลยุทธ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียวมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดโลก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Future market insights ที่คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นจาก 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 เป็น 177.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2033 หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 26.14% ต่อปี

ยิ่งไปกว่านั้นภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนด้าน Green technology มากขึ้น

 

ตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่ีใส่ใจส่ิงแวดล้อม

แนวโน้มการลงทุนใน Green technology จะส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่ 1) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ เช่น ตัวเก็บประจุเซรามิกแบบหลายชั้น (Multilayer ceramic capacitors) ซิลิคอนเวเฟอร์ และฟิล์มสำหรับชิป (ABF) 2) การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง (Advance chips) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Power chips, Analog chips และ Memory chips เป็นต้น และการผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับบริหารจัดการพลังงาน (Power management) เช่น มอเตอร์ แบตเตอรี่สำรอง (Storage batteries) และระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverters) สำหรับการแปลงกระแสไฟฟ้า และ 3) การผลิตสินค้าขั้นปลาย เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า สมาร์ตโฟน Data centers เซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน

SCB EIC มองว่า ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวควรมีการวางแผนกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงการสร้างความร่วมมือกับ Eco partner มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืนในอนาคต

สำหรับแนวทางในการปรับกลยุทธ์ไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

1.การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Material selection) โดยจะต้องเป็นวัสดุที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำหรือเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ อย่างเช่น อะลูมิเนียม (Aluminium) แก้วทนความร้อนสูง (Borosilicate glass) และเหล็กผสมโลหะ (Iron alloy) ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้

2.การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน (Energy efficiency) เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและผ่านการรับรองด้านสิ่งแวดล้อม

 

มูลค่าตลาดการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โลก

3.การวางแผนการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือการรีไซเคิล การควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายในการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น สำหรับในส่วนของประเทศไทยเองก็ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยกรมควบคุมมลพิษได้ออกแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทยอีกด้วย

4.การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ทั้งการลงทุนและการสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาร่วมกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

5.การพัฒนาทักษะแรงงานดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับแนวโน้มการลงทุนในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต

ทั้งนี้ สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ด้าน ESG อย่างจริงจัง โดยเน้นการวางแผนกลยุทธ์ในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เริ่มตั้งแต่การควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสากล การออกผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่ปล่อยคาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Electronics)

ยิ่งไปกว่านั้นนอกจากการปรับตัวของผู้ประกอบการแล้ว ยังคงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสมตั้งแต่ต้นทางจากฝั่งของผู้ผลิตไปจนถึงปลายทางคือฝั่งของผู้บริโภค ซึ่งภาครัฐจะมีส่วนผลักดันในการสร้างระบบการบริหารจัดการและสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น ความร่วมมือกับภาคเอกชนในการสร้างเครือข่ายการรับคืนขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชน รวมไปถึงการให้ส่วนลดในการซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแยกขยะที่ถูกวิธี เพื่อที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืนไปด้วยกันในอนาคต

 

The post Green Electronics แรงกดดันด้าน ESG และขยะอิเล็กทรอนิกส์ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
AIS เจ้าภาพ Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 เวที Vision to Action ของ 6 ประเทศสมาชิก https://www.sdperspectives.com/activities/22608-ais-singtel-group-people-sustainability-symposium-2023/ Tue, 12 Dec 2023 06:27:57 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=22608 12 ธันวาคม 2566… Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 เป็นงานประชุมประจำปี ของบริษัทในกลุ่ม Singtel ประกอบด้วย Airtel (อินเดีย), AIS (ไทย), Globe (ฟิลิปปินส์), Optus (ออสเตรเลีย), Singtel (สิงคโปร์) และ Telekomsel (อินโดนีเซีย)

The post AIS เจ้าภาพ Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 เวที Vision to Action ของ 6 ประเทศสมาชิก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
12 ธันวาคม 2566… Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 เป็นงานประชุมประจำปี ของบริษัทในกลุ่ม Singtel ประกอบด้วย Airtel (อินเดีย), AIS (ไทย), Globe (ฟิลิปปินส์), Optus (ออสเตรเลีย), Singtel (สิงคโปร์) และ Telekomsel (อินโดนีเซีย) ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่มีการรวมกันระหว่าง People Forum ในธีมหัวข้อ Reimagine work : การทำงานในโลกยุคใหม่ที่โอบกอดความแตกต่าง ความหลากหลาย และสร้างความเท่าเทียมให้แก่ทุกคน และ Sustainability Forum ในธีม Eco Vision to Action เพื่ออัปเดตแลกเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

“ปีนี้เป็นครั้งแรกที่เป็น Symposium และ AIS เสนอวาระของเรื่อง HR ซึ่งประชุมพร้อมกับ SD เพราะเรื่องทรัพยากรบุคคลเป็นเรื่องหนึ่งของ Sustainable Development บางหัวข้อประชุมรวมห้องเดียวกันได้เลย Human Right เป็นวิถีความยั่งยืน People Management มีทั้งเรื่องวัฒนธรรมองค์กร และมายด์เซ็ทต่าง ๆ เกี่ยวโยงกับ SDGs จากเดิม 2 เรื่องจะแยกกันประชุม”

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS ขยายความต่อเนื่อง พร้อมอธิบายถึงการที่องค์กรธุรกิจ Integrate เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ทำให้งาน Symposium ครั้งแรกตลอด 3 วันเข้มข้นด้วยเนื้อหาที่แลกเปลี่ยนในเชิง Vision Action จากหลากหลายวิทยากร

ยกตัวอย่างวิทยากรจาก GSMA Mr.Daniel Teoh และ Mr.Geoege Kamiya มาให้องค์ความรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากผลิตภัณฑ์และบริการ ต่อเนื่องด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ การเชื่อมโยงระหว่างด้านธุรกิจและแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน มีตัวแทนจากภาควิชาการ ได้แก่ ดร.กฤตินี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจได้แก่ ณัฐวุฒิ อินทโรด จากเอสซีจี และจิตริณี วิชชุดากร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติการ ยูนิลีเวอร์

วิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์

AIS ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน ได้จัด Training Session ในวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 66 ที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จริง ได้แก่ ดร. ศรีหทัย พราหมมณี AIS The StartUp Management อัครวัฒน์ เศรษฐีเชาวลากุล CEO of OnechatAI และอาทิตยา บุญยรัตน์ ผู้ผลักดันกิจกรรมคนรุ่นใหม่ต่างๆ เช่น HackBKK – Traffy Fondue และ กรุงเทพกลางแปลง ช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้และสร้างทักษธทั้ง Presentation และ Pitching Skill

“การจัดงานครั้งนี้ AIS ตั้งใจที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนไทยเข้ามามีส่วนร่วม จึงเกิด Social Activity กิจกรรมเพื่อสังคมภายใต้ธีม Empower Thai Youths to Build a Better Bangkok เป็นกิจกรรมที่นำองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ 30 คนในกลุ่มบริษัท Singtel มาส่งต่อให้แก่เด็กและเยาวชนของสภาเมืองคนรุ่นใหม่ หรือ BKK Ranger ให้สามารถนำเสนอโครงการในการพัฒนากรุงเทพฯได้ในอนาคต โดยใช้เวลาจำนวนทั้งสิ้นรวม 230 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม – 22 พฤศจิกายน 66”

การจัด Empower Thai Youths to Build a Better Bangkok มีเป้าหมายในการเสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้เข้าร่วมดังนี้

1.Project Initiation: เยาวชนมีองค์ความรู้และมีทักษะในการระบุปัญหา วางแผนงาน กำหนดงบประมาณ กำหนดแผนงาน กลยุทธ์วิธีการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินโครงการ
2.Sustainability Lens: เยาวชนมีมุมมองในการคิดและดำเนินโครงการอย่างยั่งยืน และสามารถนำไปต่อยอดโครงการเพื่อสังคม หรือนำแนวคิดไปประยุกต์ในเชิงธุรกิจได้ในอนาคต
3.Pitching Skill: เยาวชนมีทักษะในการนำเสนอโครงการของตนเองให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมั่นใจ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

สายชลอธิบายเรื่อง Cyber Wellness

ส่วนน้องๆ ที่มาเข้าร่วมทั้งหมด 6 โครงการ ในประเด็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพศึกษา และการพัฒนาสุขภาวะทางด้านจิตใจ

