NEXT GEN

เผยรายชื่อ Brand ระดับโลก  หนุนจับมือด้าน ESG มุ่งสร้างตัวชี้วัด Stakeholder Capitalism

24 กุมภาพันธ์ 2564… เมื่อโลกหลีกเลี่ยงทุนนิยมไม่ได้ จึงต้องมีระบวนการทำงานคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้คน และโลก Stakeholder Capitalism จึงต้องมีความชัดเจนมากขึ้น


-ผู้นําธุรกิจ 61 ราย รวมถึงสมาชิกของ World Economic Forum และสภาธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) ร่วมให้คำมั่นสัญญาที่จะสร้างตัวชี้วัดด้านการลงทุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่รับรองโดย IBC

-ตัวชี้วัดด้านทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือ Stakeholder Capitalism Metrics ประกอบด้วยชุดของการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นสากล เทียบเคียงได้กับการมุ่งเน้นไปที่ประชาชน โลก ความเจริญรุ่งเรืองและการกํากับดูแลที่บริษัทสามารถรายงานได้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอุตสาหกรรมหรือภูมิภาค

-สัญญาณการเคลื่อนไหวที่ผู้นําภาคเอกชนมองว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลมีความสําคัญต่อความสําเร็จและความยั่งยืนในระยะยาวของทุกธุรกิจ รวมถึงการมีสิทธิ์มีเสียงแบบครบวงจร ล้วนถูกรวบรวมเข้าสู่การแก้ปัญหาระดับโลกสําหรับประเด็นการรายงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน

พวกเขาเสริมสร้างความสามารถของบริษัท และนักลงทุนด้วยการเปรียบเทียบความคืบหน้าเรื่องความยั่งยืน ซึ่งจะปรับปรุงการตัดสินใจ เพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบเกี่ยวกับบริษัทที่มีมูลค่าร่วมกันและยั่งยืน

ผู้นําเหล่านี้และองค์กรของพวกเขา ซึ่งในจำนวนนี้มีองค์กรอย่าง Dow, Unilever, Nestlé, PayPal, Reliance Industries และ Sony ได้มุ่งมั่นที่จะ

-สะท้อนตัวชี้วัดหลักในการรายงานต่อนักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ (เช่น รายงานประจําปี รายงานความยั่งยืน หนังสือมอบฉันทะ หรือเนื้อหาอื่นๆ) โดยการรายงานตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนมากที่สุด หรืออธิบายสั้นๆ ว่าทําไมวิธีการอื่นจึงเหมาะสมกว่าสนับสนุนงานนี้ในวงกว้าง รวมถึงกระตุ้นให้พันธมิตรทางธุรกิจของพวกเขาทําแบบเดียวกัน

-ส่งเสริมความร่วมมือที่ให้เกิดความคืบหน้ามากกว่าเดิมของมาตรฐาน Framework และหลักการ ESG ที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ได้รับการยอมรับในระดับ Global สําหรับการรายงานที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน แต่ต้องมีตัวชี้วัดด้าน ESG ด้วย

ในการทำตามคำมั่นสัญญาเหล่านี้ บรรดาผู้นําธุรกิจกําลังส่งสัญญาณว่า ปัจจัย ESG กำลังมีความสําคัญเพิ่มขึ้นต่อความสําเร็จและความยั่งยืนในระยะยาวของทุกธุรกิจมากขึ้น สิ่งนี้แสดงถึงเจตนารมณ์ของบริษัทชั้นนําระดับโลกอย่างชัดเจนในการที่จะรวมความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์หลักการดําเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลขององค์กร

Cr.คลิกภาพ


“การจัดด้านทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholder Capitalism ได้กลายเป็นกระแสหลักแล้วในตอนนี้” Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร World Economic Forum กล่าว “ความมุ่งมั่นของประชาชนที่ส่งผ่านมาทางบริษัทต่าง ๆในความต้องการรายงาน ไม่เพียงเฉพาะข้อมูลทางการเงิน แต่ยังรวมถึงผลกระทบด้าน ESG ของพวกเขา เป็นขั้นตอนสําคัญต่อเศรษฐกิจโลกที่ทํางานเพื่อความก้าวหน้าของผู้คน และโลกทั้งใบในภาพรวม”

