ALTERNATIVE

เส้นทางสู่การลงทุนที่ยั่งยืน ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว

14 พฤศจิกายน 2562…ธนาคารหลายแห่งยังคงลงทุนอย่างหนักเรื่องเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ยังมีนักลงทุนชั้นนำ 30 รายกำลังลงทุนเรื่องโลกสีเขียว

มีข่าวว่า ธนาคารใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจเกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก กลับล้มเหลวในการรับมือเรื่องความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ  รวมถึงยังไม่ได้ตกปากรับคำอย่างจริงจังเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งถ้าพวกเขาไม่นำเงินไปใช้ในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกที่ยั่งยืน แล้วใครล่ะจะเป็นคนทำ

Mark Carney ผู้ว่าการธนาคารของสหราชอาณาจักร กล่าวว่า เราต้องการให้พวกเขามาร่วมรับผิดชอบด้วย นี่เป็นผลประโยชน์ทางการเงินของพวกเขา: องค์กรใดก็ตามที่เพิกเฉยต่อวิกฤติสภาพภูมิอากาศจะล้มละลายในที่สุด

ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ธนาคารเหล่านั้น เพิ่มการสนับสนุนเงินทุนเป็น 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐให้กับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล ประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่า ต้องทำงานอีกมากแค่ไหน หากเราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการหลีกเลี่ยง เพราะแม้แต่ European Investment Bank ซึ่งเป็นธนาคารรัฐใหญ่ที่สุดในโลกก็หยุดสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้วด้วยเช่นกัน

นั่นเป็นเหตุผลที่สหประชาชาติแถลงว่า มีนักลงทุนชั้นนำของโลก 30 ราย จับมือกันเพื่อลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในนาม The Global Investors for Sustainable Development ในจำนวนนี้ มีองค์กรใหญ่ๆ ในอุตสาหกรรมการเงิน เช่น Bank of America, PIMCO, Citigroup, Allianz, UBS และอีกมากมาย ด้วยหวังว่าจะได้เผยแพร่เทรนด์ข้างต้นออกไป

ในการประกาศของสหประชาชาติ พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าการลงทุนทางการเงินในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนำมาใช้โดย 193 ประเทศในปี 2015 จะไม่เกิดขึ้น “ตามขนาดหรือความเร็วที่กำหนด”

ขณะที่ “การลงทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ยังไม่เป็นกระแสหลัก”
ขณะที่ กรณีศึกษาทางธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง “ไม่ได้สะท้อนให้เห็นภาพอย่างเพียงพอในห้องประชุมคณะกรรมการบริษัท ”

ประเด็นข้างต้นถูกต้อง มันยังไม่เป็นกระแสหลัก และยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอในห้องประชุมคณะกรรมการบริษัท ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ พันธมิตรนี้ให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน นั่นหมายถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่ใช่แค่ผู้ถือหุ้นที่ลงทุนเป็นเงินสด เรื่องนี้ถือเป็นต้นแบบ เป็นประเด็นที่สำคัญมาก

ความมุ่งมั่นทางการเงินของพันธมิตรทั้งหมด ไม่เพียงแค่เป็นผู้บริจาคเงินรายใหญ่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเรื่องความคิดของนักลงทุนด้วย และมันเกิดขึ้นในเวลาที่ความไม่พอใจกับรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้น

ขั้นตอนแรก คือ ปรับโฟกัสใหม่ และขยายเลนส์ให้กว้างขึ้น

ขั้นตอนที่สอง การทำนอกกรอบ หรือการคิดนอกกรอบ จะเน้นไปที่การขยายโอกาสการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ การขาดแคลนทรัพยากร และปัญหาสภาพอากาศที่รุนแรงยังคงสร้างความหายนะแก่ชุมชนที่ยากจนที่สุด การเพิ่มขึ้นของพันธมิตรเป็น 2 เท่านี้ จึงเป็นชัยชนะครั้งใหญ่

ที่สำคัญคือ คำตอบของเรื่องนี้คือ ตอนนี้พวกเขาเพียงแค่ปรับขนาดให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ พันธมิตรนี้ที่ใช้อำนาจการประชุมที่ไม่มีใครเทียบ รวบรวมนักลงทุนทั้งของภาครัฐ และสถาบันพหุภาคีต่างๆ เข้าด้วยกันสามารถทำเช่นนั้นได้

ขั้นตอนที่สาม ปัญหาระยะสั้นที่แพร่หลายใน Wall Street ในโลกที่นักลงทุนต้องตอบผู้ถือหุ้น จะถูกแทนที่ด้วยความคิดระยะยาวแทน สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ
โฟกัสใหม่สร้างมูลค่ารายปีไม่ใช่ทุกไตรมาส  การวัดประสิทธิภาพเกี่ยวกับความยั่งยืนจะถูกวัดด้วยกรอบเวลาที่เป็นจริง ไม่ใช่การค้าที่มีปัจจัยความเสี่ยงเต็มไปหมด

ขั้นตอนที่สี่ มาตรฐานการรายงานความยั่งยืน และการประเมินผลกระทบ จะเห็นความโปร่งใสใหม่ ซึ่งพันธมิตรจะจัดลำดับความสำคัญ นำความสามัคคีกลมเกลียวมาสู่พื้นที่บริหารจัดการแบบแยกส่วน นี่เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ และภาคเอกชน รู้ว่า ไว้ใจใคร และไว้ใจเรื่องอะไรได้บ้าง

คำถามต่อมา คือ เงินทุนสนับสนุนจะไปลงตรงไหนอย่างไร คำตอบ คือ ต้องเป็นโครงการที่ให้ผลกระทบเชิงบวก และ ช่วยเหลือผู้คน ? ซึ่งต้องการข้อมูลที่มากกว่า และดีกว่าเดิมเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนเรื่องความโปร่งใสจึงสำคัญยิ่ง และผลกระทบ จะมีประโยชน์มหาศาล

สุดท้าย ในแง่ของการสร้างสถาบัน นักลงทุนเหล่านี้ให้คำมั่นที่จะพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มโปรไฟล์ผลตอบแทนความเสี่ยงของการลงทุนในการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวอย่างเช่นแพลตฟอร์มลักษณะ User-Friendly เน้นง่ายต่อการใช้งาน และเลือกการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs

การลงทุนเพื่อความยั่งยืนยังคงไม่เป็นกระแสหลักก็จริง และต้องการให้นักลงทุนค้นหากันต่อไป รวมถึงยังต้องทำงานกันอย่างละเอียดถี่ถ้วน สำหรับโครงการที่เหมาะสมซึ่งจะมอบเงินทุนก้อนใหญ่ให้ – เมื่อเทียบกับระบบทรงประสิทธิภาพที่นำเสนอการลงทุนที่ยั่งยืนดังที่ใช้กันมาช้านาน

สิ่งนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องเพ้อฝัน และการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ข้อกังวลเดียวกัน ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเหล่านี้จริงจังมากขึ้น พร้อมก้าวไปไกลขึ้น นี่ไม่ใช่แค่การแสดงความสามารถ พวกเขาจริงจัง มันก็เหมือนกับขนมที่เอาเข้าเตาอบแล้ว จะได้ทานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่แค่รอเวลาเท่านั้น
Cr.

  1. eco-business, Michael Shank
  2. Ray in Manila, CC BY-SA 2.0

 

 

You Might Also Like