-Student Reflect Research โครงการที่จัดทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน
-Student Reflect Reporting Incident โครงการที่เตรียมพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับเด็กและเยาวชนในการร้องเรียนปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องและส่งต่อไปถึงผู้เชี่ยวชาญ
-Student Reflect Club โครงการเสริมสร้างคลับหรือพื้นที่ความปลอดภัยภายในโรงเรียน
-Teaching English Skill for Taxi Drivers โครงการที่ช่วยให้แท็กซี่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้
-Mindventure บริษัท Social Enterprise ที่มีความสนใจในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย พัฒนาสุขภาวะทางด้านจิตใจ โดยมุ่งจัดอบรมทั้งทางออนไลน์และในสถานที่จริง
-Redeem Bottle for Ticket Voucher โครงการจัดการขยะพลาสติกที่เป็นขยะเปลี่ยนมาเป็นตั๋วรถเมล์ หรือตั๋วรถไฟฟ้า เพื่อช่วยลดขยะและสร้างประโยชน์ให้แก่คนกรุงเทพฯ

“นับเป็นโอกาสพิเศษของเด็กและเยาวชนสภาเมืองจากกิจกรรมดังกล่าว ที่ได้มุมมองใหม่ ๆ จากผู้บริหารระดับสูงถึง C-Suite และขณะเดียวกันในงานนี้ทั้ง 5 ประเทศก็สนใจประเด็น AIS ทำงาน 3 เรื่องคือ Cyber Wellness และลงรายละเอียดถึงผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index เรื่องต่อมาคือหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ สุดท้ายเป็นเรื่องที่เราต้องไปทำการบ้านต่อ ก็คือเรื่องของ E-Waste ทุกคนสนใจที่เราสามารถ Integrate กิจกรรมเข้าไปกับการทำธุรกิจได้ด้วย และเรากำลังจะนำเข้าไปอยู่กับ My AIS Super APP และเราจะให้พ้อยท์ เพราะเราเข้าใจพฤติกรรมคนไทย สะท้อนให้เห็นการทำ Sustainability Campaign ไม่ใช่แคมเปญนางฟ้า แต่คือธุรกิจของเรา เป็นการนำวิธีคิดเรื่อง E-Waste ด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน มาผนึกเข้ากับการตลาด” สายชลกล่าวเพิ่มเติม

ส่งท้ายวาระพิเศษ Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 ครั้งนี้ได้นำแนวคิดของ Carbon Neutral หรือการจัดกิจกรรมแบบปลอดคาร์บอน เข้ามาเป็นหนึ่งในวิธีคิดในการจัดงานแบบทั้งกระบวนการ สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัท ไม่ว่าจะเป็น

-การเลือกการเดินทางที่ลดการปล่อยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกตัวอย่างเช่น รถ EV Bus, รถตุ๊กๆไฟฟ้า Muvmi
-การเลือกโรงแรมที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีตราสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน หรือ Travel Sustainable Badge คือสัญลักษณ์ที่ Booking.com ใช้เป็นตัวแทนของมาตรการด้านความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐานระดับโลก ซึ่งจะให้ข้อมูลที่ผู้เดินทางทั่วโลกต้องการ สำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกการเดินทางที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
-การลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในงาน เริ่มต้นจากการพยายามลดใช้ขยะพลาสติก เลือกวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

@กาลิเลโอเอซิส

-การเลือกสถานที่จัดงาน : กาลิเลโอเอซิส คือพื้นที่ที่เป็นตัวอย่างในการรีโนเวตตึกเก่าอายุร่วม 40 ปี จำนวน 20 คูหา มีจุดประสงค์ใหญ่เพื่อยกระดับชุมชน และเรียกชีวิตชีวากลับคืนสู่ผู้คนย่านบรรทัดทอง โดยมีทั้งคาเฟ่ โรงละคร แกลเลอรี่ และโรงแรม ในพื้นที่เดียวกัน
-การเลือกกิจกรรมรับประทานอาหารเย็น GalileOasis Night : Eco Vision To Action
– การจัดเตรียมอาหารแบบ Sustainable Dinner
– การนำรถเข็นขายของในชุมชนมาจัดเป็น Food Station
– การเตรียมอาหารพิเศษจากเชฟแบล็ค ภานุภน บุลสุวรรณ Sustainable Chef ด้วยวิธีคิดที่ใช้วัตถุดิบจากชุมชนมาสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างคุ้มค่า แบบ Sustainable Eating
– การเลือกใช้ภาชนะที่ใช้ในการจัดงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กาบหมาก ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ 5-10 ครั้งและสามารถย่อยสลายได้ด้วยตนเอง
– การแสดงรำไทยอวยพร : โดยประยุกต์การแต่งกายของนักแสดงทำมาจากวัสดุที่เป็นเศษผ้ารียูส

สายชล กล่าวถึงข้อสรุปที่เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศ จากการประชุมในครั้งนี้ ใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

 กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบมีเป้าหมาย
(Purpose-led sustainability strategy)

1.E-Environment and Climate การป้องกันและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีกระบวนการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดการใช้วัสดุหรือการใช้ทรัพยากรโดยคงประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Dematerialization) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติมุ่งสู่ Net Zero

2.S-Social Impact การหาแนวทางความเป็นไปได้ในการสร้างความปลอดภัยทางดิจิทัล สิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

3. G-Governance การจัดตั้งคณะกรรมการผู้บริหารด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน การปฏิบัติตามข้อกำหนด การให้ความรู้และการฝึกอบรมต่างๆ

4. V-Value Creation การสร้างคุณค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างคุณค่าที่มุ่งเน้นไปยังความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพื่อวิเคราะห์หาโอกาสการพัฒนาแผนกลยุทธ์โครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Opportunity Framework)

ภายในกลุ่ม Singtel ได้มีการอัปเดทแลกเปลี่ยนความรู้และความสนใจร่วมกันทั้งด้านงาน Sustainability ในฐานะโครงการและกิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวกับ ESG ที่ตนเองทำ และมองหาความสนใจร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของการบริหารและการรวม ESG เข้ากับธุรกิจและเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ

กรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability
ในการ Empower Every Generation

การสร้างบุคลากรที่มีสามารถขับเคลื่อนวัฒนธรรมขององค์กรผ่านแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อองค์กร โดยกรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability นั้นยังคำนึงถึงการปรับทิศทางของค่าตอบแทนหรือแรงจูงใจให้สอดคล้องกับแนวทางด้านความยั่งยืน

“เพราะเราเชื่อว่า ความยั่งยืน คือ หัวใจสำคัญที่ต้องถูกสอดแทรกอยู่ในทุกกระบวนการทางธุรกิจและรูปแบบการใช้ชีวิต โดยเรายินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อแนวคิดนี้ไปสู่สังคมในวงกว้างเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก ที่จะย้อนกลับมาเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของทุกคนต่อไป” สายชล กล่าวทิ้งท้าย

 

 

The post AIS เจ้าภาพ Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 เวที Vision to Action ของ 6 ประเทศสมาชิก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
พ.ร.บ. EPR เร่งผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ทุกขนาดต้องปรับเปลี่ยน https://www.sdperspectives.com/circular-economy/22522-epr/ Thu, 30 Nov 2023 05:16:11 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=22522 30 พฤศจิกายน 2566...ขณะนี้ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มีการออกกฎหมาย EPR ขึ้นมาแล้ว แต่ประเทศไทยยังอยู่แค่ขั้นตอนของการยกร่างกฎหมายยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน

The post พ.ร.บ. EPR เร่งผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ทุกขนาดต้องปรับเปลี่ยน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
30 พฤศจิกายน 2566…หลักการ Extended Producer Responsibility หรือ EPR หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต พูดง่ายๆว่า “ใครเป็นผู้ผลิต คนนั้นต้องเป็นคนรับผิดชอบ” ไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นการรับคืน การรีไซเคิลและการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเริ่มให้เห็นภาพของวิกฤติขยะในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยสร้างขยะประมาณ 27 ล้านตันต่อปี เทียบเท่ารถยนต์ 27 ล้านคัน โดยมีการผลิตขยะ เฉลี่ย 1.14 กก./คน/วัน สูงกว่าค่าเฉลี่ย ของกลุ่ม ประเทศกำลังพัฒนาที่มีระดับรายได้ใกล้เคียงกัน (Lower Middle Income) 0.79 กก./คน/วัน

ขอเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันขบคิดว่า ถึงเวลาหรือยังที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคร่วมรับผิดชอบต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น

ก่อนเริ่มพูดคุยเรื่อง EPR ดร.สุจิตรา ได้สำรวจผู้ฟัง

“ตอนนี้เริ่มมีการออกข้อบังคับใช้ให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจะต้องมีการผสมพลาสติกรีไซเคิลไม่น้อยกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้มองว่าเป็นทางรอดของธุรกิจเพราะหากไม่มีการปรับตัวก็จะไม่สามารถส่งออกไปได้ ซึ่งหลายประเทศเริ่มมีการบังคับใช้เรื่องนี้ โดยเรื่องของ EPR จะมีการระบุให้บังคับใช้ด้วยเช่นกัน”

ดร.สุจิตราอธิบายต่อเนื่องว่าวิธีการแก้ไขเรื่องขยะไม่ใช่เรื่องที่มาแก้ที่ปลายทาง การจัดการอย่างยั่งยืนต้องเริ่มแก้ที่วิถีการผลิตและการบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาในเมืองไทยอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากเท่าที่ควร ปัญหาขยะไม่ได้แก้เมื่อมันกลายเป็นขยะแล้วแต่ต้องแก้ก่อนที่จะเป็นขยะ แก้ที่ต้นทางของการผลิตสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ

“ตอนนี้ผู้บริโภคใส่ใจในเรื่องของการแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลมากขึ้น แต่ปัญหาคือหากผู้ผลิตเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการรีไซเคิล ผู้บริโภคก็ไม่สามารถแยกเป็นขยะรีไซเคิลได้ สุดท้ายก็ต้องไปจบที่บ่อขยะ ซึ่งในเมืองไทยมีบ่อขยะ 2000 กว่าแห่ง แต่มีการจัดการอย่างถูกต้องไม่ถึง 25%”

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์หากไม่มีการใส่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตออกมาจะกลายเป็นขยะ ก็อาจจะมีการผลิตออกมาอย่างเกินพอดี ดังนั้นขยะควรเป็นความร่วมผิดชอบของ “ผู้ก่อให้เกิดขยะ ” ตามหลัก Polluter Pay Principle(PPP) เพราะขยะมิใช่ภาระของ อปท. รัฐต้องแก้ปัญหาความล้มเหลวงของตลาดที่ไม่ได้คิดรวมต้นทุนสิ่งแวดล้อมด้วยกลไก EPR,ภาษี /ค่าธรรมเนียมเข้ากองทุน ฯลฯ

นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) ภายใต้แบรนด์ 
เอสซีจี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC Green PolymerTM)

แล้ว EPR คืออะไร คำตอบคือ หลักการทางนโยบายที่ทั่วโลกนำมาใช้เป็นฐานในการออกกฎหมายหรือมาตรการที่ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบสินค้าที่ตนผลิตตลอดวงจรชีวิตของสินค้านั้นๆ โดยกฎหมายฉบับแรกที่นำหลักการ EPR มาปรับใช้คือกฎหมายจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ของเยอรมนีในปีค.ศ. 1991 โดยจากผลสำเร็จที่กฎหมายช่วยลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ที่ต้องส่งไปกำจัด เพิ่มอัตราการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ ทำให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มนำหลักการ EPR มาเป็นฐานในการออกกฎหมายเพื่อจัดการขยะที่ท้องถิ่นจัดการได้ยาก เช่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์สิ้นสภาพ ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ เป็นต้น

ตอนนี้ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มีการออกกฎหมาย EPR ขึ้นมาแล้ว เพราะประเทศเหล่านี้ก็ถูกมองว่าเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่แหล่งน้ำเช่นเดียวกัน แต่ประเทศไทยยังอยู่แค่ขั้นตอนของการยกร่างกฎหมายยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน แต่อย่างไรมาช้าก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำเลย เพราะประเทศเราก็มีศักยภาพและความเข้มแข็งในเชิงอุตสาหกรรมรีไซเคิลมากกว่าประเทศเหล่านั้น

ในแง่ของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากมีกฎหมาย EPR บังคับใช้ในอนาคตการจัด คือ การขยะบรรจุภัณฑ์ ราคาวัสดุรีไซเคิลจะผันผวนน้อยลงหรือมีการพยุงราคา ส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาดมีความโปร่งใสในระบบ , ยกระดับคุณภาพชีวิตซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า ประชาชนส่งคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วได้สะดวก อปท . เก็บแยก , จุด drop-off ตามห้าง , ร้านสะดวกซื้อ , ปั๊ม มีโปรโมชั่นนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาแลกของใหม่ประชาชนมีความตระหนักและแยกขยะมากขึ้น

ปัจจุบันมีโครงการนำร่องและกฎหมาย EPR ในไทยและเพื่อนบ้าน เช่น โครงการ PRO Thailand Network ขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนภายใต้หลักการ EPR เป็นการรวมตัว บริษัทพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทย และในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยประเทศเพื่อนบ้านเริ่มออกกฎหมาย EPR เพื่อจัดการขยะบรรจุภัณฑ์และขยะพลาสติก ,e-waste และซากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปแล้วเช่นกัน

ส่วนของประเทศไทยได้ร่างพรบ.การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน และกรมควบคุมมลพิษได้กำหนดแผนงานจัดทำร่างกฎหมาย CE/EPR บรรจุภัณฑ์ตั้งเป้าประกาศใช้ภายในปี 2569 และร่างกม.ส่งเสริม CE ภายในปี 2570

ธนูพล อมรพิพิธกุล นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (จำกัด) มหาชน ยังร่วมให้ข้อมูลในหัวข้อ “เม็ดพลาสติก PCR InnoEco กับบทบาทสนับสนุน EPR และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ InnoEco ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือน ด้วยเทคโนโลยีการรีไซเคิลมาตรฐานยุโรป เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR) คุณภาพสูง มีคุณสมบัติเทียบเคียงเม็ดพลาสติกใหม่

โดยเม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด PET (PCR PET) เกรดสัมผัสอาหาร ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (อย.) เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยสามารถใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์ทุกขนาด ทุกความหนา ส่วนเม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด PET (PCR PET) เกรดสัมผัสอาหาร ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลทั้งองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) รวมถึงหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม เม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด HDPE (PCR HDPE) เกรดบรรจุภัณฑ์ และมีเทคโนโลยีขั้นสูงในการกำจัดกลิ่น สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เช่น ขวดแชมพู ขวดสบู่ แกลลอนน้ำมัน

กระบวนการและเทคโนโลยีการรีไซเคิลประสิทธิภาพสูงครบวงจรภายในโรงงานเอ็นวิคโค เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกวัตถุดิบ บด ล้างทำความสะอาด กำจัดสารเจือปน ปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงการตรวจสอบ ทุกขั้นตอนได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้เรามั่นใจว่าเม็ดพลาสติกรีไซเคิลของเราสามารถผลิตเป็นขวด rPET 100% ที่ได้ตามมาตรฐานของ อย. ทุกประการ สะอาดและปลอดภัย มุ่งหวังให้การใช้ขวด rPET 100% ในประเทศไทยเป็นที่นิยมมากขึ้น ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

วัตถุดิบทั้งหมด 100% เป็นพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศไทย โดยทาง GC ร่วมกับ ENVICCO สร้างศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลในหลายจังหวัด ตอบสนองการดำเนินชีวิตของผู้คนและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการรีไซเคิล รวมถึงสร้างระบบการบริหารจัดการขยะของชุมชนให้ครบวงจร ในระยอง นครปฐม และจังหวัดอื่นๆ โดยนำ ‘GC YOUเทิร์น’ แพลตฟอร์มเข้ามาช่วยจัดการ ตั้งแต่วิธีการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง เพื่อส่งต่อให้กับโรงงาน ENVICCO ไปทำการคัดแยกและทำความสะอาด ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยการปรับปรุงคุณสมบัติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก จนกลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ตลอดจนการติดตั้งระบบการสอบทาน(traceability)อันทันสมัย ทำให้สามารถสอบกลับที่มาของพลาสติกใช้แล้วได้ 100%

