NEXT GEN

รุ่นที่ 1@หลักสูตรสร้างความอยู่ดีมีสุข ผลักดันและสร้าง Well-Being Ecosystem โดย RISC

17 เมษายน 2566…ผู้บริหารที่อยู่ในรุ่นนี้เช่น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สถาปนิก วิศวกร สาธารณสุข นักโฆษณา เอ็นจีโอ ข้าราชการผังเมือง ฯลฯ ล้วนเป็นคนที่มีกำลังขับเคลื่อนเนื้อหาหลักสูตรนี้ในพื้นที่ที่ทำงานอยู่รับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่างๆ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตของทุกชีวิต

“ในการคัดเลือกจากผู้สมัคร 200 คน ให้เหลือ 50 คน เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะผู้สมัครอยู่ในเกณฑ์ทั้ง 4 ข้อคือ มีประสบการณ์ในงานที่ทำอย่างน้อย 5 ปี ต้องมีเวลาเรียนให้ครบทุกวันศุกร์ช่วงบ่ายถึงเย็น เป็นผู้นำที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้ สุดท้ายต้องเขียน Essay ซึ่งตอนคัดเลือก เราจะปิดไม่ดูชื่อตำแหน่ง อ่าน Essay เท่านั้น เพื่อไม่เกิด Biased”

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) และประธานหลักสูตรWell-Being Design & Engineering Program อธิบายเพิ่มเติมหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” ที่จัดทำขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกลุ่มคน “Well-Being Champion” หรือ “ผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข โดยหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” ถือว่าเป็น เจ้าขององค์ความรู้ (Proprietary Knowledge) เนื่องจาก RISC มีองค์ความรู้เชิงลึกจากงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์หลายศาสตร์ ที่ศึกษามาตลอดกว่า 10 ปี และมีการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ทำงานในการประยุกต์ความรู้ส่งเสริมให้เกิด Well-Being ในโครงการจริง ด้วยกระบวนการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกัน และเรียนรู้จากตัวอย่างโครงการจริงจนสามารถนำความรู้ไปใช้งานจริงได้ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี และความอยู่ดีมีสุขครบด้าน

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) และประธานหลักสูตรWell-Being Design & Engineering Program พร้อมด้วย ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ Vice President RISC และการบรรยายบางช่วง

“Well-Being Design & Engineering Program เป็นหลักสูตรแรกของโลกที่เรียนรู้จากงานวิจัยและการต่อยอดจากโครงการจริง ที่ไม่ใช่เพียงการสร้างความรู้สึก “มีความสุข” เท่านั้น แต่ยังผสานกับวิศวกรรมงานระบบเชิงประยุกต์ทั้งกระบวนการวางแผนและจัดการภาพรวม เชื่อมโยงทุกส่วนของการพัฒนาโครงการได้ เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัย อาคารหรือโครงการ นำไปสู่ความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ได้อย่างยั่งยืน”

ความสำคัญและองค์ประกอบของ Well-Being ในด้านความยั่งยืน 3 แกนหลัก คือ 1) ความยั่งยืนทางด้านจิตใจ (Mental/Emotional Well-Being) 2) ความยั่งยืนทางด้านร่างกาย (Physical Well-Being) 3) ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Well-Being) และองค์ความรู้เกี่ยวกับกรอบการปรับตัว เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตของทุกชีวิต

ในการบรรยายครั้งต่อ ๆ มายังได้รับองค์ความรู้จากวิทยากรหลายท่านที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญการสร้างความอยู่ดีมีสุข” ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการจริงตามความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่ทำงานตลอดกระบวนการจนเกิดการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ในทุกแง่มุมของการประยุกต์ความรู้เชิงลึกที่พร้อมจะแบ่งปัน ทั้งผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่คลุกคลีและทำงานร่วมกับ RISC นำความรู้เชิงลึกมาประยุกต์ใช้ในโครงการจริง เช่น เกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด, ผศ.ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และทีมนักวิจัย RISC ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาให้ความรู้ เช่น ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส และ Innovation Integration, ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ หัวหน้า Happiness Science Hub, สุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP และ ทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส Sustainable Building Materials ฯลฯ

ส่วนการบรรยายครั้งล่าสุด รศ.ดร.สิงห์ ได้บรรยายเรื่อง Resilience Framework การวางแผนเชิงวิเคราะห์ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน หรือ แก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง อาทิ ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ก่อนที่ผู้เรียน จะได้เรียนจากโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งเป็นโครงการที่นำเอาองค์ความรู้ด้านความอยู่ดีมีสุขมาสร้างให้เกิดขึ้นจริงเป็นโครงการเมืองคู่ป่าโครงการแรกของโลก