Brian Moynihan ประธานและซีอีโอของธนาคารแห่งอเมริกา และประธานสภาธุรกิจระหว่างประเทศกล่าวว่า

“เราต้องมอบผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย และช่วยขับเคลื่อนความคืบหน้าให้กลายเป็นความสำคัญลำดับต้น ๆ ของสังคม นั่นคือภาพของการจัดการทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่กำลังดำเนินไป ตัวชี้วัดทั่วไปจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดวัดความคืบหน้าที่เรากําลังทําได้ และให้แน่ใจว่า การจัดการทุนดังกล่าวจะสามารถระดมทรัพยากร จากบริษัท นักลงทุน และอื่น ๆ นําไปยังที่ที่สามารถสร้างความแตกต่างได้มากที่สุด”



World Economic Forum ซึ่งมีความร่วมมือของ Bank of America, Deloitte, EY, KPMG และ PwC ได้คัดสรรชุดตัวชี้วัดหลัก 21 เรื่อง และองค์ประกอบย่อย ๆ อื่นอีก 34 เรื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 140 คน

ตัวชี้วัดรวมถึงการเปิดเผยที่ไม่ใช่ทางการเงิน  แต่เป็น 4 เรื่องอยู่รอบ ๆ คือ ผู้คน โลก ความเจริญรุ่งเรือง และหลักการของการกํากับดูแล เสาหลักที่เป็นแกนกลางประกอบด้วยตัวชี้วัด เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความเสมอภาคในการจ่ายค่าตอบแทน ความหลากหลายของคณะกรรมการและอื่น ๆ

ด้วยการปรับ การรายงานตัวชี้วัด และการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้มาใช้ชุมชนธุรกิจจะยังคงสร้างความร่วมมือและการจัดตําแหน่งระหว่างมาตรฐานที่มีอยู่มากขึ้น ส่งเสริมความคืบหน้าในการพัฒนามาตรฐานทั่วไปที่เป็นระบบและเป็นที่ยอมรับทั่วโลกสําหรับการรายงานผลการดําเนินงานด้านความยั่งยืน

Cr.คลิกภาพ

มาดูรายชื่อบริษัททั้งหมดที่มีข้อตกลงในการดําเนินการรายงานเกี่ยวกับตัวชี้วัดทุนนิยมผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย:

-Accenture
-Adecco Group
-African Rainbow Minerals
-Allianz
-Banco Santander
-Bank of America
-BBVA
-Boston Consulting Group
-bp
-Clifford Chance
-Credit Suisse
-Dell Technologies
-Deloitte
-Deutsche Post DHL
-Dow
-Eni
-Ecolab
-Ecopetrol
-Equinor
-EY
-Fidelity International
-HEINEKEN
-HP
-HSBC Holdings
-IBM
-JLL
-Kearney Inc.
-KPMG
-Mahindra Group
-Majid Al Futtaim
-Mastercard
-McKinsey & Company
-Medtronic
-Mercuria Energy Group
-Mitsubishi Corporation
-Mitsubishi UFJ Financial Group Inc.
-Nestlé
-Novo Nordisk A/S
-Palo Alto Networks
-PayPal
-Publicis Groupe
-PwC
-Reliance Industries
-Repsol
-Royal DSM
-Royal Dutch Shell
-Royal Philips
-Salesforce
-Schneider Electric
-Siemens
-Solvay
-Sony
-Sumitomo Corporation
-Sumitomo Mitsui Financial Group (SMFG)
-Suntory Holdings
-Takeda Pharmaceutical
-Total
-UBS
-Unilever
-Yara International
-Zurich Insurance Group