ปัจจุบันในยุโรปหรือในสหรัฐฯ เมื่อมีสัดส่วนการใช้รีไซเคิลอย่างแพร่หลายในสัดส่วนที่มากเกือบเท่ากับเม็ดพลาสติกใหม่ สีขวดจะมีสีเข้ม ในระหว่างนี้ ตลาดเมืองไทยพึ่งเริ่มมีการใช้งาน ทางผู้ผลิตตรสินค้า Brand owner ต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้บริโภคตั้งแต่ต้น

“ปัจจุบัน มีหลายประเทศที่มีกฎหมายให้บรรจุภัณฑ์จะต้องมีพลาสติกรีไซเคิลอยู่ด้วย ทำให้เราเห็นว่าหลายแบรนด์เริ่มใส่พลาสติกรีไซเคิลลงไปในบรรจุภัณฑ์ของตัวเองแล้วแต่ความยากง่ายของบรรจุภัณฑ์นั้นซึ่งแบ่งเป็น Food และ Non Food ขั้นต่ำอยู่ที่ 10-20% ตามกฎหมายต้องการ ซึ่งแล้วแต่ความสามารถของผู้ผลิตว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน กฎหมาย EPR จะทำให้โรงงานรีไซเคิลมาลงทุนมากขึ้น หรือขยายการลงทุนเพื่อรองรับบรรจุภัณฑ์หลายประเภทมากขึ้นเนื่องจากสามารถ Secure feedstock ได้” ดร.สุจิตรา กล่าวปิดท้าย

ที่มาภาพเปิดเรื่อง

The post พ.ร.บ. EPR เร่งผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ทุกขนาดต้องปรับเปลี่ยน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ทรูสเปซ ชวน “ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ทุกสาขาทั่วประเทศ https://www.sdperspectives.com/activities/22248-true-space-e-waste/ Tue, 14 Nov 2023 13:12:10 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=22248 14 พฤศจิกายน 2566...การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทุกชีวิต สารอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อย่างโลหะหนัก เมื่อนำไปฝังกลบ จะปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำต่างๆ สารพิษจะเข้าสู่ระบบนิเวศ ตลอดจนห่วงโซ่อาหาร

The post ทรูสเปซ ชวน “ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ทุกสาขาทั่วประเทศ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
14 พฤศจิกายน 2566 – ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทุกชีวิต สารอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อย่างโลหะหนัก เมื่อนำไปฝังกลบ จะปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำต่างๆ สารพิษจะเข้าสู่ระบบนิเวศ ตลอดจนห่วงโซ่อาหาร ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของเรา เช่น พิษของตะกั่ว มีผลทำลายระบบประสาท ระบบโลหิต การทำงานของไต และหากนำไปเผาก็จะเกิดกลิ่นเหม็น และเกิดสารมลพิษทางอากาศต่างๆ ซึ่งล้วนก่อให้เกิดมะเร็งได้


วันนี้ ทรูสเปซ โคเวิร์คกิ้งสเปซ พื้นที่ทำงานยุคใหม่ ที่ฉีกกฎรูปแบบเดิม ๆ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การทำงาน สร้างสรรค์ไอเดียได้แบบไร้ขีดจำกัด ชวนทุกคนร่วมเดินบนเส้นทาง e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ เพื่อสุขภาพและโลกที่ยั่งยืนไปด้วยกัน เปิดจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ ทรูสเปซทั่วประเทศ เพื่อรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ สมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่เลิกใช้งานเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี มั่นใจ 100% ไม่มีการฝังกลบ

3 ขั้นตอนฮาวทูทิ้ง e-Waste ที่ทรูสเปซ

1.คัดเลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมสำรอง และลบข้อมูลส่วนตัวออกจากอุปกรณ์

รวบรวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มั่นใจแล้วว่าใช้งานไม่ได้ โดยตรวจดูให้แน่ใจว่าสามารถนำมาทิ้งได้ ซึ่งโครงการทิ้งถูกที่ดีต่อใจ เปิดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่มีขนาดเล็ก อาทิ สมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่เลิกใช้งาน หรือหากไม่แน่ใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai ลบและทำลายข้อมูลก่อนนำมาทิ้ง ในกรณีที่มือถือยังสามารถเปิดใช้งานได้ แนะนำให้ทำการคืนค่าจากโรงงาน (Factory Reset) หรือลบข้อมูลทั้งหมดออกจากเครื่องก่อน (Erase All Data) หากเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นๆ ที่ใส่หน่วยความจำเพิ่มได้ ควรนำเมมโมรีการ์ดออกจากเครื่องก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลออกไป

2.ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ ทรูสเปซ

นำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งได้ที่กล่องรับขยะ e-Waste ทรูสเปซ คือ Co & Creative Space ภายใต้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดบ้านอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและประชาชนสามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งได้ที่กล่องรับขยะ e-Waste ทั้ง 5 สาขา เริ่มทิ้งได้แล้ววันนี้ที่ สยามสแควร์ซอย 2 สาขาไอคอนสยาม สาขาอโศก สาขามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และสาขามหาวิทยาลัยรังสิต

3.ลูกค้าทรูดีแทค เลือก “Drop for Rewards” เพื่อรับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเลือก “Drop for Rewards” เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนเพื่อชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกัน พิเศษสำหรับลูกค้าทรู – ดีแทค ที่ทิ้ง e – Waste ร่วมกับโครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต้อใจสามารถเลือก “Drop for Rewards” ได้อีกหนึ่งต่อเพียงสแกน QR บนกล่องรับขยะ e-Waste เพื่อเลือกรับ สิทธิพิเศษต่างๆ จากพันธมิตรได้มากมาย

ทิ้งเพื่อเปลี่ยน เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นที่นำมาร่วมเข้าโครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ ณ ทรูสเปซ จะถูกส่งต่อให้ โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ หรือ TES ซึ่งจะลงบันทึกจำนวนน้ำหนักและสถานที่รับอย่างชัดเจน นำเข้าพื้นที่จัดเก็บ สำหรับโทรศัพท์มือถือจะทำลายหน่วยความจำในเครื่องอีกครั้งตามมาตรฐานสากล NIST 800-88RI และทำการคัดแยกรีไซเคิลตามประเภทวัสดุ เพื่อสกัดเป็นโลหะมีค่าเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าใหม่ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าขยะ e-Waste จะผ่านการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี 100% เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกัน

นอกจากนี้ ลูกค้าและประชาชน ยังสามารถร่วมโครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ ทรูช้อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค รวม 154 สาขา โลตัส 20 สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงสำนักงานกสทช. ชั้น 1 ของอาคารหอประชุม อาคาร 2 และอาคาร 3 อีกด้วย

 

The post ทรูสเปซ ชวน “ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ทุกสาขาทั่วประเทศ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
AIS ฉายภาพเส้นทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผสานพลัง Greenovation เพื่อสร้าง Sustainable Nation https://www.sdperspectives.com/next-gen/22154-ais-sustainable-nation/ Thu, 09 Nov 2023 11:21:21 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=22154 9 พฤศจิกายน 2566...AIS เชื่อว่าพลังของดิจิทัลและพลังของทุกคน จะสามารถสร้าง Green Network ที่แข็งแรง เพื่อช่วยสนับสนุนภารกิจ Sustainable Nation หรือการเติบโตร่วมกันของผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

The post AIS ฉายภาพเส้นทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผสานพลัง Greenovation เพื่อสร้าง Sustainable Nation appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
9 พฤศจิกายน 2566…ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และจาก “โลกร้อน” ก็มาถึง “โลกเดือด”ที่ทุกคนก็ได้สัมผัสกันแล้ว ผ่านสิ่งที่ใกล้ตัวเช่นอากาศเปลี่ยนแปลงมาก เดือนพฤศจิกายนยังมีฝนตกหนัก ก่อนหน้านั้นเดือนเมษายน ก็เคยมีอากาศหนาวมาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือสัญญาณเตือนภัยที่มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่เกินกว่าโลกจะรับไหว ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมช่วยลดหรือแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมผ่านหลายโซลูชั่น หนึ่งในนั้นคือ การนำความสามารถของ Digital มาใช้ โดย AIS เชื่อว่าพลังของดิจิทัลและพลังของทุกคน จะสามารถสร้าง Green Network ที่แข็งแรง เพื่อช่วยสนับสนุนภารกิจ Sustainable Nation หรือการเติบโตร่วมกันของผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตของประเทศไทยที่ยั่งยืน

