CSR

จาก Awareness สู่ Reporting ESG 101 สตาร์ทอัพ ต้องเริ่มต้นอย่างไร?

11 เมษายน 2567…KATALYST TALK โดย Beacon VC ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนา “ESG Essential Workshop: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups” นับเป็นครั้งแรกๆ ที่มีเวทีนี้สำหรับสตาร์ทอัพ ดําดิ่งสู่โลกของ ESG กับดร.เอกภัทร มานิตขจรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตร KU Care อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในวิชาการESG และในคลาสนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็น สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างศักยภาพแห่งความยั่งยืนสําหรับธุรกิจของคุณ!

ธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director -Beacon VC เจ้าของโครงการ KATALYST BY KBank ทักทายกับผู้ร่วมสัมมนากว่า 60 บริษัท ที่มีความสนใจที่จะทำธุรกิจและคำนึงถึงการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทาง ESG หรือเริ่มทำไปแล้วระยะหนึ่ง เช่น บางบริษัทได้ตั้งทีม Sustainability ไปแล้ว หรือบางบริษัทเริ่มสร้าง Awareness ให้คนในองค์กรต้องลงมือทำงานด้วย Mindset ใหม่

“ESG ปีที่แล้ว เป็นเหมือนกับการสร้าง Awareness ในเรื่องนี้ แต่ปีนี้เราอยากจะเน้นให้มีเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น เราต้องเตรียมตัวสําหรับอนาคตอันใกล้เพราะว่าโลกหมุนไป ESG มันเริ่มถูกบังคับใช้ในหลายประเทศแล้ว ถ้าคุณไม่ทํา คุณจะเสียโอกาสทางธุรกิจ”

ดร.เอกภัทรเน้นย้ำว่าการฝังแนวทาง ESG ลงในนโยบายธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายโลกในการลดการปล่อยคาร์บอนและมุ่งหน้าสู่ Net Zero ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเพิ่มความโปร่งใสในการทำงานด้วยการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น การดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงช่วยสร้างความยั่งยืนและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ แต่ยังตอบโจทย์ความคาดหวังจากสังคมและนักลงทุนในปัจจุบัน

เพราะภาวะโลกรวน ส่งผลให้คนบนโลกสัมผัสได้ และร่วมหาทางแก้ไข ผ่าน 17 เป้าหมาย SDGs และภาคธุรกิจมีแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วย ESG ฯลฯ ตัวอย่างเบื้องต้นที่จำเป็นต้องปูพื้นก่อนในคลาสนี้

“แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับพวกเรา เราเป็นแค่สตาร์ทอัพเล็กๆ ซึ่งเป็นแค่ส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน แต่ถ้าบริษัทที่เราทำธุรกิจด้วยเขามีเป้า Net Zero เขาจะวัดที่ Scope 3 แล้วเราซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเชนของบริษัทที่มีเป้า Net Zero เข้มข้น แต่บริการของเราไม่มีการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายNet Zero ดังกล่าว บริษัทคุณอาจจะถูก Disrupt ออกไปโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจสถานการณ์โลกก่อน เราก็ควรจะเตรียมตัวไว้ก่อน”

ทำความรู้จักกับศัพท์สำคัญบางส่วน ที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับ ESG ที่จะต้องเตรียมมุ่งสู่เป้า Net Zero

1.DJSI ย่อมาจากคำว่า Dow Jones Sustainability Indices เป็นดัชนีกลุ่มหนึ่งที่ประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทหลายพันแห่งที่ทำการซื้อขายต่อสาธารณะ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างดัชนี S&P Dow Jones และ RobecoSAM ของดัชนี S&P Dow Jones เป็นเกณฑ์มาตรฐานด้านความยั่งยืนระดับโลกที่ดำเนินมายาวนานที่สุดทั่วโลก

2.SET ESG Ratings หรือเดิมชื่อรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment)” ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน

3.GRI ย่อมาจากคำว่า Global Reporting Initiative แนวทางการเปิดเผยข้อมูลและจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนประจำปี

 

บรรยากาศภายในคลาส บริษัทสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะมาร่วมอย่างน้อย 2 คน ซึ่งจะมีโอกาสได้ปรึกษาเป้าประเด็นทางด้านความยั่งยืนให้ความชัดเจน และสามารถปรึกษาอาจารย์ได้ใกล้ชิด

