ALTERNATIVE

บนเอกสารที่ค้นคว้าได้ กรณี #CPTPP

15 มิถุนายน 2563…ความตกลง CPTPP ไม่จำกัดสิทธิใดๆ ของไทยในการบังคับใช้ CL และไทยยังคงใช้ CL ได้กับทุกกรณี รวมถึงเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่การค้า (Public non-commercial use)

ความตกลง CPTPP ข้อ 18.41 เขียนชัดเจนว่า ความตกลงนี้ ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของประเทศสมาชิกในการบังคับใช้ CL ตามที่ความตกลงทริปส์ข้อ 31 ของ WTO ให้สิทธิไว้

CPTPP ข้อ 18.41 บอกว่าใช้ CL ได้กับทุกกรณีตามความตกลงทริปส์ข้อ 31

คลิกภาพ เพื่อเข้า Link เอกสาร

เมื่อไปดูความตกลงทริปส์ข้อ 31 ของ WTO จะพบว่าประเทศสมาชิก WTO สามารถใช้ CL ได้กับหลายกรณี รวมถึง “การใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่การค้า (public non-commercial use)” ที่สมาชิกใช้ CL ได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาตใครเลยด้วยซ้ำ

เมื่อ CPTPP ให้สมาชิกใช้ CL ได้กับทุกเรื่องตามทริปส์ข้อ 31 แล้ว ทริปส์ข้อ 31 รวมการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่การค้า จะบอกว่า CPTPP ห้ามใช้ CL เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่การค้าได้อย่างไร????

 

ความตกลงทริปส์ข้อ 31 บอกว่า สมาชิก WTO ใช้ CL เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่การค้า (public non-commercial use) ได้เลย ไม่ต้องขออนุญาตใคร

คลิกภาพ เพื่อเข้า Link เอกสาร

 

ถ้าไทยเข้าเป็นสมาชิกความตกลง CPTPP ยาสามัญ หรือที่เรียกว่า ยา generic จะเข้าสู่ตลาดได้ยากขึ้น/ช้าลง จริงหรือ?

เป็นความจริงที่ว่าความตกลง CPTPP เชื่อมโยงการขึ้นทะเบียนยา ของ อย. กับระบบสิทธิบัตร แต่ CPTPP “ไม่ได้ห้าม” การขึ้นทะเบียนยาสามัญเตรียมไว้ก่อนที่สิทธิบัตรของยาต้นแบบจะหมดอายุ

ทุกวันนี้ ถ้ายาต้นแบบ (สมมติว่าชื่อ ABC) ยังมีสิทธิบัตรอยู่ เราจะผลิต/ขาย/นำเข้ายาสามัญ (นึกเสียว่าชื่อ กขค) ไม่ได้ ต้องรอจนกว่าสิทธิบัตรของ ABC หมดอายุเสียก่อน แล้วหลังจากนั้น จึงจะผลิต/นำเข้า/วางขายยา กขค ได้ อันนี้เป็นหลักการทั่วไปของเรื่องสิทธิบัตร กฎหมายไทยก็เป็นแบบนี้

แต่ถึงจะเป็นแบบนี้ แต่กฎหมายสิทธิบัตรมาตรา 36 วรรคสอง (4) ก็ยอมให้การกระทำใดๆ เพื่อขึ้นทะเบียนยา กขค เตรียมไว้ระหว่างที่สิทธิบัตรยา ABC ยังไม่หมดอายุสิทธิบัตรได้ ไม่ว่าจะผลิต หรือจะนำเข้ายา กขค ถ้าเป็นไปเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนยา ก็ทำได้ทุกอย่าง ที่เป็นแบบนี้ก็เพื่อว่าทันทีที่สิทธิบัตรของยา ABC หมดลง ยา กขค จะได้วางขายได้ทันที -> “ซึ่งหลักการนี้จะยังคงอยู่แม้ไทยเข้าเป็น CPTPP”

แม้กฎหมายสิทธิบัตรจะห้ามผลิต/ขาย/นำเข้ายาสามัญก่อนยาต้นแบบจะหมดอายุสิทธิบัตร แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ทำได้ถ้าทำเพื่อการขึ้นทะเบียนยาสามัญนะครับ

คลิกภาพ เพื่อเข้า Link เอกสาร

งั้น CPTPP ต้องการอะไร?

CPTPP ขอแค่ว่า ให้เจ้าของยา ABC “ได้รับรู้ว่า” มียา กขค กำลังมาขอขึ้นทะเบียนกับ อย. และถ้ามีการละเมิดเกิดขึ้น ซึ่งก็เช่นมีการแอบผลิต แอบนำเข้า หรือแอบขายยา กขค “ก่อนที่ยา ABC จะหมดสิทธิบัตร” ก็ให้มีมาตรการเยียวยาที่เหมาะสม แต่ถ้าไม่มีการกระทำเหล่านี้เกิดขึ้น ก็ไม่มีใครต้องทำอะไร เท่านี้เอง ทั้งนี้ ต้องบอกเพื่อความชัดเจนอีกครั้งว่า “ถึงจะไม่มี CPTPP การผลิต/นำเข้า/ขายยา กขค ก่อนยา ABC จะหมดสิทธิบัตร ก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว ทำได้แค่ขึ้นทะเบียนเตรียมไว้เท่านั้น”

CPTPP ขอแค่ให้เจ้าของสิทธิบัตรรู้ว่ายาสามัญกำลังมาขึ้นทะเบียน และก็อย่าเพิ่งขายยาสามัญจนกว่าสิทธิบัตรของยาต้นแบบจะหมดลงก่อน ซึ่งก็เหมือนกฎหมายไทยทุกวันนี้เลยครับ

คลิกภาพ เพื่อเข้า Link เอกสาร

ดังนั้น ข้อกังวลที่ว่า CPTPP จะทำให้ยา กขค เข้าตลาดได้ยากขึ้น/ช้าลง จึงไม่เป็นความจริง CPTPP ขอแค่ให้เจ้าของยา ABC “ได้รับรู้” ว่ายา กขค กำลังมา “แต่การขึ้นทะเบียนยา กขค ล่วงหน้ายังทำได้” เหมือนทุกวันนี้ และการเข้าสู่ตลาดของยา กขค “ยังคงเหมือนเดิม” ซึ่งก็คือเมื่อยา ABC หมดสิทธิบัตร

ที่มา

You Might Also Like