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS และสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS ฉายภาพเส้นทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้ง Ecosystem เพื่อทำให้เกิด Sustainable Nation

นอกเหนือจากการเติบโตทางธุรกิจที่ AIS ได้สร้างความแข็งแกร่งของ Intelligence Infrastructure ให้กับลูกค้าและคนไทยแล้ว วันนี้ AIS ยังมีเป้าหมายใหญ่ในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

“ด้วยความตั้งใจของเราในครั้งนี้จะเป็นการวิวัฒน์ครั้งสำคัญของโลกดิจิทัลและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีเป้าหมายในการสร้าง Sustainable Nation หรือทำให้ประเทศไทยของเราเติบโตอย่างยั่งยืน”

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ,วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ ,สายชล ทรัพย์มากอุดม

สมชัยขยายความต่อเนื่อง สำหรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่ยืนหยัดด้านสิ่งแวดล้อมของ AIS ถูกวางไว้ใน 2 แกนหลัก คือ

1. ลดผลกระทบผ่านการบริหารจัดการกระบวนการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

วสิษฐ์ อธิบายให้เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ การใช้พลังงานกับการทำงานเครือข่าย เป็นเรื่องสำคัญและถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก ซึ่งในส่วนของ AIS ที่วันนี้นอกจากการปรับอุปกรณ์สถานีฐาน และเริ่มนำพลังงานทางเลือกจากธรรมชาติ อาทิ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มาเริ่มใช้ควบคู่กับพลังงานหลัก ภายใต้แนวคิด Green Network แล้ว เรายังเริ่มทดลอง ทดสอบ นวัตกรรม โซลูชันต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ Traffic ของระบบเครือข่ายทั้งหมด กับเป้าหมายการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วเช่นกัน

“เราเชื่อว่าการจะเป็น Go Green ได้นั้นต้อง Go Digital ควบคู่กันไปด้วย ทำให้เราเดินหน้า Moving to The Cloud เพื่อยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ภายในสถานีฐานให้ยาวนานขึ้น รวมถึงความตั้งใจในการพัฒนา Autonomous Network ที่นำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในสถานีฐานเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของลูกค้า ได้แบบ More Bits, Less Watts เพื่อให้ลูกค้ายังคงได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ตรงใจ พร้อมกับการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

มาถึงแกนที่ 2 นับว่ามีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคในยุคนี้มาก เพราะเมื่อเราเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ปริมาณอุปกรณ์ ดีไวซ์ เพิ่มตามไปด้วยทั้งการซื้อ และการทิ้งหลังจากใช้งานไม่ได้ สอดคล้องกับข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ITU ที่พบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งหรือเผาทำลาย มีมูลค่าถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีแค่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ที่มีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

2 เวทีพูดคุย Green Network และ HUB of e-waste รวมถึงตัวอย่างการแยกขยะอิเลกทรอนิกส์

“ข้อมูลข้างต้น คือเหตุผลสำคัญที่ AIS ลุกขึ้นมาพูดและให้ความสำคัญกับปัญหา E-Waste เป็นรายแรกในอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2019 เราอยากสร้าง HEALTHY ECOSYSTEM ในการทำงานด้าน E-Waste โดยที่ผ่านมาเราเริ่มต้นจากภายในองค์กรด้วยการชวนพนักงานให้มีส่วนร่วมกับการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งอย่างถูกวิธี ต่อการเชิญชวนเพื่อนบ้านองค์กรใกล้เคียงจนกลายเป็นกลุ่มกรีนพหลโยธินที่มาเข้าร่วมโครงการคนไทยไร้ E-Waste หลังจากนั้นเราก็ขยายความร่วมมือไปยังภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่วันนี้มีกว่า 190 องค์กรเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังเป็น Green Partnership ที่ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้าน E-Waste”

สายชลขยายความต่อเนื่องถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญ นำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามายกระดับกระบวนการจัดการด้วยแอปพลิเคชัน E-Waste+ ที่สามารถติดตาม รับรู้เส้นทางของการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงคำนวณปริมาณ Carbon Scores ได้อีกด้วย

“วันนี้ AIS พร้อมเป็นแกนกลางด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ HUB of e-waste ที่มีความครอบคลุมทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ ด้านเครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ ๆ ด้านจุดรับทิ้ง ด้านการขนส่ง หรือแม้แต่ด้ารีไซเคิลตามเป้าหมาย Zero e-waste to Landfill ที่สามารถรวบรวมคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งอนาคตอาจจะสามารถบริจาคคาร์บอนเครดิตให้กับมูลนิธิใด ๆ ที่ต้องการ หรืออาจจะมีโอกาสนำคาร์บอนเครดิตใช้ลดหย่อนภาษีได้ เราอยากเชิญชวนให้ทุกองค์กรส่งต่อความตระหนักรู้ในด้านนี้ไปยัง พนักงาน ลูกค้า หรือแม้แต่ Stakeholder ทุกกลุ่ม เพื่อต่อยอดการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในระดับประเทศต่อไป” สายชลกล่าวในท้ายที่สุด

 

The post AIS ฉายภาพเส้นทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผสานพลัง Greenovation เพื่อสร้าง Sustainable Nation appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
AIS ชูภารกิจ Zero e-waste to landfill ชวนลูกค้าทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี รับทันที AIS Points https://www.sdperspectives.com/alternative/21971-ais-points-e-waste/ Fri, 27 Oct 2023 10:26:10 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21971 27 ตุลาคม 2566...รับทุกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ แพลตฟอร์มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บน Blockchain ที่จะทำให้เรารู้สถานะการทิ้งตั้งแต่ต้นจนเข้าสู่การบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี

The post AIS ชูภารกิจ Zero e-waste to landfill ชวนลูกค้าทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี รับทันที AIS Points appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
27 ตุลาคม 2566…หลังจาก AIS ปักหมุดเป็นศูนย์กลางด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หรือ Hub of e-waste แล้ว ยังเดินหน้าสร้าง Engagement ด้วยแคมเปญ “ทิ้ง E-Waste รับ AIS Points” @ ศูนย์บริการ AIS Shop ที่ร่วมรายการ รับทุกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ แพลตฟอร์มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บน Blockchain ที่จะทำให้เรารู้สถานะการทิ้งตั้งแต่ต้นจนเข้าสู่การบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีโดยไม่มีการฝังกลบ(Zero e-waste to landfill) รับทันที AIS Points สูงสุดถึง 5 คะแนน

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวเพิ่มเติมถึงแคมเปญ “ทิ้ง E-Waste รับ AIS Points” นับเป็นการสร้าง Engagementใน Ecosystem การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้ตระหนักถึงปัญหา สร้างการมีส่วนร่วมไปจนถึงการสร้างกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิลแบบ Zero e-waste to landfill ตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการตอกย้ำความพร้อมในการเป็น Hub of e-waste

“การทำงานครั้งนี้เราได้ต่อยอดเทคโนโลยี Blockchain กับแอปพลิเคชัน E-Waste+ ในแคมเปญทิ้ง E-Waste รับ AIS Points เปลี่ยนทุกการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นคะแนน AIS Points ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างการมีส่วนร่วมให้คนไทยและลูกค้าตระหนักถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมแล้ว การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้จะช่วยทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ รวมถึงยังคำนวณขยะที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปเป็นปริมาณเท่าไหร่จากการร่วมทิ้ง E-Waste ในครั้งนี้”

สำหรับลูกค้า AIS สามารถร่วมแคมเปญ “ทิ้ง E-Waste รับ AIS Points” ได้ง่ายๆ เพียงนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ โทรศัพท์มือถือเก่า แท็บเล็ตเสีย คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค อุปกรณ์เสริมมือถือ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ไม่ใช้แล้ว มาทิ้งกับ AIS ที่ศูนย์บริการ AIS Shop ที่ร่วมรายการ โดยสามารถทิ้งผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste + ก็รับทันที AIS Points สามารถดูรายละเอียดที่ https://sustainability.ais.co.th/th/update/e-waste/686/aisewaste-aispoints