คลิกภาพเพื่อขยาย

“สิ่งที่ผู้จัดต้องการมากอีกเรื่องหนึ่งคือการแลกเปลี่ยนมุมมองกัน หลายเรื่องที่เราต้องรับฟังเพื่อนำมาไว้ในหลักสูตร เช่นการบรรยายครั้งนี้ ผู้เข้าอบรมแสดงความเห็นถึงเรื่องวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ และการที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น เราได้คิดถึงตรงนี้ไหม ซึ่งผมก็รู้สึกว่า เรื่องเหล่านี้สำคัญ ตัวอย่างศาสนา ต้องใส่ไว้ใน Social Issue”

ทวีจิตร จันทรสาขา อดีตนายกสมาคมสถาปนิก และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศศิดีแอนด์เอ็ม จำกัด ตัวแทนผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ รุ่นแรก กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้เข้ามาเรียนหลักสูตรนี้ เป็นเรื่องดีที่ภาคเอกชนทำหลักสูตรแบบนี้ขึ้นมาเพราะว่ามันจะส่งผลกับการพัฒนาประเทศ ทำให้สังคมโดยรวมเราน่าจะดีขึ้น หลักสูตรนี้จะช่วยตนเองมากในอนาคต ช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หลายเรื่องก็จะเป็นเรื่องที่จะเตือนใจ

“สำหรับ Well-Being ที่เราจะทำสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นได้นั้น สิ่งแรกเลยผมว่าต้องตระหนักก่อนว่าเรามีความรู้และมีความตั้งใจที่จะทำสิ่งนี้ และอีกเรื่องสำคัญก็คือว่าเราเองก็คงจะต้องกำหนดแผนในใจเราที่จะทำเรื่อง Well-Being ให้เป็นนโยบายที่กว้างขวางไปในหมู่สังคมของเราครับ”

บางส่วนของรุ่นที่ 1 แสดงมุมมองต่อหลักสูตร

วิสุทธินี แสงประดับ กรรมการมูลนิธิหัวใจอาสา ผู้มีส่วนบุกเบิกการพัฒนาที่ยั่งยืนและธุรกิจเพื่อสังคมในมิติต่างๆ ของประเทศไทย กล่าวว่า

“รู้สึกขอบคุณที่ RISC กล้าเป็นผู้นำในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน ’Well-Being’ สู่สังคม ซึ่งมั่นใจว่าหลักสูตรนี้จะสร้าง Impact มหาศาลต่อสังคมไทยเพราะเพื่อน ๆ หลายคนที่มาเรียนมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยส่วนตัวได้วางแผนนำองค์ความรู้จากการเรียนไปใช้ในการพัฒนาที่ดินซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งต้นน้ำซับ 1 กม. มีป่าชุมชน แวดล้อมด้วยเพื่อนบ้านที่เป็นกัลยาณมิตรและเป็นสังคม Well-Being เล็ก ๆในท้องถิ่น โดยตั้งใจจะเริ่มต้นประยุกต์และนำความรู้สู่พื้นที่เล็กๆ นี้ รวมทั้งจุดประกายสิ่งดีๆ ให้กับเพื่อนบ้านในแนวทางของการอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างต้นแบบเพื่อการเรียนรู้และสร้างคนในพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นมาก การทำเรื่องนี้ในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิสังคม จึงอยากให้โอกาสคนทุกวัยโดยเฉพาะเด็กๆ ได้มีโอกาสมาเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมจริงนอกเหนือไปจากการเรียนรู้ในห้องเรียน นอกจากนี้ เกร็ดความรู้จากเพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มที่นำเสนอช่วงท้าย ยังสามารถนำมาต่อยอด เชื่อมโยง และนำใช้ในการผลักดันนโยบายของชาติด้าน Environmental Well-Being”

บริทัศน์ สวันตรัจฉ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัตตา สตูดิโอ จำกัด บริษัทด้านการออกแบบและสถาปนิก กล่าวเสริมว่า

“จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนด้าน Well-Being ไปปรับใช้ในการดูแลคุณพ่อที่ป่วยเป็นพาร์คินสันซึ่งต้องพบแพทย์เป็นประจำ ซึ่งผู้ป่วยพาร์คินสันโดยทั่วไปจะมีความต้องการพื้นที่และการอยู่อาศัยที่ต้องการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สำหรับพักผ่อนมากขึ้น ผมตั้งใจว่าจะทำบ้านต้นแบบขึ้นมาแล้วแบ่งปันไปยังครอบครัวที่มีผู้ป่วยพาร์คินสันที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในเมืองที่มีพื้นที่น้อย ก็คือจะต้องออกแบบอย่างไรให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะ สิ่งแวดล้อมที่มีสุขภาวะ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการป่วยได้ด้วย”

รศ.ดร.สิงห์ กล่าวในท้ายที่สุด หลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program จะมีการเปิดรุ่นที่ 2 ในปี 2567 ผู้ที่สนใจร่วมเป็น “ผู้ขับเคลื่อนความอยู่ดีมีสุข” หรือ “Well-Being Champion” เพื่อร่วมสร้าง Well-Being Ecosystem ผลักดันให้เกิดชึ้นได้อย่างแท้จริง

 

You Might Also Like