SD DAILY

SD Daily : #โฆษณาไม่Sustainจริง ควรจะช่วยกันสร้าง #Natureliteracy

12 พฤษภาคม 2567…สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ แสดงความเห็นไว้ในเฟสบุคว่า #โฆษณาไม่Sustainจริง #Natureliteracy

เริ่มต้นของเรื่องมาจากการไปธนาคาร เจอโฆษณา Krungsri Private Banking ที่พูดเปรียบการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นตาไปพ่อไปลูก เหมือนเป็นการ #ส่งต้นไม้ใหญ่ในป่า

“ทำมาเท่ดี แต่น่าจะเคาะกะโหลก Agency ที่ทำการบ้านตื้นไปหน่อยมาก ยิ่งในโลกที่กระแสความยั่งยืน-Climate – Nature กำลังมาแรงสุดๆ คือตอนจะส่งต้นไม้ใหญ่ให้ลูกดันยก #รากต้นไม้ขึ้นมาให้แทบลอย แล้วครอบกระจกแก้วแบบสวยงาม Modern เหมือน Office แก้ว มีคนแต่งตัวเหมือนนักวิทยาศาสตร์นั่งวิจัยๆแล้วบอกว่าจะขยายกิ่งก้านอย่างยั่งยืน..”

สรุปคือ Scifi Vision ที่ไม่เข้าใจเรื่องต้นไม้ ธรรมชาติ Ecosystem Growth ที่ตัวเองพยายามจะสื่อเลย คือมั่วเละไปหมด

สุนิตย์ เขียนต่อเนื่องในความเข้าใจต้นไม้

– ต้นไม้ใหญ่มาก ถอนขึ้นมารากลอย ย่อมเหมือนกับแทบจะฆ่าต้นนั้นให้กระทบกระเทือนอย่างมาก ตอนยกต้นไม้รากลอยมีภาพเสียง effect ประกอบด้วย

– ความแข็งแรงและความสมบูรณ์ของต้นไม้ อยู่ในดินที่เชื่อมกับรากไม่น้อยกว่าส่วนบน โดยเฉพาะในป่าที่มีระบบของ Mycelium Network Fungi เชื่อมทั้งอาหารและข้อมูลการเอาตัวรอดเกื้อกูลกันระหว่างต้นไม้รอบๆและสิ่งมีชีวิตแถวนั้น อาจกระจายเชื่อมโยงกว้างขวางใต้ดินไกลกว่ารอบๆต้นไม้นั้นไปหลายเท่าหรือเป็นกิโล รวมถึงมีผลกักเก็บคาร์บอนในดินมากกว่าที่ต้นอ้วนขึ้นทุกปีแนวคาร์บอนเครดิตเสียอีก ที่เขาเรียกว่า Wood Wide Web ซึ่งหากยกรากขึ้นมาเท่ๆแบบนี้ ระบบรากเชื่อม Mycelium ใต้ดินน่าจะพังหมดสำหรับต้นนี้ เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และมีถูกโดดเดี่ยวในระบบนิเวศทำให้โอกาสรอดน้อยลง

– ใส่ครอบกระจกแก้ว สะท้อนความคิดโบราณที่ธรรมชาติอยู่ในความควบคุมของคนได้ทั้งหมด มองและจัดการทุกอย่างแบบแยกส่วนบนฐานความไม่เข้าใจความซับซ้อนเชื่อมโยงของระบบนิเวศ ทั้งๆที่สถานการณ์จริงมันตรงข้ามกัน เหมือนออกมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ยุควิคตอเรียที่ไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้เชิงนิเวศในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา และเป็นไปในทางตรงข้ามกับการจัดการความยั่งยืนและขยายกิ่งก้านที่พูดถึง

“เป็นความเห็นส่วนตัว แต่สรุปว่า เท่แต่ตื้นและเสี่ยงที่จะตีความไปในทางตรงข้ามกับความยั่งยืนและ Climate Resilience ครับ รอบหน้าให้ Agency อ่านหนังสือหรือดู YouTube เยอะ ๆ หรือชวนคนรู้เรื่องมาถามถามหน่อย ผมจบเศรษฐศาสตร์ยังรู้เรื่องเลยถ้าใส่ใจและผู้ Approve ควรเข้าในเรื่องพื้นฐานของ Sustainability , Climate & Nature มากกว่านี้ น่าเสียดายเพราะออกมาตรงข้ามกับภาพลักษณ์ของกรุงศรีที่ปล่อย Innovative Finance Product สาย sustainability ออกมาเยอะและค่อนข้างดี ตั้งแต่ Genderปจนถึง Blue Bonds ซึ่งธนาคารอื่นพูดเยอะ แต่ไม่ค่อยได้ทำอะไรขนาดที่กรุงศรีทำ” 

สุนิตย์ขยายความต่อว่า โจทย์ในภาครวมจึงควรจะมีว่าควรจะช่วยกันสร้าง #Natureliteracy ให้ผู้คนในภาคส่วนต่างๆในสังคมให้รู้ข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น จะได้ช่วยกันแก้ปัญหาเรื่อง Climate & Nature ในไทยได้ดีขึ้นเรื่อยๆ คนในภาคธุรกิจ การเงิน โฆษณา Creative เมื่อรู้จริงมากขึ้นก็จะได้ทำอะไร Sustain มากขึ้น ไม่ติดกับดักแบบที่ผ่านมา

“แค่จิตนาการว่าหาก Agency หรือ Brand Owner สามารถเอาความรู้ใหม่ๆเท่ๆเรื่อง Ecosystem กับการเติบโตของต้นไม้/ป่าที่ยั่งยืนจริงๆมาเชื่อมโยงกับ Concept เรื่อง Wealth Management ได้จริงๆ ด้วยงบและเนื้องานที่มี โฆษณานี้อาจจะได้รางวัลระดับโลก พลิกความเข้าใจของผู้คนเกี่ยวกับการสร้างสินทรัพย์ที่ยั่งยืนจริงๆ ด้วยความ Creative ที่ไม่แพ้ชาติใดของ Agency ไทยครับ”

สุนิตย์เขียนปิดท้าย (จริงๆมันมี Concept Natural Capital เอามาใช้ได้ด้วยนะ) และให้แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
.
Wood wide web / roots mycelium network
https://www.nzgeo.com/stories/the-wood-wide-web/

.
Ecosystem sciences
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Ecosystem

.
การเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับการเข้าใจธรรมชาติจากปัจเจกสู่ระบบความสัมพันธ์ มาตั้งแต่ปี 1800 กว่าๆแย้ว
https://youtu.be/5j4i_YnfNVg?si=emOl7EjIGzl4BtG7

.
Natural capital
https://www.gov.uk/government/publications/enabling-a-natural-capital-approach-enca-guidance/enabling-a-natural-capital-approach-guidance?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR2gKQJZK8MNGby8OjPoTnD5zL9qdc2ai8kWzI-oVw1PdouhKhDfXYu88d8_aem_AWmN4PBR6XhYmA68kvQiEwD_NtzOhvoFgv97Kjsse-r4otl23sMGFx8UcXOLokVqRSw-g7kPqnqGEGol41NA5gVO#introduction-to-natural-capital

ต้นฉบับ

You Might Also Like