“การหลีกลี้หนีจากสภาวะ Climate Change ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดที่โลกเผชิญ รายงานและบัญชีประจําปีของบริษัทอาจไม่ใช่กลไกแรกที่จะนึกถึงหากต้องการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง แต่การรายงานข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงินที่เป็นมาตรฐานและมีข้อบังคับเป็นสิ่งสําคัญในการสร้างระบบทุนนิยมรูปแบบใหม่ที่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ ฟอรัมของ IBC เป็นก้าวสําคัญ และเรากำลังพิสูจน์ถึงการสนับสนุนอย่างจริงใจของเรา” Alan Jope CEO ของ Unilever กล่าว

Geraldine Matchett Co-CEO and Chief Financial Officer and Member of the Managing Board, Royal DSM กล่าว

“แม้จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนที่ตระหนักว่าการเปิดเผยข้อมูล ESG มีความสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุนที่ดี แต่ก็ยังไม่มี Framework ระดับประเทศที่ตกลงกันชัดเจน ดิฉันหวังว่า Stakeholder Capitalism Metrics จะเป็นขั้นตอนแรกในการผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันของตัวชี้วัดและมาตรฐานที่มีอยู่ นี่จะเป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการเร่งการเปลี่ยนแปลงระบบที่โลกต้องการทําให้นักลงทุนอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้ดีขึ้น และช่วยให้บริษัทต่างๆทําสิ่งที่ถูกต้อง”

Ilham Kadri CEO และ Chairman of the Executive Committee ของ SOLVAY กล่าว

“ Stakeholder Capitalism Metrics แสดงถึงความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ในการเตรียมนักลงทุนองค์กร สังคมและหน่วยงานกํากับดูแลด้วยชุดตัวชี้วัด ESG ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน SOLVAY มุ่งมั่นที่จะส่งมอบการเติบโตที่ทํากําไรได้ดีกว่าอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ พวกเราตอบรับตัวชี้วัดเหล่านี้อย่างกระตือรือร้น เพราะเป็นโอกาสที่จะมีส่วนร่วมบนพื้นฐานที่สอดคล้อง โปร่งใส และเป็นจริง เพื่อจัดการกับความท้าทายที่สําคัญที่สังคมของเราเผชิญอยู่”


Marc Benioff กรรมการและ CEO, Salesforce กล่าว

“วันนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งในผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของการจัดการทุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มันไม่ใช่แค่คําพูด แต่เกี่ยวกับบริษัท ที่ตั้งค่าตัวชี้วัดที่ชัดเจน วัดความคืบหน้าของเรา และรับผิดชอบต่อตัวเอง เมื่อมีสิ่งนี้ เราก็สามารถสร้างการเติบโตระยะยาวสําหรับผู้ถือหุ้นของเรา สร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด และปรับปรุงสถานะของโลกได้อย่างจริงจัง”


หมายเหตุ : ความคิดริเริ่มการจัดการทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในเดือนสิงหาคม 2019 ตามคําร้องขอของ IBC World Economic Forum ได้ร่วมมือกับ Deloitte, EY, KPMG และ PwC ในโครงการเพื่อระบุชุดของตัวชี้วัด และการเปิดเผยข้อมูลสากล – Stakeholder Capitalism Metrics – เริ่มจากมาตรฐานที่มีอยู่ มุ่งเน้นไปที่ 4 รูปแบบของหลักการความโปร่งใส โลก ผู้คนและความเจริญรุ่งเรือง

ในเดือนกันยายน 2020 ภายหลังปรึกษาหารือกับบริษัท นักลงทุนและผู้สนใจกว่า 200 รายเป็นเวลา 6 เดือน โครงการได้เผยแพร่ชุดตัวชี้วัดหลัก 21 รายการ และองค์ประกอบรองอีก 34 รายการในรายงาน Measuring Stakeholder Capitalism initiative ตามมาด้วยรายงานการสร้างมูลค่ายั่งยืนที่สอดคล้องกัน

ที่มา

 

 

You Might Also Like