ALTERNATIVE

คุณเสี่ยงเป็น”โรคซึมเศร้า” หรือไม่?

12 สิงหาคม 2566…หาก “คุณ” มีอาการเหล่านี้หลายข้อ หรือ ครบทุกข้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาจจะต้องระวังว่า “คุณ” กำลังเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้า จำเป็นต้องปรึกษาและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากแพทย์เฉพาะทาง

“ซึมเศร้า” ทางการแพทย์ หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีความรุนแรงมากกว่าอารมณ์เศร้าตามปกติ โดยบางรายอาการเด่นอาจจะมีลักษณะ ความสุขหายไปก็ได้ สาเหตุของโรคเกิดจากมีความผิดปกติในการหลั่งสารเคมีของสมองบริเวณส่วนของความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรม พบได้ทั้งในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มพบได้ในช่วงวัยรุ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสูง ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายขาดได้ด้วยการใช้ยา หรือการใช้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัด

ความเครียด สาเหตุของ “โรคซึมเศร้า” ที่พบบ่อย เกิดจาก“ความเครียดที่สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ”ก็อาจจะทำให้เกิดโทษกับชีวิตได้ บางกรณีอาจจะพัฒนากลายเป็นโรคจิตเวชอื่นๆต่อไป… แล้วจะเริ่มสังเกตตัวเองอย่างไร?

ทางกาย

1. พฤติกรรมการกินเปลี่ยน น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. การนอนผิดปกติ บางคนอาจจะมีการนอนไม่หลับแต่บางคนอาจจะนอนมากเกินกว่าปกติ
3. ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว ปวดคอบ่าไหล่ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นเท่าปกติ
4. มีการสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้ามากขึ้น
5. โรคประจำตัวเดิมอาจจะคุมได้ลำบากขึ้น เช่นความดันขึ้น

 

 

ทางอารมณ์

1. มีความกังวล รู้สึกเครียดตลอดเวลา
2. ซึมเศร้ารู้สึกทุกข์ใจมากกว่าปกติ
3. อารมณ์หงุดหงิดมากผิดปกติ
4. มีความกระวนกระวายใจ ว้าวุ่นใจ

ทางความคิด

1. ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ หลงลืมมากกว่าปกติ
2. การตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหาแย่ลง
3. คิดฟุ้งซ่าน คิดหมกมุ่นในเรื่องอดีต
4. ความมั่นใจในตนเองลดลง
5. มีความคิดทำร้ายตนเอง คิดเรื่องตาย

หาก “คุณ” มีอาการเหล่านี้หลายข้อ หรือ ครบทุกข้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาจจะต้องระวังว่า “คุณ” กำลังเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้า จำเป็นต้องปรึกษาและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นและนำไปสู่การสูญเสียได้ ฉะนั้นการปล่อยให้มีอาการที่สะสมขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดโทษกับชีวิตได้

 

You Might Also Like