The post AIS ชูภารกิจ Zero e-waste to landfill ชวนลูกค้าทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี รับทันที AIS Points appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ทำไมต้อง HUB of E-Waste ก้าวสำคัญสู่ความยั่งยืน ด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ AIS และพลังพาร์ทเนอร์ 190 องค์กร https://www.sdperspectives.com/circular-economy/21779-ais-hub-of-e-waste/ Fri, 13 Oct 2023 17:15:07 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21779 14 ตุลาคม 2566...รู้หรือไม่ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหากจัดการไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดก๊าซมีเทน ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

The post ทำไมต้อง HUB of E-Waste ก้าวสำคัญสู่ความยั่งยืน ด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ AIS และพลังพาร์ทเนอร์ 190 องค์กร appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
14 ตุลาคม 2566…รู้หรือไม่ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหากจัดการไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดก๊าซมีเทน ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2565 พบว่า สถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้น 676,146 ตัน 65% เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 35% เป็นของเสียอันตรายประเภทอื่นๆ เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์ 236,651 ตัน ซึ่งถูกรวบรวมและนำไปกำจัดเพียง 12.86% เท่านั้น นั่นหมายความว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เหลือเกือบ 90% ใช้กระบวนการจัดการที่ไม่ถูกวิธี

ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของ AIS ภายใต้เป้าหมายที่ 13 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ว่าด้วยปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS ด้านสิ่งแวดล้อม จึงได้ส่งเสริมให้คนไทยร่วมกันกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีผ่านโครงการ “คนไทยไร้ e-waste” โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนา Ecosystem ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการสร้างองค์ความรู้ให้ตระหนักถึงปัญหา และกระบวนการต่างๆ ให้คนไทยจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น ปีที่ผ่านมา AIS ได้ขยายผลการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปอีกขั้น โดยนำเทคโนโลยี Blockchain มาพัฒนาแพลตฟอร์ม E-Waste+ ให้คนไทยทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก ผ่านกระบวนการ Track and Trace ที่จะทำให้ผู้ทิ้งขยะ E-waste สามารถตรวจสอบสถานะการทิ้งได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อแจ้งข้อมูลที่เรามีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

 

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า จากการดำเนินโครงการคนไทยไร้ e-waste ตั้งแต่ปี 2019 ทำให้วันนี้ AIS เป็นองค์กรแรกในไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกใน International E-Waste Day ของ WEEE Forum (Waste Electrical and Electronic Equipment) ซึ่งเป็นสมาคมระดับนานาชาติที่รวบรวมข้อมูลด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์และมีสมาชิกจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งบนเว็บไซต์หลักของ WEEE Forum จะมีกิจกรรมและการทำงานของ AIS จากประเทศไทย รวมถึงจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก

“ปีนี้ AIS ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนเพื่อให้คนไทยทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยใช้วาระพิเศษที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เนื่องในวันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล หรือ International E-Waste Day 14 ตุลาคมปีนี้ ประกาศความพร้อมยกระดับการทำงานสู่การเป็น HUB of E-Waste หรือ ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะครั้งแรกในไทย โดยจับมือพาร์ทเนอร์ กว่า 190 องค์กร มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ HUB of E-Waste ด้านต่างๆ มุ่งจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกวิธีแบบ Zero e-waste to landfill โดยนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งที่จุดรับทิ้งมากกว่า 2,500 จุดทั่วประเทศ”

 

ทั้งนี้ HUB of E-Waste จะเป็นศูนย์กลางความรู้และการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ครอบคลุม 5 ด้าน อาทิ ด้านองค์ความรู้ ด้านเครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ด้านจุดรับทิ้ง ด้านการขนส่ง หรือแม้แต่ด้านรีไซเคิล เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้คนไทยทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ประกอบด้วย

· HUB of Knowledge ศูนย์กลางความรู้ที่รวบรวมข้อมูล บทความ งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม และขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการอัพเดทข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมควบคุมมลพิษ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

· HUB of Community ศูนย์กลางเครือข่าย Green Community สร้างชุมชนให้เกิดความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ E-waste และการระดม แลกเปลี่ยนไอเดียในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อาทิ กลุ่มกรีนพหลโยธิน , องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) , ARI Innovation District เป็นต้น

· HUB of Drop Points ศูนย์กลางความร่วมมือในการขยายจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ร่วมกันมากกว่า 2,500จุดทั่วประเทศ

· HUB of Transportation ศูนย์กลางระบบจัดการ E-Waste ที่ทำงานร่วมกับไปรษณีย์ไทย ในการรับขยะ E-Waste รวมถึงการติดตามสถานะขยะ E-Waste ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ผ่านแอป E-Waste+ ที่สามารถตรวจสอบและติดตามได้ว่าขยะ E-Waste ทุกชิ้นจะถูกนำส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลในโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน

· HUB of Circular ศูนย์กลางการจัดการและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด (WMS) โดยมีเป้าหมายหลัก บริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีโดยปราศจากการฝังกลบ หรือ Zero e-waste to landfill

การเป็น HUB of E-Waste ของ AIS แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง โดยมีภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน

 

The post ทำไมต้อง HUB of E-Waste ก้าวสำคัญสู่ความยั่งยืน ด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ AIS และพลังพาร์ทเนอร์ 190 องค์กร appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
เอเซอร์ เปิดเส้นทางสู่ความยั่งยืน ผ่านทุกผลิตภัณฑ์ https://www.sdperspectives.com/circular-economy/21787-acer-earthion-vero/ Fri, 13 Oct 2023 09:47:24 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21787 13 ตุลาคม 2566...เอเซอร์เดินหน้าโครงการ Earthion ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้แก่พนักงานในองค์กร พาร์ทเนอร์และลูกค้า ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการลงมือทำเพื่อช่วยลดปัญหามลพิษ

The post เอเซอร์ เปิดเส้นทางสู่ความยั่งยืน ผ่านทุกผลิตภัณฑ์ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
13 ตุลาคม 2566…เอเซอร์เดินหน้าโครงการ Earthion ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้แก่พนักงานในองค์กร พาร์ทเนอร์และลูกค้า ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการลงมือทำเพื่อช่วยลดปัญหามลพิษ มุ่งหวังสร้างแรงกระเพื่อมแบบยั่งยืนสู่สังคม ด้วยการผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยขยายไลน์อัพผลิตภัณฑ์กลุ่ม Vero ทั้ง โน้ตบุ๊ก มอนิเตอร์ โปรเจคเตอร์ เราท์เตอร์ เครื่องฟอกอากาศ ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ที่ตอบรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ อาทิ เครื่องกรองน้ำ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก  ขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทน ด้วยจักรยานไฟฟ้า และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า

“แนวทางการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของเอเซอร์เริ่มเป็นรูปธรรมขึ้นเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว โดยมิสเตอร์เจสัน CEO ของเอเซอร์ พูดเรื่องนี้ขึ้นมาว่าต่อไปจะต้องเป็น Company Vision และบัญญัติคำว่า Earthion ขึ้นมา เป็นคำที่มาจาก Earth+Mission คือการดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้แก่พนักงานในองค์กร พาร์ทเนอร์และลูกค้า ให้ทุกคนมีส่วนร่วม การลงมือทำเพื่อช่วยลดปัญหามลพิษ”

นิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวถึงแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน กับ SD Perspectives

“การลงรายละเอียดไปในตัวผลิตภัณฑ์จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะเราผลิตและขายคอมพิวเตอร์ ต่อให้เราไปปลูกป่ามากแค่ไหน แต่ถ้าเรายังผลิตคอมพิวเตอร์แบบเดิม ก็ไม่ได้ช่วยอะไร”

 

เอเซอร์ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นรูปธรรม โดยกำหนดแนวทางการปฎิบัติไว้ 3 แนวทางคือ Climate Change, Circular Economy และ Social Impact ซึ่งแต่ละแนวทางมีการกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจน ดังนี้

