ALTERNATIVE

8 สัญญาณเตือนว่า มีความเสี่ยงเป็น “โรคหัวใจ”

3 กันยายน 2563…ใจสั่น แน่นหน้าอก จุกแน่นจนหายใจไม่ออก จากภาวะโรคหัวใจ เป็นอาการที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด หรือเป็นบ่อยแค่ไหน หลายครั้งที่เมื่อเดินทางไปพบแพทย์ มักไม่แสดงอาการ ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยว่าสาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน จึงกล่าวได้ว่า โรคหัวใจ คือ ภัยเงียบที่น่ากลัวและไม่ควรมองข้าม

นายแพทย์ธัญญ์ สุวัฒนวิโรจน์ แพทย์ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง กล่าวว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้จำนวนผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจมีเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลทางสถิติกระทรวงสาธารณสุข (2561) พบว่า

คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิต 20,855 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจมาจากหลายปัจจัย ทั้งในเรื่องของกรรมพันธุ์ เพศ อายุที่มากขึ้น หรือแม้แต่การใช้ชีวิตแบบไม่ระมัดระวัง ทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เครียดสะสม การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์

โรคหัวใจแบ่งได้ 6 ประเภท คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาการแสดงและแนวทางในการรักษาโรคหัวใจแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีวิธีสังเกตสัญญาณเตือนว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้คือ

 

นายแพทย์ธัญญ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วย “โรคหลอดเลือดหัวใจ” มากที่สุด เทคโนโลยีสำคัญที่จำเป็นต่อการช่วยลดอัตราการสูญเสีย คือ เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Lab) หรือ เรียกสั้นๆ ว่า Cath Lab ซึ่งเป็นห้องเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลภาพหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดตามส่วนอื่น ๆ สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทาง ทำให้แพทย์ดูภาพได้จากทุกมุมตามต้องการ สามารถตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียด ช่วยให้ง่ายต่อการวินิจฉัยโรค ว่ามีความรุนแรงอยู่ที่ระดับใด สามารถตรวจดูตำแหน่งผิดปกติและความรุนแรงของหลอดเลือดหัวใจตีบตัน นอกจากนี้ยังสามารถดูการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากพบความผิดปกติ เส้นเลือดหัวใจตีบอุดตัน แพทย์จะสามารถทำการรักษาได้โดยการใส่บอลลูนขยาย และ/หรือใส่ขดลวดถ่างขยาย (Stent) ได้ทันท่วงที

อย่างไรก็ดี “โรคหัวใจ” เป็นโรคที่สามารถป้องกันและลดการเกิดการสูญเสียได้ ซึ่งวิธีการป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ พยายามรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมให้เป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น รวมทั้งควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคด้วยการหมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็นต้น

 

You Might Also Like