6 กุมภาพันธ์ 2567…AIS อุ่นใจ CYBER เลือกที่จะตีความตีความการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยว่าคือ สมดุลของหน้าจอ หรือ Balance การใช้งานให้เหมาะสม จึงเป็นที่มาของแคมเปญ Social Detox
ACTIVITIES
AIS เจ้าภาพ Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 เวที Vision to Action ของ 6 ประเทศสมาชิก
12 ธันวาคม 2566… Singtel Group People & Sustainability Symposium 2023 เป็นงานประชุมประจำปี ของบริษัทในกลุ่ม Singtel ประกอบด้วย Airtel (อินเดีย), AIS (ไทย), Globe (ฟิลิปปินส์), Optus (ออสเตรเลีย), Singtel (สิงคโปร์) และ Telekomsel (อินโดนีเซีย) ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่มีการรวมกันระหว่าง People Forum ในธีมหัวข้อ Reimagine work : การทำงานในโลกยุคใหม่ที่โอบกอดความแตกต่าง ความหลากหลาย และสร้างความเท่าเทียมให้แก่ทุกคน และ Sustainability Forum ในธีม Eco Vision to Action เพื่ออัปเดตแลกเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
CSR
AIS อุ่นใจ CYBER ต่อจิ๊กซอว์ Ecosystem เสริมแกร่งภูมิคุ้มกันบนโลกดิจิทัล กับ “ตำรวจไซเบอร์” ผ่าน 12 ละครคุณธรรม
20 พฤศจิกายน 2566… ภารกิจ AIS อุ่นใจ CYBER ล่าสุดได้ทำงานร่วมกับตำรวจไซเบอร์ คัดเลือกเหตุการณ์จากสถิติ ที่ประชาชนจะถูกหลอกทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ ร่วมมือกับค่ายละครโซเชียล 3 ค่ายดัง กุลิฟิล์ม ทีแก๊งค์ และทีมสร้างฝัน ส่ง 12 ละครคุณธรรม จากคดีดังภัยไซเบอร์ ร่วมตีแผ่กลลวงของมิจฉาชีพ พร้อมแนะวิธีการรับมือ ในรูปแบบละครสะท้อนสังคมที่กำลังได้รับความนิยม สนุกเข้าใจง่ายและสามารถเข้าถึงคนไทยในทุกช่วงวัย
NEXT GEN
AIS ฉายภาพเส้นทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผสานพลัง Greenovation เพื่อสร้าง Sustainable Nation
9 พฤศจิกายน 2566…ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และจาก “โลกร้อน” ก็มาถึง “โลกเดือด”ที่ทุกคนก็ได้สัมผัสกันแล้ว ผ่านสิ่งที่ใกล้ตัวเช่นอากาศเปลี่ยนแปลงมาก เดือนพฤศจิกายนยังมีฝนตกหนัก ก่อนหน้านั้นเดือนเมษายน ก็เคยมีอากาศหนาวมาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือสัญญาณเตือนภัยที่มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่เกินกว่าโลกจะรับไหว ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมช่วยลดหรือแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมผ่านหลายโซลูชั่น หนึ่งในนั้นคือ การนำความสามารถของ Digital มาใช้ โดย AIS เชื่อว่าพลังของดิจิทัลและพลังของทุกคน จะสามารถสร้าง Green Network ที่แข็งแรง เพื่อช่วยสนับสนุนภารกิจ Sustainable Nation หรือการเติบโตร่วมกันของผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตของประเทศไทยที่ยั่งยืน
ALTERNATIVE
AIS ชูภารกิจ Zero e-waste to landfill ชวนลูกค้าทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี รับทันที AIS Points
27 ตุลาคม 2566…หลังจาก AIS ปักหมุดเป็นศูนย์กลางด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หรือ Hub of e-waste แล้ว ยังเดินหน้าสร้าง Engagement ด้วยแคมเปญ “ทิ้ง E-Waste รับ AIS Points” @ ศูนย์บริการ AIS Shop ที่ร่วมรายการ รับทุกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ แพลตฟอร์มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บน Blockchain ที่จะทำให้เรารู้สถานะการทิ้งตั้งแต่ต้นจนเข้าสู่การบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีโดยไม่มีการฝังกลบ(Zero e-waste to landfill) รับทันที AIS Points สูงสุดถึง 5 คะแนน
NEXT GEN
AIS อุ่นใจไซเบอร์ต่อจิ๊กซอว์มุ่งใช้ความรู้ สร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ให้สถานศึกษาทั่วประเทศ
19 ตุลาคม 2566…ด้วยวิสัยทัศน์การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ที่พร้อมนำศักยภาพเสริมความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ ขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน ทำให้ AIS ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเป็นแกนกลางของสังคมในการสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ ทั้งในมุมของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือ และการสร้างภูมิปัญญา ส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทันการใช้งานบนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
CIRCULAR ECONOMY
ทำไมต้อง HUB of E-Waste ก้าวสำคัญสู่ความยั่งยืน ด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ AIS และพลังพาร์ทเนอร์ 190 องค์กร
14 ตุลาคม 2566…รู้หรือไม่ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหากจัดการไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดก๊าซมีเทน ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2565 พบว่า สถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้น 676,146 ตัน 65% เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 35% เป็นของเสียอันตรายประเภทอื่นๆ เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์ 236,651 ตัน ซึ่งถูกรวบรวมและนำไปกำจัดเพียง 12.86% เท่านั้น นั่นหมายความว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เหลือเกือบ 90% ใช้กระบวนการจัดการที่ไม่ถูกวิธี
CSR