Climate Change

มุ่งเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของกลุ่มเอเซอร์เพื่อให้มีการใช้พลังงาน น้อยลง 45% ภายในปี 2025 โดยเทียบกับปี 2016 เข้าร่วมโครงการ RE100 ระดับโลกและให้คำมั่นที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2035 จัดส่งการใช้พลาสติก PCR หรือ Post Consumer recycled 15 ล้านชิ้น 80% ของพลังงานของซัพพลายเออร์หลัก ปฏิบัติตาม RE100 ภายในปี 2025

Circular Economy

มีการเพิ่มปริมาณการนำพลาสติก PCR มาใช้ 30% ในสินค้ากลุ่มต่างๆของเอเซอร์ทั้ง คอมพิวเตอร์ จอแสดงผล โปรเจคเตอร์และอื่นๆ โดยเอเซอร์มีการปล่อยโน้ตบุ๊กที่ทำจาก PCR 60% ออกมาในช่วงก่อนโควิด-19 ในซีรี่ย์ของ Aspire Vero นอกจากนี้ 85% ของบรรจุภัณฑ์กันกระแทกโน้ตบุ๊กผลิตจากเยื่อกระดาษรีไซเคิล ขณะที่หมึกพิมพ์ชื่อแบรนด์มาจาก Soy Ink

อย่างไรก็ตามแม้การผลิตสินค้ากลุ่มรักษ์โลกจะทำให้มีต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นราว 10% แต่ นิธิพัทธ์ มองว่าหน้าที่ของบริษัท คือ การพยายามทำให้คุณภาพและราคาไม่แตกต่างไปจากสินค้ารุ่นปกติ เพื่อไม่เป็นการผลักภาระให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคตอบรับกับโน้ตบุ๊คในกลุ่ม Vero แม้ในตอนแรกจะกังวลในเรื่องของรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากแบบดั้งเดิม

นอกจากผลิตภัณฑ์เอเซอร์ยังมีการทำงานกับร้านค้าพาร์ทเนอร์ ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเอเซอร์มีการปรับ Display Stand มาใช้วัสดุรีไซเคิล ที่เรียกว่า Eco Board ที่มีความหนา 10 มม.ทำจากกล่องนมที่ใช้แล้ว  มีการล้างให้สะอาด นำมารีไซเคิล   256,600 กล่อง ผลิตเป็น Display Stand ของเอเซอร์ได้ทั้งหมด 100 ตัว ทำเฉพาะในประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์เอเซอร์ที่มีส่วนผลมมาจากวัสดุรีไซเคิล รวมถึงEco Board ที่ใช้เป็นพื้นที่ Display Stand

Social Impact

 

พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมมากกว่า 90% เอเซอร์เชื่อว่า‘ความยั่งยืน’ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย สร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานในองค์กรพันธมิตรและพาร์ทเนอร์โดยนำเสนอความคิด แนวทางและกิจกรรมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน เอเซอร์ดำเนินการผ่าน 3 กิจกรรม คือ

-ทิ้ง | ทิ้ง(ถูกทิ้ง | ทิ้งถูก)โครงการด้าน E-Waste ที่เอเซอร์ให้ความสำคัญในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยตั้งจุด ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ณ ศูนย์บริการเอเซอร์กว่า 10 สาขา และมีแผนจะเพิ่มจุดวางให้ได้มากขึ้น 30% โดยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ในปี 2022 เอเซอร์รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ถึง918 กก. และคาดว่าในปี 2023 จะเพิ่มขึ้น 20% โดยจะรวบรวมและส่งต่อให้กับหน่วยงานเพื่อคัดแยก รีไซเคิลและกำจัดอย่างถูกต้องและปลอดภัย ตอนนี้จึงมีจุดทิ้งทั้งหมด 44 ที่ ก่อนที่จะส่งต่อไปยัง TES Company  เพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ไม่ไปสู่หลุมฝังกลบ

-“เหลือขอ =ขอที่เหลือ เพื่อแบ่งปัน” เอเซอร์ร่วมกับมูลนิธิบ้านนกขมิ้นสร้างคุณค่าให้กับของเหลือใช้ ส่งต่อเป็นโอกาส รายได้สำหรับค่าอาหาร ค่าเทอมให้กับเด็กๆ ในมูลนิธิบ้านนกขมิ้น ปัจจุบันมีการตั้งรับบริจาคที่ศูนย์บริการเอเซอร์สำนักงานใหญ่เท่านั้นโดยได้มีการมอบสิ่งของต่างๆ ให้กับทางมูลนิธิไปแล้วกว่า 5 ครั้ง และมีแผนที่จะขยายเพิ่มจุดรับบริจาคกับทางพาร์ทเนอร์ในเร็วๆ นี้

-“ทอใหม่ (จาก) เส้นใย ขวดเก่า” เอเซอร์ร่วมกับวัดจากแดงปลุกจิตสำนึกเรื่องการคัดแยกขยะของพนักงานในองค์กรเอเซอร์ในการรวบรวมและนำส่งขวดน้ำพลาสติกส่งต่อให้กับศูนย์การเรียนรู้และจัดการขยะชุมชน “วัดจากแดง” เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยพลาสติกและผลิตเป็นผ้าไตรจีวรสำหรับพระสงฆ์ตั้งแต่เริ่มกิจกรรมจนถึงตอนนี้เราได้ส่งต่อขวดน้ำพลาสติกไปยังวัดจากแดง รวมแล้วมากกว่า 1,800 ขวดช่วยผลิตผ้าไตรจีวรได้มากว่า  120ชุด

“ภายในปีนี้เราจะมีการเปิดตัวจักรยานไฟฟ้าและสกู๊ตเตอร์พลังงานไฟฟ้าภายใต้กลุ่ม Vero เพราะเรามองว่าเอเซอร์ไม่จำเป็นจะต้องหยุดอยู่ที่การขายคอมพิวเตอร์ เพราะถ้าเรามองว่าบริษัทไอทีอาจจะใกล้อิ่มตัว การหาธุรกิจใหม่ๆเข้ามาเสริมจะช่วยให้เราเติบโตอย่างยั่งยืน  เราเป็นเพียงส่วนเล็กๆที่ทำเรื่องนี้ แต่ถ้าวันหนึ่งและอยากเห็นแบรนด์อื่นๆโดยเฉพาะที่ทำ Home appliance ทำเรื่องพวกนี้เช่นกัน เพราะถ้าเขาคิดเหมือนเราบริษัทเหล่านี้มีโวลุ่มที่มากกว่าเราถ้าเขาทำ บริษัทที่ทำ PCR ก็จะผลิตใน Volume ที่เพิ่มมากขึ้น ต้นทุนก็จะลดลง”

นิธิพัทธ์กล่าวในท้ายที่สุดถึงอนาคตเอเซอร์  มีแผนในการผลักดันสินค้าโน้ตบุ๊คกลุ่ม Vero เข้าสู่องค์กรต่างๆ เพื่อเพิ่ม Volume ในการผลิตให้สินค้ารักษ์เติบโตมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้

The post เอเซอร์ เปิดเส้นทางสู่ความยั่งยืน ผ่านทุกผลิตภัณฑ์ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
สยามพิวรรธน์ ปักหมุดศูนย์การค้าแห่งแรกในไทย ประเดิมการใช้ RE100% ในปี 2030 และเดินถึงเป้า Net Zero 2050 https://www.sdperspectives.com/next-gen/21621-siam-piwat-sustainability-2030/ Sat, 30 Sep 2023 08:52:17 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21621 30 กันยายน 2566... สยามพิวรรธน์อยู่ในพื้นที่สยามฯมากว่า 60 ปี เป็นภาคเอกชนรายแรกที่ร่วมพัฒนาเมืองเป็นเกตเวย์ของกทม. และเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินหน้าสู่ Net Positive Impact ยกระดับย่านปทุมวันเป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ

The post สยามพิวรรธน์ ปักหมุดศูนย์การค้าแห่งแรกในไทย ประเดิมการใช้ RE100% ในปี 2030 และเดินถึงเป้า Net Zero 2050 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
30 กันยายน 2566… สยามพิวรรธน์อยู่ในพื้นที่สยามฯมากว่า 60 ปี นับเป็นภาคเอกชนรายแรกที่ร่วมพัฒนาเมืองเป็นเกตเวย์ของกทม. ปัจจุบันกลายเป็นจุดปักหมุดสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว รุกทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจรวมภาครัฐ เดินหน้าสู่ Net Positive Impact ตั้งเป้าศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2030 พร้อมยกระดับย่านปทุมวันสู่แนวคิดการสร้างสรรค์เมืองให้เป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ

นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ เดินหน้าผนึกกำลังด้านความยั่งยืนกับพันธมิตรเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และเตรียมประกาศลงนามความร่วมมือด้านความยั่งยืนกับแบรนด์ดังระดับโลกในต้นปี 2024

“ สยามพิวรรธน์ไม่ได้ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกเท่านั้น แต่เราเป็นส่วนเชื่อม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม เช่นทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้ากับอาคารต่าง ๆ บริเวณสี่แยกปทุมวันที่ได้ทำไว้และส่งมอบให้กทม.แล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเดินเท้าธรรมดา หรือผู้ใช้วีลแชร์ก็สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้ เช่นจาก สยามดิสคัฟเวอรี่ไปเอ็มบีเค เป็นต้น ดังนั้นตรงนี้เป็นความภูมิใจที่ทุกสิ่งที่สยามพิวรรธน์สร้างขึ้นเป็นพื้นที่ของทุกคน พร้อมทั้งคำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ มิติ ทั้งการคัดแยกขยะ การนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มพื้นที่ต้นไม้กับกทม.”

 

ในขณะที่ในบทบาทสยามพิวรรธน์เป็นผู้พัฒนาโครงการจุดหมายปลายทางระดับโลก คงจะเป็นการกล่าวไม่ผิดนักหากจะบอกว่า ที่ สยามดิสคัฟเวอรี่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ตัดสินใจเปิดพื้นที่ชื่อ ECOTOPIA รวบรวมไลฟ์สไตล์แบบอีโค่แห่งแรกและใหญ่ที่สุดในเอเชีย ทั้ง Reuse, Recycle, Upcycling เป็นแห่งแรกของห้างค้าปลีก แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ต้องการขับเคลื่อน ชุมชนและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกระดับ ECOTOPIAในปัจจุบันยังทำหน้าที่อยู่ และมีสินค้าเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เป็นการตอกย้ำว่า สยามพิวรรธน์เป็นภาคเอกชนที่มีแนวปฏิบัติเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรม และมีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมี รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ที่ปรึกษาด้าน Sustainability ผู้รับผิดชอบคนสำคัญเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนความยั่งยืนของสยามพิวรรธน์มาตลอด

ขณะเดียวกัน สยามพิวรรธน์ เดินหน้าการทำธุรกิจด้วย ESG (Environment ,Social, Governance) อนุรักษ์พลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น

-การเปลี่ยนหลอดไฟ LED ช่วยประหยัดพลังงาน
-การใช้ระบบ AI ในการควบคุมการทำงานของระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ตลอดจนขยายผลไปสู่การใช้พลังงานสะอาด
-การนำนวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อปมาติดตั้งที่ไอคอนสยาม สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อ/ปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 550 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ต่อปี

ศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2030

-การผสานความร่วมมือกลุ่มบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมกันพัฒนาและติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftop) บนพื้นที่สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ กว่า 20,000 ตารางเมตร ให้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้กว่าปีละ 4,800,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 4,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายองค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ให้กับโลกของเราโดยร่วมมือกับพันธมิตรติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการที่ศูนย์การค้า

“สยามพิวรรธน์กำลังศึกษาร่วมกับองค์กรชั้นนำทางด้านพลังสะอาดของประเทศไทยอีกหลายแห่ง อาทิ บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) โดยมุ่งเพื่อให้ทุกศูนย์การค้าภายในกลุ่มสยามพิวรรธน์ใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy (RE) โดยร่วมมือกับองค์กรชั้นนำ ในการจัดหาพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการผลิตที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในพื้นที่ศูนย์การค้าต่างๆ โดยมีเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียน 30% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่สยามพิวรรธน์บริหารจัดการเอง ภายในปี 2026 และ 100% ภายในปี 2030”

 

สยามพิวรรธน์ และพันธมิตรจากภาคเอกชน ภาครัฐ และมหาวิทยาลัย เดินหน้าสู่ Net Positive Impact

-การแก้ไขปัญหาขยะต่าง ๆ ทำตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านโครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste ส่งเสริมให้คนไทยจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยจุดบริการรับขยะ (Recycle Collection Center ; RCC) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร นำขยะที่ทำความสะอาด และคัดแยกแล้วส่งต่อเข้ากระบวนการรีไซเคิล (Recycle) เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือนำมาเข้าสู่กระบวนการอัพไซเคิล (Upcycle) เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยส่วนหนึ่งยังกลับมาวางจำหน่ายบนพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” (ECOTOPIA) โดยมีเป้าหมายลดปริมาณการฝังกลบของขยะจากการดำเนินงาน 50% ภายในปี 2030
-การแก้ไขปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงร่วมสนับสนุน Synnex ในโครงการ ทิ้งให้ถูกกับ Trusted By Synnex E-Waste โดยจะเปิดจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ Electronic Waste (E-waste) ณ บริเวณ NextTech สยามพารากอน

Scope 1และ 2 สยามพิวรรธน์ลงมือทำแล้ว เช่นการเปิดพื้นที่แยกขยะ และ พื้นที่ของ EV Station ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ เป็นศูนย์

“สยามพิวรรธน์ใช้ธุรกิจเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาสและพัฒนาศักยภาพของคน ส่งเสริมให้ผู้คนที่มีส่วนร่วมกับสยามพิวรรธน์ได้เติบโตและประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กับเรา เมื่อเป็นพื้นที่ของทุกคนและกำลังอยู่ในภาวะโลกเดือด สยามพิวรรธน์จึงอาสาเป็นหนึ่งในการร่วมพัฒนาเมืองกับหน่วยงานราชการ รวมถึงสถาบันการศึกษาพัฒนาย่านปทุมวันสู่ต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ ในการเชื่อมธุรกิจไปสู่ผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาจุดหมายปลายทางระดับโลกสู่ความยั่งยืน”

นราทิพย์ขยายความต่อเนื่องถึง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาย่านปทุมวัน” นับจากนี้ สยามพิวรรธน์พร้อมเป็นองค์กรนำร่องยกระดับย่านปทุมวันสู่แนวคิดการสร้างสรรค์เมืองให้เป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ โดยร่วมมือกับ รศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC-CEUS) โดยแนวคิดในการขับเคลื่อนย่านปทุมวันสู่ย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะคือ

อนาคต ONESIAM @ ย่านปทุมวัน

“ปทุมวันเป็นศูนย์กลาง Shopping Destination สำหรับชาวไทย ชาวต่างประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย โดยมี ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ทั้งแนวดิ่งและแนวราบหลากหลายให้เลือกเดินตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน และพื้นที่แห่งนี้ยังมีสถานศึกษา สถาบันกวดวิชา สำนักงาน อาคารมิกซ์ยูส และอื่นๆ อีกมากมาย การที่สยามพิวรรธน์เป็นหัวหอกในการนำร่องยกระดับย่านปทุมวันสู่ย่านต้นแบบอัจฉริยะภายใต้แนวคิด SMART ECO-DISTRICT จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรักษาบทบาทการเป็นผู้นำย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป”

นราทิพย์กล่าวในท้ายที่สุด สยามพิวรรธน์มีพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อให้บรรลุ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย” ต่อเนื่องถึงปีหน้า 2024 จะเป็นค้าปลีกแห่งแรกในประเทศไทยที่ร่วมมือกับแบรนด์ดังและองค์กรชั้นนำระดับโลก ผนึกกำลังด้านความยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติร่วมกันอันเป็นการดำเนินธุรกิจตาม Global Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานในระดับสากล ทั้งนี้ “เพื่อโลกที่ดีขึ้นของทุกคน”

 

The post สยามพิวรรธน์ ปักหมุดศูนย์การค้าแห่งแรกในไทย ประเดิมการใช้ RE100% ในปี 2030 และเดินถึงเป้า Net Zero 2050 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>