21 กรกฎาคม 2566…หลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดขึ้น นับว่ามีความเข้มข้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสากลในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้ยานพาหนะสีเขียวต้องเป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีการปล่อยไอเสีย หรือการมุ่งเน้นสนับสนุนโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด และกำหนดให้การลงทุนโรงไฟฟ้าฟอสซิลใหม่เข้าข่ายกิจกรรมสีแดง
23 มกราคม 2566…ในปี 2566 ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความกังวลทางด้านเศรษฐกิจที่เผชิญกับความไม่แน่นอนและชะงักงัน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG ของภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาครัฐก็มีแนวโน้มให้ความสำคัญด้าน ESG มากขึ้น จากการกำหนดนิยามกลุ่มกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) มาตรการภาษีคาร์บอนระหว่างประเทศ การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการด้าน ESG และมาตรการป้องกัน Greenwashing
NEXT GEN
ผู้บริโภคยินดีจ่ายซื้อสินค้า+บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นในกรอบไม่เกิน 20% เมื่อเทียบกับราคาปกติ
30 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2565 …นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจพฤติกรรมและมุมมองของผู้บริโภคมีต่อปัญหาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และแนวโน้มการลงทุนด้าน ESG พบว่า ความน่าเชื่อถือ และผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมด้านการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคพิจารณาเพื่อซื้อสินค้าประเภทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นกลุ่มที่ผู้บริโภคให้ความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สบู่ แชมพู ผงซักฟอก เป็นต้น ผู้บริโภค 96% มองว่าภาคธุรกิจควรนำประเด็นด้าน ESG มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ และยินดีแบ่งสัดส่วนการลงทุน จำนวน 10-20% เพื่อลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินการด้าน ESG ถึงแม้ว่าอาจจะได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในตลาด
NEXT GEN
ภาคธุรกิจต้องปรับตัว ลดกิจกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพราะการเงินเพื่อความยั่งยืนทั่วโลก มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
26 กรกฎาคม 2565… ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนในปี 2021 มีมูลค่า 929,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเติบโต 10 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะมูลค่าสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในปี 2021 มีมูลค่า 716,561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโต 7 เท่าจากปี 2018 ขณะที่ประเทศไทย ณ ไตรมาส 2 ปี 2022 มีมูลค่าตราสารหนี้คงค้างด้านความยั่งยืน จำนวน 330,049 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็น Sustainability Bond ของรัฐบาล ลำดับถัดมาคือ Green Bond เพื่อใช้ในโครงการด้านพลังงาน
17 พฤศจิกายน 2564…ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยประเด็น ที่ประชุม COP26 มีความเสี่ยงต่อธุรกิจมากมาย สำหรับประเทศไทย จะส่งผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจอย่างมากในพื้นที่กทม. ภัยธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้นนี้ คงจะทำให้ภาครัฐต้องจัดสรรงบประมาณสูงขึ้น และเกิดประเด็นด้านเศรษฐกิจตามมา โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในภาพใหญ่ทั่วโลกได้มีการเจรจาให้ประเทศต่าง ๆ เร่งดำเนินการเพิ่มเติม อาทิ
NEXT GEN