ทั้งนี้ 2 คำแรกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนักลงทุนที่จะตัดสินใจลงทุนในบริษัทที่อยู่ในตลาดทุน ซึ่งพบว่ามีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าบริษัทเหล่านั้นก็ต้องมองดูซัพพลายเชนของตัวเองเช่นกัน

เส้นทางเดินของ Sustainable Business ด้วยแนวทาง ESG ไม่เพียงแต่มีเรื่อง Mindset ที่ต้องเปลี่ยน ผสานกับการมีความเชื่อเรื่องนี้ จากนั้นเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือ Stakeholder ของบริษัทที่จะต้อง Buy-in กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)ขององค์กร ในตำแหน่งต่าง ๆ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก ในแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยต้องมีการระบุรายละเอียดในส่วนของ Value Chain ของบริษัทเพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่ามีการคิดครบองค์ประกอบทั้งหมด

“การ Buy-in จำเป็นต้องใช้วาทศิลป์และการเล่าเรื่องที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ฟังที่มีตำแหน่งและความสนใจที่แตกต่างกัน บางครั้งคุณอาจต้องเผชิญกับคนที่คิดว่าข้อมูลไม่สำคัญหรือไม่จำเป็นต้องรู้ ซึ่งท้ายที่สุดคุณต้องนำเสนอเนื้อหาในแบบที่ทำให้พวกเขาสนใจ ความสำเร็จในการทำงานนี้ไม่ได้เกิดขึ้นภายในครั้งสองครั้ง แต่ต้องการความพยายามอย่างต่อเนื่องและไม่ยอมแพ้ง่ายๆ” ดร.เอกภัทรกล่าว

ช่วงสำคัญของคลาสคือการตัวแทนของกลุ่มออกมาแลกเปลี่ยนมุมมอง ด้วยองค์ความรู้ที่ได้จากการ Workshop ในคลาส

 

หนึ่งในผู้ร่วมคลาสทำ Workshop ช่วง Buy-in โดยกล่าวว่า ถ้าเป็น CEO มักจะใช้สมองซีกซ้าย แต่ก็ค่อนข้างมีเรื่อง Emotion ไม่น้อย เรื่องที่ Buy-in ได้ก็คงเป็นเรื่องที่มี Story ค่อนข้างดี เพราะว่าสิ่งที่เขาอยากได้คือเค้าก็อยากได้ Story ไปเล่าต่อเมื่อเจอคู่ค้า หรือพาร์ทเนอร์ โดย Story ค่อนข้างจะอิมแพคในในมุมของของ CEO ดังนั้นเวลาเราไป Buy-in ต้องพูดถึงเรื่อง Opportunity ในการทำเรื่องความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ มีอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องที่มีอิมแพคในเชิงของนโยบายว่าสามารถที่จะ ครอบคลุมธุรกิจใหม่ โอกาสใหม่ มี Social Impact จาก Requirement โดยต้องลงมือทำให้เห็นถึงความใส่ใจกับเรื่องนี้จริงจัง อย่าไปพูดเราต้องทําอะไร อย่างไร

แต่เมื่อต้องไป Buy-in กับ CFO เรื่องที่กล่าวข้างต้นคงไม่เป็นที่สนใจมากนัก เพราะตัวเลขทางการเงินสำคัญมากกว่า ดังนั้นเวลาคุยนอกจาก Story ต้องเพิ่มเรื่องเช่น การทำธุรกิจที่ยั่งยืน ช่วยลดต้นทุนได้อย่างไร ลดต้นทุนพลังงานด้านต่าง ๆ ลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้อย่างไร ซึ่งการดำเนินธุรกิจด้วยแนวทาง ESG เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับ Regulator ค่อนข้างมาก

ดร.เอกภัทร ขยายความต่อเนื่องจากการ Workshop ในจุดเริ่มต้น Buy-in ที่สมบูรณ์แบบข้างต้นแล้ว จากนั้นก็เป็นเรื่อง Materiality สาระสำคัญด้านความยั่งยืนซึ่งแต่ละบริษัทแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแม้ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน Policy ประกาศนโยบาย Strategy กลยุทธ์องค์กร Implementation ลงมือทำงานรายละเอียดสาระสำคัญ และสุดท้าย Disclosure เปิดเผยผลการดำเนินงาน

นับเป็นคลาสเริ่มต้นภายในเวลาที่กำหนดประมาณ 3 ชั่วโมง จบที่ Materiality นับจากนี้ก็เป็นการเรียนรู้จากงานในองค์กร เพื่อใช้เวลารวมเครื่องมือทางเทคโนโลยีในการไปสู่ Disclosure ต่อไป

You Might Also Like